มารู้จัก คีย์ลัด ใน AutoCAD กันครับ - Shortcut Key AutoCAD

คีย์ลัด ใน AutoCAD แต่ไหนแต่ไรมา มีมาตั้งแต่เริ่มแรกเลยก็ว่าได้
(คีย์ลัดกับคำสั่งย่อไม่เหมือนกันนะครับ คำสั่งย่อจะเก็บไว้ใน acad.pgp ครับ)
แต่เดิมอาจจะยังมีไม่มากเท่าไหร่แต่มาตอนนี้มีมากมาย จนจำกันไม่ค่อยจะได้เลยครับ
ทีนี้เรามาดูกันครับว่าปุ่มคีย์ลัดที่ AutoCAD ทำมาให้ใช้มีอะไรกันบ้าง


ตารางแสดงรายการ ปุ่มคีย์ลัดที่ AutoCAD ตั้งค่ามาให้
The following table lists the default actions for shortcut keys. 

Shortcut key
Description
ALT+F11
Displays the Visual Basic Editor
ALT+F8
Displays the Macros dialog box
CTRL+0
Toggles Clean Screen
CTRL+1
Toggles Properties palette
CTRL+2
Toggles DesignCenter
CTRL+3
Toggles the Tool Palettes Window
CTRL+4
Toggles Sheet Set Manager
CTRL+5
Toggles Info Palette
CTRL+6
Toggles dbConnect Manager
CTRL+7
Toggles Markup Set Manager
CTRL+8
Toggles the QuickCalc calculator palette
CTRL+9
Toggles the command window
CTRL+A
Selects objects in drawing
CTRL+SHITF+A
Toggles Groups
CTRL+B
Toggles Snap
CTRL+C
Copies objects to Clipboard
CTRL+SHIFT+C
Copies objects to Clipboard with Base Point
CTRL+D
Toggles Dynamic UCS
CTRL+E
Cycles through isometric planes
CTRL+F
Toggles running object snaps
CTRL+G
Toggles Grid
CTRL+H
Toggles PICKSTYLE
CTRL+I
Toggles COORDS
CTRL+J
Repeats last command
CTRL+L
Toggles Ortho mode
CTRL+M
Repeats last command
CTRL+N
Creates a new drawing
CTRL+O
Opens existing drawing
CTRL+P
Prints current drawing
CTRL+R
Cycles layout viewports
CTRL+S
Saves current drawing
CTRL+SHIFT+S
Brings up the Save As dialog box
CTRL+T
Toggles Tablet mode
CTRL+V
Pastes data from Clipboard
CTRL+SHIFT+V
Pastes data from Clipboard as a Block
CTRL+X
Cuts objects to Clipboard
CTRL+Y
Cancels the preceding Undo action
CTRL+Z
Reverses last action
CTRL+[
Cancels current command
CTRL+\
Cancels current command
CTRL+PAGE UP
Moves to the next layout tab to the left of the current tab
CTRL+PAGE DOWN
Moves to the next layout tab to the right of the current tab
F1
Displays Help
F2
Toggles Text Window
F3
Toggles OSNAP
F4
Toggles TABMODE
F5
Toggles ISOPLANE
F6
Toggles UCSDETECT
F7
Toggles GRIDMODE
F8
Toggles ORTHOMODE
F9
Toggles SNAPMODE
F10
Toggles Polar Tracking
F11
Toggles Object Snap Tracking
F12
Toggles Dynamic Input


ส่วนตารางด้านล่างเป็นคีย์ชั่วคราวใช้ในเวลาที่เราใช้คำสั่ง Edit ต่างๆ

The following table lists the default actions for temporary override keys.


Temporary override key
Description
F3
Toggles OSNAP
F6
Toggles UCSDETECT
F8
Toggles ORTHOMODE
F9
Toggles SNAPMODE
F10
Toggles Polar Tracking
F11
Toggles Object Snap Tracking
F12
Toggles Dynamic Input
SHIFT
Toggles ORTHOMODE
SHIFT+’
Toggles SNAPMODE
SHIFT+,
Object Snap Override: Center
SHIFT+.
Toggles Polar Tracking
SHIFT+/
Toggles UCSDETECT
SHIFT+;
Enables Object Snap Enforcement
SHIFT+]
Toggles Object Snap Tracking
SHIFT+A
Toggles OSNAP
SHIFT+C
Object Snap Override: Center
SHIFT+D
Disable All Snapping and Tracking
SHIFT+E
Object Snap Override: Endpoint
SHIFT+L
Disable All Snapping and Tracking
SHIFT+M
Object Snap Override: Midpoint
SHIFT+P
Object Snap Override: Endpoint
SHIFT+Q
Toggles Object Snap Tracking
SHIFT+S
Enables Object Snap Enforcement
SHIFT+V
Object Snap Override: Midpoint
SHIFT+X
Toggles Polar Tracking
SHIFT+Z
Toggles UCSDETECT


ซึ่งในส่วนของ Mode Edit นี้เรามักจะไม่เข้าไปแก้ไขปุ่มฟังก์ชั่นคีย์หรอกครับ
นอกจากจะใช้งานบ่อยจริงๆ
แล้วจะมาบอกการแก้ไขในตอนต่อไปครับ เพราะการรู้จักคีย์ลัดนี้มีประโยชน์ต่อการสร้างคำสั่ง
แบบ Macro ครับ เช่นผมต้องการให้ปุ่มหมายเลข 1 เป็นคำสั่ง Open เพื่อเปิดไฟล์ ผมก็จะใช้คำสั่ง Macro แทนคีย์ลัดของ AutoCAD ที่ใช้ Ctrl+O อีกทีไงครับ เพียงเรากดปุ่มเลข 1 เท่านั้น (ที่สำคัญปุ่มคีย์ลัดพวกนี้มักจะใช้ได้เลยโดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter เพื่อรับคำสั่งครับ )



การปรับแก้ไขปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ เมื่อแรกเริ่มยุค R9 เป็นต้นมาเริ่มมีการใช้ฟังก์ชั่นของ AutoLISP คือ
ปรับแต่งค่าของปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ F1-F12 ให้ทำหน้าที่ต่างๆที่เราต้องการ โดยใส่คำสั่งไว้ อันนี้ผมลืมไปแล้วหล่ะว่าจะต้องทำยังไง เพราะจากเวอร์ชั่น 2000i มาการปรับแต่งปุ่มสามารถทำได้ง่ายกว่าเดิม โดยใช้ Custom User Interface คือ CUI นี่แหล่ะครับ ผมเขียนแล้วดูได้จากที่นี่ครับ
  การแก้ไข Function Key
 





AreaText ถามมา-ตอบไป

จากเมล์ครับ ขอสอบถามเกี่ยวกับ area text ครับ

     จะแก้โค้ด อย่างให้ให้ตัวหนังสือบอกมาแค่ตัวเลข
ผมไม่ต้องการ ในโค้ดที่ให้มา มีหน่วยเป็น ตร.ฟุต
ยกตัวอย่างเช่น ผมวาดรูปสี่เหลี่ยม 1 x 1 หน่วย
พอใช้คำสั่ง at แล้วกดเลือกพื้นที่นั่น มันบอกเป็น 0.01 ตร.ฟุต 
(ผมไม่ต้องการรูปแบบนี้ครับ)
อยากให้ออกมาเท่ากับ 1 (ตร.หน่วย) แค่นั้นเอง
ต้องแก้ code อย่างไรบ้างครับ

;;; AreaText.LSP ver 2.0
;;; Select a polyline and where to place the text
;;; Sample result: 2888.89 SQ. FT.

