การใช้เครื่องมือช่วย Object Snap

การใช้เครื่องมือช่วย Object Snap ในการเขียนแบบ
(คำสั่งการตั้งค่าใช้ OS ครับ จะมีกรอบ Dialog box ของ Object Snap ตามรูป)



          ผมว่าจะเขียนมานานแล้ว เพราะคิดว่าการใช้เครื่องมือช่วยในการเขียนแบบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะงานที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ แน่นอนครับการใช้ Object Snap สามารถช่วยได้เป็นอย่างมาก เหตุหลักๆเพราะเคยพบเจอะเจองานไฟล์แบบ Drawing ที่เขียนจากโปรแกรม AutoCAD ซึ่งผมจะต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อจากคนที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ เป็นงานที่มีปัญหาของเส้นที่ไม่ต่อหรือชนกัน แนวเส้นเอียง ถึงแม้ว่าจะดูจาก จอมอนิเตอร์เป็นเส้นตรงก็ตาม การวัดระยะก็จะเพี้ยนๆไป มีเศษเพียง 0.001 แต่ก็จับขยับแก้ไขได้ยากครับ ต้องลากเส้นขึ้นใหม่หรือใช้วิธียืดแล้วตัดออก การย่อขยายก็จะลำบากอยู่สักหน่อยครับ เอาเป็นว่าโปรแกรมเค้าสร้างมาให้ใช้แล้วเราก็ควรที่จะใช้นะครับ
         อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Select Mode เพื่อใช้ในการเลือกวัตถุครับ แล้วจะมาแจกแจ้งให้ในแต่ละอันนะครับ เพื่อให้เลือกใช้ให้เหมาะสมจะสะดวกรวดเร็วมากยิ่งๆขึ้นครับ

Object Snap ที่ได้จากการการกด Shift+Right Click
(ดูหรือจะเข้าไปแก้ไขได้ในไฟล์เมนู ที่ Pop3)

อันนี้จาก Toolbar

 ในส่วนของ Ribbon ก็ยังมี แต่ผมยังใช้ 2007 อยู่ ไว้ใช้ 2010 จากที่อื่นแล้วจะทำรูปมาให้ดูกันครับ

อีกช่องทางของคนยุคเก่าคือการพิมพ์คำสั่งแทรกของ Object Snap หรือ OSnap กันไปเลย (ซึ่ง Osnap จะเป็นเหมือนคำสั่งแทรกหรือคำสั่งย่อยครับ ตามโปรแกรม AutoCAd แล้วจะเรียกกันว่า คำสั่ง transparent คือไว้แทรกคำสั่งหลัก 1) ผมมักจะใช้เวลาที่จะต้องไปใช้เครื่องอื่นๆที่ไม่ใช่เครื่องของตัวเองโดยพิมพ์คำสั่งลงไปเลย
มาดูกันครับว่า Object Snap หรือ OSnap มีอะไรกันบ้าง ใช้เพื่ออะไร

อันดับแรกคงเป็นอะไรไม่ได้นอกจาก Endpoint
ENDpoint หรือจะพิมพ์ย่อ End เวลาใช้งาน ใช้สำหรับจับวัตถุที่ปลายเส้น ของส่วนโค้ง เส้น segment ของเส้น Polyline มุมของ Solid และมุมของพื้นผิว Surface จะคลิ๊กไปที่วัตถุเอียงไปฝั่งไหนมากกว่าก็ยึดถือปลายที่ฝั่งนั้น เป็นมุมหรือด้านที่ใกล้ที่สุด เขียนยาวไปหรือเปล่านี่งั้นสั้นๆดีกว่าครับ
MIDpoint พิมพ์ย่อ Mid ใช้สำหรับจับที่กลางวัตถุ
CENter พิมพ์ย่อ Cen ใช้สำหรับจับไปที่จุดศูนย์กลางของวงกลมหรือเส้นโค้ง
NODe  พิมพ์ Nod ใช้สำหรับจับจุด Point ที่ได้กำหนดไว้ เช่นเวลาใช้คำสั่ง Divice แบ่งเส้นแล้วจะมีตำแหน่งของจุด Point ขึ้นมา
QUAdrant พิมพ์ Qua ใช้สำหรับจับจุดสัมผัสของเส้นโค้ง
INTersection พิมพ์ Int ใช้สำหรับจับจุดที่เส้นมาตัดกัน
EXTension พิมพ์ Ext อันนี้ใช้ไงก็ไม่รู้ปกติไม่เคยได้ใช้เลย ใครรู้ช่วยบอกทีครับ
INSert พิมพ์ Ins ใช้สำหรับจับจุด Base point จุดเริ่มอ้างอิงของวัตถุที่เป็นกลุ่มเช่น Block จุดเริ่มของตัวอักษร Text ต่างๆ
PERpendicular พิมพ์ Per ใช้สำหรับจับจุดตั้งฉากกับวัตถุที่เลือกครับ ง่ายๆคือลากไปไหนก็จะล็อค 90 องศากับวัตถุที่เลือก
TANgent พิมพ์ Tan ใช้สำหรับจัดที่จุดสัมผัสของเส้นโค้ง 
NEArest พมพ์ Nea ใช้เลือกบริเวณที่ใกล้เคียงของวัตุที่เลือก
Apperant Intersect เอ....มันใช้ไง เด่วหาดูก่อน งง งง ข้ามไปก่อนครับ
PARallel ใช้สำหรับการลากเส้นที่ให้ขนานกัน ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับ
นอกจากนี้