;;; By Jimmy Bergmark
;;; Copyright (C) 2007-2009 JTB World, All Rights Reserved
;;; Website: www.jtbworld.com
;;; E-mail: info@jtbworld.com
;;; 2007-09-05 - First release
;;; 2009-08-02 - Updated to work in both modelspace and paperspace

;;; Uses TEXTSIZE for the text height
(defun c:AT (/ entObject entObjectID InsertionPoint ad)
(vl-load-com)
(setq entObject (vlax-ename->vla-object(car (entsel)))
entObjectID (vla-get-objectid entObject)
InsertionPoint (vlax-3D-Point (getpoint "Select point: "))
ad (vla-get-ActiveDocument (vlax-get-acad-object))
)
(vla-addMText (if (= 1 (vla-get-activespace ad))
(vla-get-modelspace ad)
(if (= (vla-get-mspace ad) :vlax-true)
(vla-get-modelspace ad)
(vla-get-paperspace ad)
)
)
InsertionPoint 0.0 (strcat
"%<\\AcObjProp Object(%<\\_ObjId " (rtos entObjectID 2 0) ">%).Area \\f \"%pr2%lu2%ct4%qf1 SQ. FT.\">%"
))
)
โดยส่วนตัวแล้วผมยังอ่อนต่อ Visual Lisp อย่างมากครับ แต่เข้าใจว่าการปรับแก้ไข Code ก็ปรับที่ strcat ครับ โดยเอาหน่วย(สีแดงออกไป) การปรับแก้มากกว่านี้คงต้องให้ผู้รู้ที่เก่งกว่ามาช่วยตอบครับ
แต่ผมขอเสนอ AutoLISP ของผมที่เขียนแบบง่ายๆแต่ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกันครับ
(defun sel_ob()
   (while (not en)
   (setq en (car (entsel "\nSelect Entities: ")))
   (if (not en)
   (prompt "\nNo entity selected --- Please Try Again : "))
   )
 )

(defun c:at1 (/ en ar aw th an pt)
 (sel_ob)  (Command "area" "entity" en)
 (setq ar  (getvar "area"))
 (setq atext (strcat "Area= " (rtos ar) " sq.m."))
 (setq pt (getpoint "\nText point :"))
 (setq th "0.2")
 (setq an "0")
 (command "text" pt th an atext)
(princ)
)

คิดว่าน่าจะพอแก้ขัดแก้ไขได้บ้างนะครับ
ขอขอบคุณ คุณณัฐวุฒิ ที่ถามมาครับ

AutoCAD WS




เห็นใครๆเขียนกันเยอะ ก็เลยเอามาเขียนบ้างดีกว่า จะได้รู้กันบ้างว่า AutoCAD WS มันคืออะไร
ไม่น่าเชื่อว่ามีคนโหลดไปใช้งานมากกว่า 10 ล้านคนแล้ว ผมก็เป็น 1 ใน 10 ล้าน 



Autodeskได้เปิดตัวโปรแกรม AutoCAD WS สำหรับระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของแอปเปิ้ล (ปัจจุบันคือทั้งไอโฟนและไอแพด) ทำให้ผู้ใช้สามารถเปิดไฟล์เพื่อดู แก้ไขและแชร์ไฟล์ที่เป็น DWG ด้วยการอัพโหลดขึ้นไปบนฟรีออนไลน์สเปซที่ทาง AutoDesk จัดไว้ให้

การใช้งานจะใช้วิธี "ทัช" หรือสัมผัสหน้าจอบนไอโฟนหรือไอแพดซึ่งนอกจากจะใช้เปิดดู ริวิวแล้ว ก็ยังสามารถแก้ไขงานได้ จุดประสงค์ของ AutoCAD WS คือสามารถนำไฟล์งานติดตัวไปเปิดที่อื่นนอกจากที่ออฟฟิศได้ เช่น ที่บ.ลูกค้า หรือหน้าไซต์ก่อสร้างโดยใช้อุปกรณ์ที่พกพากันอยู่แล้ว ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นพวกมือถือหรือแทบเบลทนั่นเอง
ทางออโตเดสก์กล่าวว่า AutoCAD WS รองรับไฟล์ DWG ได้ ทุกรูปแบบ รวมทั้ง External references, เลเยอร์ และ Image underlay สามารถใช้ฟีเจอร์มัลติทัช เพื่อซูมเข้าออกและแพนได้ สำหรับฟังก์ชันการแก้ไข ผู้ใช้สามารถเลือกออปเจกต์เพื่อย้าย หมุน หรือย่อขยายได้ รวมทั้งการเขียนออปเจกต์ใหม่โดยยังคงใช้วิธี สแนปและออโธ (Snap and Ortho) เพื่อความแม่นยำ เพิ่มตัวอักษรลงไปในแบบและวัดขนาดออปเจกต์ได้



การแชร์ไฟล์ กับ Project Butterfly
ฟีเจอร์ที่สำคัญของ AutoCAD WS คือระบบโฮสต์ติ้งเพื่อใช้ในการแชร์ไฟล์ เบื้องหลังเทคโนโลยีนี้มาจากโครงการที่เรียกว่า โครงการผีเสื้อ (Project butterfly) โดยการใช้ฟีเจอร์นี้อุปกรณ์ที่ใช้งานจะต้องสามารถเข้าถึงระบบเวป ไม่ว่าจะเป็นไวไฟหรือระบบมือถือก็ได้ และผู้ใช้จะต้องอัพโหลดไฟล์ DWG ที่ต้องการใช้บนแอคเคานท์ที่สร้างขึ้นมา บนเวปของออโตเดสก์ก่อน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมออโตแคดในครอบครองก็สามารถใช้ AutoCAD WS ได้ หรือใครที่ใช้ AutoCAD อยู่ก็สามารถส่งไฟล์เข้าไปที่ AutoCAD WS online account ได้โดยใช้ปลักอินของออโตแคด แน่นอนว่าเมื่อออโตแคดเวอร์ชั่นหน้าไม่ว่าจะบนพีซีหรือบนแมคออกมา เราจะได้เห็นว่าโปรแกรมจะมีความสามารถนี้รวมมาอยู่ด้วย โดยไม่ใช่ปลักอินอีกต่อไป



ความต้องการของ AutoCAD WS
ต้องต่ออินเตอร์เนท
Adobe Flash Player 9.124 หรือสูงกว่า
เปิดรับ Javascript cookies ด้วย
บราวเซอร์ที่รองรับ เช่น ซาฟารี อินเตอร์เนทเอ๊กซ์พลอเรอร์ ไฟร์ฟอกซ์ หรือกูเกิลโครม

โปรแกรมฟรี autocadws.com


ลองโหลดมาติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนแล้ว ผมว่าคงจะต้องเปลี่ยนเครื่องเพราะมานช้ามากๆเลย โปรแกรมคงจะดีครับ แต่โทรศัพท์ผมมันห่วยไปหน่อย ต้องไปหา Ipad มาลองหน่อยหล่ะ
ตอนนี้ออก Design Feed -AutoCAD WS Version 1.5 มาให้ลองใช้กันครับโหลดกันได้ที่นี่ autocadws.com

โหลดแล้วลงทะเบียนก็ใช้ได้ครับ


Thankyou


  
ไม่คิดว่าจะมีคนมาเป็นสมาชิกติดตามบล็อคของเราซะแล้ว แต่ก็มีมาหนึ่งคนแล้ว (ไม่รู้ว่าหลงมาหรือเปล่า อิอิ)แต่ก็ขอขอบคุณนะครับ เพราะเหมือนเป็นกำลังใจที่ดีเลยทีเดียว ทำให้นึกอยากเขียนอะไรขึ้นมาอีกเยอะเลย เพราะได้ลองเขียนบล็อคนี้มาก็ตั้งนานแล้ว ปรับเปลี่ยนไปเลย ไม่รู้ว่าจะมีผลตอบรับกลับมาเช่นไร ยังไงก็ขอคำติชมกันบ้างนะครับ หรือส่งปัญหามาให้ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขกันครับ ขอบคุณครับ

THANK YOU

โบว์ชัวร์ของ AutoCAD 2012

มาดูโบว์ชัวร์ของ AutoCAD 2012 กันครับ


AutoCAD ถือได้ว่ายังคงเป็นผู้นำระดับโลกด้านซอฟแวร์ออกแบบเขียนแบบ ทั้งในด้าน 2 มิติและ 3 มิติ เพื่อประโยชน์ในความสะดวกรวดเร็วในการออกแบบ เขียนแบบ ในยุคปัจจุบัน และยังคงพัฒนาต่อไปด้วยการเพิ่มเติมแอดออน และแอปปริเคชั่นเสริมเพิ่มเติมอยู่ต่อเนื่อง มาดูโบร์ชัวร์กันครับ ว่าใน AutoCAD 2012 เค้ามีอะไรกันบ้าง Download เผื่อจะมีอะไรที่โดนใจเข้าตาทำให้อยากลองใช้กันบ้างครับ

ลบจุด Point บน Drawing

AutoLisp erasnode.lsp อันนี้ได้มานานมาแล้วครับ จำไม่ได้แล้วว่าไปเอามาจากไหน เอามาให้ลองใช้กันดูครับ เพราะจุด Point ที่เรามองไม่เห็นมักจะซ่อนอยู่ในงาน Drawing ของเรา หากมีมากก็จะไปกินพื้นที่ไฟล์งานของเรามากครับ Download ที่นี่ครับลองใช้กัน (ผมยังไม่ได้ลองใช้เลย เก็บไว้นานจนลืม อิอิ )

FATAL ERROR - ปัญหาแห่ง CAD

FATAL ERROR:Unhandle Access Violation Rending 0x0000 Exception 6544c139h

FATAL ERROR 
ปัญหาของ AutoCAD ที่มักจะเจอะเจอกันเป็นประจำ แต่หาสาเหตุกัยไม่ค่อยจะเจอ ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ทั้งที่ใช้งานเป็นประจำ ปกติก็ไม่มีปัญหาอะไร อยู่ๆก็ขึ้นข้อความ FATAL ERROR แล้วทำอะไรต่อไม่ได้ต้องปิดโปรแกรมไปโดยที่ไม่สามารถ save ไฟล์ที่ทำงานอยู่ได้

FATAL ERROR คืออะไร 
FATAL ERROR หากแปลตามพจนานุกรม แปลภาษาได้ว่า
ข้อ ผิดพลาดร้ายแรงหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งจะทำให้โปรแกรมหรือเครื่อง คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช จะเห็นเป็นลูกระเบิด
ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากอะไรก็ไม่บอก
บ้างก็ว่า FATAL ERROR เกิดจาก หน่วยความจำของเครื่องไม่พอเนื่องจากไปกินหน่วยความจำของ RAM  บางก็ว่าเกิดจากข้อมูลในการรันไฟล์ระบบมีปัญหา ซึ่งมักจะมาจาก OS รันไฟล์ .dll บางตัว เกิดผิดพลาด แล้วมันเกิดขึ้นกับระบบครับ แต่วิธีแก้ได้ คือการปรับแต่งค่าหน่วยความจำ ของแคชและแรม คือไปปรับค่า Vittual memory ปรับค่า Min และ Max ให้เหมาะสม ( จำนวนแรม x ด้วย 2.5 ) ก็น่าจะพอ

ปัญหาของ FATAL ERROR ส่วนมากแล้วมักเกิดขึ้นจาก Windows update ภายใต้รหัส KB890859 ซึ่ง Windows พยายามตามล้างตามเช็ด Windows XP PRo และ Window7 Ultimate ผิดลิขสิทธิ์กว่าครึ่งโลก การแก้ไขปัญหา Product key ของ Windows พอทำได้ครับ โดยการใช้ Restore แต่ Update อีกก็อาจจะเกิดอีก
เคราะห์กรรมของโปรแกรมจริงๆ

การแก้ไขเรื่องหน่วยความจำได้ผมว่าเป็นการแก้ไขปัญหาแบบชั่วคราวครับ

วิธีการแก้ไขปัญหา ให้ลอง Update ActiveX เพื่อแก้ไขปัญหาของ Software ที่ไม่เข้ากันจึงไม่มีความเสถียร

AutoCAD2012 ขึ้นไปที่ใช้กับ Windows7 ไม่ Compatility คือไม่เข้ากัน ต้องเข้าไปปรับแก้ไขที่ autocad.exe เลือกที่ property แล้วปรับค่า COMPATIBLITY check 'Run as administrator' button แล้วรัน AutoCAD ใหม่อีกครั้ง น่าจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหา Fatal Error ที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ครับ



 ในเวอร์ชั่นใหม่ๆ จาก AutoCAD 2012 ขึ้นมา ได้มีตัวช่วยในการแก้ไขปัญหา FATAL ERROR โดยการใช้ Reset Settings to Default ซึ่งเป็นการตั้งค่าที่ Error ต่างๆของรูปแบบ Style, layer และ Template ให้กลับไปใช้ค่าดั้งเดิมครับ น่าจะพอแก้ไขปัญหาได้ ดีกว่าการ Uninstall โปรแกรมแล้วลงใหม่ครับ











การปิด โลโก้ AutoCAD เวลาเปิดโปรแกรม

No AutoCAD logo screen

โลโก้โปรแกรม AutoCAD


หลายๆคนและรวมกระทั่งผมด้วยในเวลาที่เปิดโปรแกรม AutoCAD ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนๆ ก็มักจะมี AutoCAD Logo screen ขึ้นมาปรากฎที่กลางหน้าจอ เพื่อบอกว่ารุ่นที่ใช้อยู่เป็นผลิตภัณฑ์รุ่นไหนของปีอะไร แรกๆผมคิดว่ามันก็สวยดี เหมือนกับโปรแกรมทั่วไปที่ต้องขึ้นโลโก้มาโชว์ให้เห็นกันก่อน (รุ่นเก่าที่รันบน Dos ยังมีรูปของ Autodesk เลย) 


แต่สำหรับการใช้งานทุกๆวันอย่างผม เห็นทุกๆวันจนชินตาไปเสียแล้ว ซึ่งในคำสั่งรับโปรแกรม AutoCAD ที่ใช้ไฟล์ acad.exe มีพารามิเตอร์ให้ปิดไม่ต้องแสดง จึงนำมาเสนอให้ลองใช้กันดูครับ
เริ่มแรกไปที่ Icon shortcut ของโปรแกรม AutoCAD แล้วคลิ๊กขวา เลือกไปที่ Properties ตามรูปครับ


เมื่อเข้าแล้วจะขึ้น Dialog ตามรูป ในแท็บ shortcut ให้เพิ่มเติมพารามิเตอร์ต่อท้าย acad.exe ครับ 
ตามนี้เลย "C:\program Files\AutoCAD 2010\acad.exe" /nologo

เท่านี้เอง แล้วคลิ๊กที่ Apply และ OK ที่นี้ก็มาลงเปิดโปรแกรมโดยผ่านที่ Shortcut ตัวนี้ดูครับ Logo screen ที่เคยเห็นกลางหน้าจอมันหายไปแล้วครับ วิธีนี้จะทำให้ความรู้สึกว่าการเปิดโปรแกรมแล้วรอให้ Logo screen ขึ้นมาก่อนซึ่งช้าไปนิดนึง ก็จะรู้สึกว่าเร็วขึ้นเพราะไม่ได้ไปโหลดเอารูปภาพ Logo ขึ้นมาเป็นสไลด์ที่หน้าจอครับ ซึ่งวิธีการนี้ผมใช้มาตั้งแต่ R12 ครับ คิดว่าหลายๆก็คงจะใช้เหมือนผมเพราะมันทำให้รู้สึกว่ามานเร็วปานวอก




AutoLISP Setup Paper


Setup Paper



AutoLISP Setup Paper อันนี้เป็นอันที่ผมเขียนขึ้นมาใช้งานนานมากแล้วครับ ลองใช้คำสั่งแบบง่ายๆก่อน แล้วก็ค่อยๆปรับให้รับค่าตัวแปรที่เรากำหนดให้ เมื่อใช้งานได้ก็ตัดขั้นตอนกำหนดโดยกำหนดให้เป็นตัวแปรที่คงที่ แล้วใช้ scale เป็นการปรับแต่ง สุดท้ายก็นำเอา Dcl มาใช้ประกอบเพื่อสะดวกในการใช้งาน อธิบายมายาวเดี๋ยวไม่เข้าใจกัน ลองโหลด ไปดูกันเองดีกว่า Download SetupPaper ที่นี้ครับ 


โหลดแล้วมาดูกันครับจะได้เข้าใจมากขึ้น โดยผมกำหนดค่า pp ให้เป็นเงื่อนไขให้เลือก เป็น A4,A3,A2,A1 โดยเลือกตัวใดตัวหนึ่ง แล้วให้ไปใช้ฟังก์ชั่นของตัวที่ได้เลือก (ฟังก์ชั่น get_A*) ในฟังก์ชั่นจะกำหนดจุดเป็นค่าตัวเลข โดยใช้ เครื่องหมาย ' แล้วระบุค่าในแกน XY ทั้ง 4 จุด เราก็เขียนเส้นปิดสี่เหลี่ยมได้แล้ว ในฟังก์ชั่น draw จะกำหนดจุด pt1,pt2.pt3 และ pt4 โดยใช้ฟังก์ชั่น list แล้วกรองเอาค่าตัวแรกหรือตัวที่สอง โดยใช้ car และ cadr แล้วใช้คำสั่ง Pline เขียนเส้นปิด โดยผมจะกำหนด scale เป็นการรับค่าจาก ratio ที่ Dialog box แล้วให้เก็บค่าในตัวแปร sc ซึ่งจะต้องแปลงค่าตัวอักษร String เป็น ตัวเลขก่อนโดยใช้ฟังก์ชั่น rtos เมื่อเขียนกรอบกระดาษแล้ว ผมก็ให้ใช้คำสั่ง zoom all เพื่อให้เห็นภาพทั้งหมด เป็นการจบคำสั่งครับ ลองนำไปใช้งานดูนะครับ


คำสั่งชุดนี้โดยส่วนตัวแล้วผมจะใช้ในเวลาที่จะกำหนดกระดาษและมาตราส่วนของงานที่จะเขียนโดยให้มีกรอบขึ้นมาเป็นตัวกำหนดก่อน เพื่อจะคิดคร่าวๆว่าผมจะใช้ขนาด Dimension และ text ขนาดประมาณไหนได้ แต่หลังๆมานี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่นักครับ เพราะไม่ได้แปะไว้ใน Pulldown menu ไว้วันหลังจะมาบอกว่าการนำ AutoLISP ไปแปะไว้ต้องทำยังไง จะได้ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งที่ command lineครับ

AutoLISP Setup Paper




Interface Setting

ตามที่อบรมต่างๆมักจะให้เรียนรู้สิ่งนี้ก่อน เลยนำมาให้รู้บ้าง 
- Interface Setting เรียนการตั้งค่าหน้าจอให้เหมาะสมกับการทำงาน
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผมมักไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่นัก เพราะจะใช้ CUI เป็นตัวกำหนดในการใช้งานของเครื่องที่จะใช้ประจำอยู่ เพราะสะดวกกว่ามากครับ แต่สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มก็น่าจะรู้กันบ้าง

อย่างแรกเลย Interface ก็คือหน้าตาของโปรแกรม โดยโปรแกรมจะประกอบด้วย
- ที่เห็นชัดๆเลย คือหน้าจอที่เป็นพื้นที่ทำงาน เรียกกันว่า Graphic screen
- เมนูสกรีน หรือ screen menu สมัยนี้คงไม่ค่อยได้เห็นกันแล้วเพราะไม่มีใครได้เปิดออกมาใช้ ผมก็ไม่ได้เปิดเพราะ พื้นที่ในการทำงานจะน้อยลง
- เมนูบาร์ ( Pull down menu )
- ทูลเมนู ( Tool menu )
- Command line :
- Ribbon menu
 
- ชุดคำสั่งใช้งาน  เก็บไว้มาต่อนะครับ พอดีงานเข้า



autocad protected lisp file

เรื่องนี้ไว้มาฟื้นความจำกันวันหลัง ไปค้นหาไฟล์ก่อนครับ
เพราะ Protect ได้ ก็ Unprotect ได้เหมือนกัน

เมื่อก่อนจะมีไฟล์ที่รันบน OS Dos ให้ใช้กันแต่ก็หากันยากมาก ชื่อ Convert.exe และ Unprotect.exe (บางท่านอาจจะเปลี่ยนชื่อให้จำได้ง่ายขึ้น)ส่วนการป้องกัน Code AutoLISP ก็ใช้ไฟล์ Protect.exe ครับ บางอันจะใช้ Protect แล้วใส่ค่าพารามิเตอร์เอา  ผมเคยโหลดมาใช้อยู่นานมากแล้ว สุดท้ายวันนี้ลองค้นหาดู ปรากฏว่ามันหายไปแล้วเพราะเปลี่ยนเครื่องมาหลายรอบ Format เครื่องมาหลายครั้ง ไม่เคยได้เก็บลงแผ่นเลย แต่ก็ไม่ได้เสียดายอะไรครับ เพราะอันนั้นมันเก่ามากแ้ล้ว ผมเลยลองค้นหาดูใหม่ LispIDE เป็นโปรแกรมหนึ่งที่น่าลองใช้ เพราะเป็น Freeware ครับ ผมเองยังไม่ได้ลองเลย ไว้ลองโหลดมาใช้แล้วจะมาบอกต่อครับ

AutoSave,Backup and Recovery

การสร้างความปลอดภัยให้ข้อมูลโดยใช้ Autosave.sv$ 

     อุบัติเหตุในการทำงานอะไรก็ตามแต่มักเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัวเสมอ ในการเขียนแบบโดยโปรแกรม AutoCAD ก็มักจะเกิดขึ้นในเวลาที่ใกล้ส่งงานทุกครั้งไป อย่างที่ผมมักจะเจอปัญหา เช่น ไฟฟ้าดับ เครื่องสำรองไฟเสีย เตะปลั๊กไฟหลุด เตะสวิทซ์ปิดเครื่องบ้าง หรือแม้กระทั่งลบไฟล์ที่ทำงานไว้แล้วทิ้ง เซฟไฟล์เก่ามาทับไฟล์ใหม่บ้าง ไฟล์ dwg เสียเปิดไม่ได้ สารพัดจะเกิดปัญหา
     การกู้ไฟล์ที่เคยได้ทำการเขียนมาก็ทำง่ายๆ ได้หลายวิธี
1. การนำ Backup file มาใช้งาน โดยการเปลี่ยนนามสกุลของ Backup file จาก .bak เป็น .dwg นั่นคือการนำไฟล์ที่เคย save ไว้ในครั้งที่แล้วมาใช้งานใหม่ เหมาะสำหรับคนที่ชอบ save งานบ่อยๆ (ไฟล์จะถูกเก็บไว้ในรูปของ BAK)
2. การใช้คำสั่ง Recover file เพื่อกู้ไฟล์ที่เสียหายกลับคืนมา ส่วนมากจะเป็นการ save โดยอัตโนมัติในกรณีที่โปรแกรมมีปัญหาล่มไปโดยไม่ตั้งตัว ไฟดับเครื่องดับ (ไฟล์จะถูกเก็บไว้ในรูปของ DWG และ DWS ) * Dws = drawing save
3. การดึงเอาไฟล์ Autosave ออกมาใช้งาน โดยการเปลี่ยนนามสกุลของไฟล์ Autosave จาก .sv$ เป็น .dwg เป็นการดึงไฟล์ที่บันทึกอัตโนมัติ ตามระยะเวลาที่เรากำหนด เหมาะสำหรับการทำงานแล้วทิ้งเครื่องไปทำธุระอย่างอื่นโดยไม่ได้ทำการ Save ก่อน (ไฟล์จะเก็บไว้ในรูปของ .sv$ โดยส่วนมากจะเก็บไว้ในหมวด Temp หากเราลบขยะใน temp ไฟล์ก็จะหายไปด้วย)



โดยส่วนตัวผมมักจะเปลี่ยนที่เก็บไฟล์ Autosave นี้ไว้ใน Folder ที่แยกออกต่างหาก เพราะความแก่เริ่มทำผมสับสน เลยแยกมันออกซะเลย โดยเข้าไปเปลี่ยนพาร์ทระบุที่เก็บใหม่
เลือกที่ Optionหรือพิมพ์ OP ในแท็บ File แล้วแก้ไขตรง Automatic save file location ครับ






ส่วนการตั้งระยะเวลา ก็ไปที่แท็บ open and save ปรับแก้ไขระยะเวลาการ save ได้ตามความเหมาะสมครับ



 มาแจงให้แล้วนะครับ

AutoLISP คือ

หลายๆคนที่เคยใช้โปรแกรม AutoCad คงพอที่จะรู้จัก ว่า LISP คืออะไร แต่สำหรับบางคนที่ไม่รู้ นี่เลยครับ
Lisp Programming Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นสูง นอกจากนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมทั่วไปแล้วยังสามารถใช้ได้ดีในการประมวลผลสัญลักษณ์ ดังนั้นจึงถูกใช้อย่างแพร่หลายทางด้านปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้ ในภาษาลิสป์ ไม่จำเป็นต้องประกาศชนิดตัวแปรที่ใช้ในโปรแกรม ดังนั้นจึงง่ายในการเขียนและเรียนรู้
AutoLISP นี้ส่วนมากจะใช้ประกอบหรือเป็นโปรแกรมเสริมชุดคำสั่งให้กับโปรแกรม AutoCAD ในส่วนที่จะต้องใช้คำสั่งเดิมๆอยู่บ่อยครั้ง หลายครั้ง จนเสียเวลา AutoLISP นี้แหล่ะ ที่ทำให้ประหยัดระยะเวลาโดยการรวมชุดคำสั่งต่างๆที่ต้องการเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งานและมีความรวดเร็วในการทำงาน

การแก้ไขคำสั่งย่อใน AutoCAD

การแก้ไขคำสั่งย่อใน AutoCAD


ในการใช้คำสั่งในโปรแกรม AutoCAD เพื่อการเขียนงานสามารถทำได้หลายวิธี
1.โดยการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กที่ เมนูบาร์ (Menubar หรือ Pulldown menu)
2.โดยการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กที่ Toolbar
3.โดยการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กที่ Ribbon menu ( เมนูนี้จะมีเพิ่มเติมขึ้นมาใน AutoCAD 2009 ขึ้นไป )
4.โดยการพิมพ์คำสั่งไปที่ Command line :

โดยส่วนตัวของผมลุงธี ส่วนมากการใช้คำสั่งในโปรแกรม AutoCAD 
ผมมักจะใช้ทางการพิมพ์คำสั่งมากกว่า
(หัวโบราณหรือไม่ก็โรคจิตที่ชอบเคาะแป้นพิมพ์ 555)
การปรับปรุงแก้ไขคำสั่งของAutoCAD จึงเป็นหนทางที่ผมเลือกเปลี่ยนแปลงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเขียน
ที่สำคัญคือผมไม่ค่อยจำคำสั่งที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษได้มากเท่าไหร่นัก เพราะภาษาไม่ค่อยแข็งแรง
ยกตัวอย่างง่ายคือ เวลาที่ผมจะใช้ คำสั่งที่ยาวๆ เช่นการตั้งค่ากรอบของรูปที่ดึงเข้ามาใช้งาน
คำสั่ง Imageframe ในเวลาที่ต้องใช้อยู่บ่อยๆ ผมจะต้องพิมพ์ยาวๆแบบนี้ทุกครั้งในเครื่องที่ไม่ได้แก้ไขคำสั่งย่อ
ซึ่งคำสั่งนี้ผมจะย่อลงมาเหลือเพียง imf เท่านั้น

ลองดูคำสั่งนี้ซิครับ EXTERNALREFERENCESCLOSE มันยาวจริงๆนะครับ

โชคดีที่คำสั่งนี้เป็นคำสั่งปิด palette ของไฟล์ข้อมูลจากภายนอกโปรแกรม
ที่เราไม่ต้องพิมพ์อะไรให้ยืดยาว EXTERNALREFERENCESCLOSE แบบนี้
เพียงแค่คลิ๊กไปที่รูปกากบาท ปิดเท่านั้นเอง
ผมเพียงยกคำสั่งมาให้ดูว่ามันยาวจริงๆเท่านั้น

ดูอันนี้อีกอันครับ DRAWINGRECOVERYHIDE ยาวจังเลยครับ
อันนี้ก็ยาวครับ BAUTHORPALETTECLOSE
และอีกอันที่น่าจะใช้กันบางในกรณีที่ต้องการปิด Command line
คือ COMMANDLINEHIDE แต่ละอันยกมาเพราะมันยาวจริงๆ
แต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้กันบ่อยๆหรอกครับคำสั่งพวกนั้น

เมื่อได้เห็นคำสั่งยาวๆกันไปแล้ว ทีนี้หลายๆคนคงอยากจะปรับปรุงแก้ไขคำสั่งของ AutoCAD ให้สั้นลงกันบ้าง
ในโปรแกรม AutoCAD จะเก็บค่าที่ติดต่อกับโปรแกรมภายนอก กับคำสั่งย่อไว้ในไฟล์ Acad.pgp
นามสกุลไฟล์ pgp ก็ย่อมาจาก Program parameters ครับตรงๆตัวเลย

การแก้คำสั่งให้สั้นลง ทำได้ไม่ยากและการเข้าไปแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธีการ แต่ผมจะยกมาเพียงวิธีที่ง่ายๆ ในการเข้าไปแก้ไขครับ
1.คลิ๊กไปที่  Tools/ Customize / Edit Program Parameters (acad.pgp) แล้วจะหารูปมาให้ดูครับ

Add caption


ลงรูปมาให้ดูแล้วครับ ( ขอปรับภาพให้ดูใหญ่ขึ้นมาหน่อยครับ เพราะภาพเล็กแล้วมองไม่รู้เรื่อง ทำให้ใหญ่มานิดนึงแล้วนะครับ)

2.พิมพ์ที่ Command line ลงไปเลย ตามนี้ครับ (เป็นการเรียกใช้โปรแกรม Notepad ให้ค้นหาไฟล์

Command: พิมพ์ (command "notepad" (findfile "acad.pgp")) แล้วกด Enter ทำให้โปรแกรม Notepad เปิดไฟล์ acad.pgp ขึ้นมาเลยครับ

ตัวอย่างคำสั่ง

3A,        *3DARRAY
3DMIRROR,  *MIRROR3D
3DNavigate,*3DWALK
3DO,       *3DORBIT

ผมต้องการแก้ไขคำสั่ง MIRROR3D ให้สั้นลง ก็เพียงแก้เป็น 3DM
แบบนี้ครับ   3DM,  *MIRROR3D
หากต้องการเพิ่มคำสั่งใหม่ ก็เพียงพิมพ์เพิ่มหรือแทรกเข้าไปครับ
ควรจะเรียงตามตัวอักษรนะครับจะได้หาได้ง่ายๆเวลาแก้ไข
เช่นผมต้องการเพิ่มคำสั่งย่อของ Pagesetup ให้เป็น PG ก็จะพิมพ์แทรกลงไปแบบนี้ครับ

PARTIALOPEN, *-PARTIALOPEN
PE,        *PEDIT
PG,        *PAGESETUP
PL,        *PLINE
PO,        *POINT

เมื่อได้ทำการปรับปรุงแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Save เป็น acad.pgp


การที่จะเปิดใช้งานโดยที่ไม่ต้องออกจากโปรแกรม ต้องใช้คำสั่ง Reinit  แล้วเลือกไปที่ PGP ครับ
เท่านี้ก็ใช้คำสั่งย่อได้แล้วครับ ลองปรับกันให้เหมาะสมครับ

แล้วก็ได้เจอวิธีที่คิดว่าน่าจะใช้งานได้ง่ายกว่าครับ คือการใช้คำสั่ง ALIASEDIT เพื่อเปิด Application เพื่อปรับแก้ไขคำสั่งย่อทั้งหลาย พิมพ์คำสั่งที่ Commandline ได้เลย
Command : ALIASEDIT
Initializing...
แล้วโปรแกรมจะขึ้น DialogBox acad.pgp - AutoCAD Alias Editor นี้ให้ปรับแก้ไขได้ง่ายขึ้น


 จะปรับเปลี่ยนคำสั่งไหนก็เพียงเลือก Add , Romove หรือ Edit เท่านั้น แล้วก็ OK ครับ ง่ายจริงๆ


คำสั่ง AutoLISP เพื่อใช้เขียนเสา

ผมเคยเขียนคำสั่งเพื่อใช้ช่วยในการเขียนแปลนเสาแบบง่ายๆ
โดยเริ่มแรกผมเริ่มจากการเขียนเสาสี่เหลี่ยมโดยการให้ป้อนค่า แล้วก็เพิ่มเติมไปทีละนิด โดยลองผิดถูกไปเรื่อยๆ  เป็นคำสั่งแบบง่ายๆที่ไม่ได้มีอะไรมาก แล้วก็เพิ่มเสาแบบต่างๆเข้าไป

จนสุดท้ายได้ไปเจอที่มีคนอื่นได้เขียนเป็น Dialog box ไว้เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น



ดูแล้วมันน่าสนใจมากๆ ก็เลยไปลองหาหนังสือมาอ่านดู หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตบาง ลองทำแล้วก็ปรับแต่งไปบางส่วนจนทำให้มันใช้ได้ ลองโหลดไปใช้ดูนะครับ ไม่ดียังไงก็เข้าไปปรับปรุงดูให้ดียิ่งขึ้นก็ได้ เพราะผมไม่ได้ Protect Lisp ไฟล์นี้ อยากให้ลองศึกษาการเขียน DCL เหมือนที่ผมเคยมึนๆงงๆกับมันมาแล้ว แต่ก็พอใช้ได้ครับ กดโหลด ที่นี้ครับ

ลองทำดูกับแบบอพาร์เมนต์

ได้มีโอกาสได้ออกแบบอาคารเล็กๆ อาคารหนึ่งอยู่ในขั้นตอนนำเสนองานครับ เป็นเพียงแบบร่างอาคารเล็กๆเท่านั้น ไม่ได้ทำงานคิดมานานก็เลยไม่ค่อยชิน เหมือนจะไม่ค่อยไหลเท่าไหร่เลย อันนี้รูปจาก Sketchup ครับ ลองทำดู

ISOMETRIC Drawing setting

จากที่ได้เกริ่นไว้ วันนี้จะมาบอกการตั้งค่าในการขึ้นรูป 3 มิติ ที่เป็นลักษณะ ภาพ ISOMETRIC ครับ
สิ่งแรกที่จะต้องตั้งค่าคือ Snap (ระยะกระโดดของ Cursor) เพื่อทำให้เส้นสายใยหรือ Crosshair ปรับเปลี่ยนแกนจากแนวระนาบมาตรฐานที่เป็น 2 มิติ อยู่ในระนาบแกนเยื้องที่กำหนด วิธีการดังนี้ครับ

พิมพ์คำสั่งที่ Command line : Snap
จะขึ้นข้อความถาม Specify snap spacing or [ON/OFF/Aspect/Style/Type] <10.0000>:
ให้เลือกที่ Style (รูปแบบของ snap) โดยพิมพ์ S
จะมีข้อความถามให้เลือกรูปแบบของกริด Enter snap grid style [Standard/Isometric]
ให้เลือกที่ Style (รูปแบบของ grid) โดยพิมพ์ I เพื่อกำหนด styleให้เป็น Isometric
แล้วกำหนดระยะห่างตามแนวแกน Specify vertical spacing <10.0000>:
ให้กำหนดตามความเหมาะสมของชิ้นงานที่จะเขียนครับ
เพียงเท่านี้เองเราก็จะได้แนวแกนที่เป็นมุม Isometric ดังภาพข้างล่างนี้ครับ


แล้วก็เริ่มเขียนภาพไอโซเมตริกกันได้ครับ

การเขียนภาพ ISOMATRIC ใน AutoCAD

 ในยุคแห่ง 3D การเขียนภาพ ISOMATRIC ใน AutoCAD กลายเป็นสิ่งที่ถูกหลงลืมไป แต่รู้ไว้บ้างก็ดีนะครับเพราะโปรแกรมเค้ามีไว้ให้ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกๆกันเลยหล่ะครับ ไว้ผมจะมาบอกวิธีการเขียนภาพ Isomatric ใน AutoCAD นะครับ ว่าเราจะต้องทำยังไง เริ่มต้นยังไง และตั้งค่าอะไรบ้าง

VToptions

VToptions เป็นคำสั่งหนึ่งในโปรแกรมAutoCAD ที่คิดว่าหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่าคำสั่งนี้มันทำอะไรได้บ้าง vtoptions เป็นคำสั่งที่มีมาตั้งแต่ AutoCAD 2006 แต่มักจะไม่ค่อยจะได้ใช้กัน เพราะยังไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับคำสั่งนี้เท่าไหร่ อีกอย่างหนึ่งคือนานๆกว่าจะได้ใช้คำสั่งนี้ แต่จริงๆแล้วคำสั่งนี้ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน ในด้านของการทำงานที่จะต้อง Zoom ไปมา หรือการ Pan รูปที่หน้าจอ

เคยเขียนมาแล้วครับ ลองไปดูตามลิ้งค์นี้ดีกว่า vtoptions ต้องขออภัยนึกว่ายังไม่เขียน ค้นไปค้นมาเคยเขียนไว้แล้วคร้าบ งั้นเอารูปมาให้ดูหล่ะกันครับ

เมื่อใช้คำสั่งที่ Command line จะขึ้น Dialog box ดังรูปครับ


View Transitions option dialogbox

เมื่อขึ้นDialogbox ของView transitions option นี้แล้วก็เพียงเอาเครื่องหมายถูกที่อยู่ในกล่องหน้า Option ต่างๆออก เท่านั้นครับ ค่ามาตราฐานที่AutoCAD ตั้งมาให้ จะใส่เครื่องหมายถูกที่ช่องแรก คือการให้แสดงการเคลื่อนไหวแบบ Animation ในเวลาที่ใช้คำสั่ง Zoomและ Pan ผลคือจะเห็นภาพที่หน้าจอวืดเข้าวืดออกให้ดูเป็นลักษณธ Realtime ในเวลาที่ใช้คำสั่ง หากผู้ใดชอบก็ไม่ว่าครับ ให้ใช้เครื่องหมายถูกที่กล่องหน้า option นี้ได้ โดยส่วนตัวคงสายตาไม่ดีมั๊งครับ ก็เลยชอบแบบไม่วืดไปมา แฮ่ๆๆๆ ลองปรับตั้งค่า vtoptions ดูนะครับ เผื่อมีประโยชน์ครับ

แก้ปัญหา PRODUCED BY AN AUTODESK EDUCATION PRODUCT




มีปัญหาจากน้องๆมาถามผมว่า เวลา Plot File AutoCAD จะมีข้อความ "PRODUCED BY AN AUTODESK EDUCATION PRODUCT" ขึ้นมาที่มุมกระดาษสี่มุมตลอด จะมีวิธีแก้ไหมครับ


เรื่องแบบนี้มีวิธีแก้ไขอยู่ครับ แต่ต้องขออธิบายกันก่อนนะครับว่าทำไมถ้าได้เกิดข้อความเช่นนี้ขึ้นมาครับ
ไฟล์ Dwg ของ autocad ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมที่เป็นรุ่นทดลองใช้ จะเกิดข้อความเช่นนี้ในเวลาสั่งพิมพ์เสมอครับ เป็นการบอกว่าผลิตภัณฑ์หรืองานนี้ ถูกสร้่างหรือเขียนขึ้นโดยโปรแกรมที่ AutoDesk ทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้นครับ

ที่นี่เรามาหาทางแก้ไขกันนะครับ การที่ได้ไฟล์ลักษณะเช่นนี้มาส่วนมากผมจะได้จากผู้อื่นที่ไม่ค่อยได้ใช้โปรแกรม AutoCAD จึงทำให้ติดข้อความ "PRODUCED BY AN AUTODESK EDUCATION PRODUCT" มาด้วย การแก้ไขทำได้ไม่ยากครับ โดยการ Save ไฟล์ Drawing ที่มีข้อความนี้ ให้เป็นนามสกุล DXF ก่อนครับ แล้วเปิดไฟล์ DXF นี้ขึ้นมา Save เป็น Dwg แค่นี้เองครับ ข้อความที่เคยมีอยู่ ก็ไม่มีแล้วครับ จริงอาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนักแต่ก็สามารถปรับแก้ไขได้ครับ ลองทำดูนะครับ

Open -DWG  Save to DXF  : Open DXF  Save to DWG

เพิ่มเติม แก้ไขข้อความ DFX =DXF





แนะนำเว็บไซต์

สำหรับกลุ่มผู้ทำงานด้านงานก่อสร้าง จำเป็นต้องมีการประมาณราคา นี้คือเว็บไซต์บางเว็บที่สามารถให้ข้อมูล รายละเอียดแก่ท่านได้อาจจะไม่ครบทุกอย่างแต่ศึกษาไว้ก็ไม่เสียหายอะไรครับ ผมเองก็ดูจากในนี้ เป็นแนวทางในการคิดราคางานครับ


กลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รวม Link

คู่มือการประมาณราคา

การถอดแบบ (Quantities Take-off)

Romote text : Rtext

จาก AutoCAD ใน version 2006 ขึ้นมา ใน EXpress menu ได้เสริมคำสั่งหลายคำสั่งที่ช่วยในการเขียน Rtext หรือ Remote text ก็เป็นอีกหนึ่งคำสั่งที่น่าสนใจดี ก็เลยเอามาฝากกัน
Rtext เหมาะที่จะใช้ในการอ้างอิงแบบที่เขียน ยิ่งในระบบ Network มีเครื่องหลายเครื่อง จะได้รู้ว่าปัจจุบัน เครื่องไหนสั่งพิมพ์งานนั้นอยู่ ตำแหน่งของไฟล์ที่ใช้งานอยู่ตรงไหน ของเครื่องไหน ลองเอาไปทำดูนะ ซึ่งแต่เดิมมาจะใช้ AutoLisp มาเสริมเพื่ออ่านค่าแล้วแปรค่ามาเป็นตัวอักษร ซึ่งซับซ้อนแล้วต้องโหลดมาใช้งานทุกครั้ง มาลองอันนี้ดู ง่ายดี

พิมพ์คำสั่ง Rtextที่ Command line: หรือจะเลือกที่ Pulldown menu ใน Express : Remote text

เลือกไปที่ Diesel เพื่อตั้งค่าตัวอักษร ( String )

Expression : ใน Dialogbox
พิมพ์ตามนี้ : $(getvar,"dwgprefix") $(getvar, "dwgname") $(edtime, 0,MON,DD","YYYY-H:MMam/pm) $(getvar, "loginname")

เท่านี้ แล้วก็กำหนดตำแหน่ง ปรับขนาดเอาเอง แล้วที่พิมพ์งานก็จะเห็นความต่างเอง

dwgperfix = ระบุต้นทางของไฟล์
dwgname = ชื่อไฟล์ . dwg
edtime = วันและเวลา ปัจจุบัน
loginname = ระบุเครื่องที่ใช้งาน

ลองดูนะครับ
อันนี้ผมเคยเขียนบอกไว้ที่ Hi5 นานแล้วนึกได้เลยหยิบมาปัดฝุ่นซะหน่อย
คิดว่าง่ายว่าการใช้ Stamp เพราะตั้งเพียงครั้งเดียวเท่านั้นครับ

Convertpstyles STB to CTB

ปัญหาการเลือกรูปแบบของ Plotstyle
มีหลายครั้งหลายคราที่รุ่นน้องๆที่ต้องการสั่งพิมพ์งานที่ได้รับไฟล์ Drawing มาจากที่อื่น แล้วมีปัญหาไม่สามารถเลือกรูปแบบของเส้นได้ อธิบายกันง่ายๆคือ ใช้คำสั่ง PLOT แล้วเปลี่ยน Plotstyle จาก STB เป็น CTB ไม่ได้ เป็นกันบ่อยครับ ซึ่งผมเองก็เคยเจอลักษณะแบบนี้เหมือนกัน
แนะนำให้ลองใช้คำสั่งที่ Command line คำสั่งนี้ครับ Convertpstyles ครับ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบลักษณะของการพิมพ์ จาก STB เป็น CTB ครับ

 สำหรับน้องต้อง 69 ที่ถามมาครับ 

คลังบทความของบล็อก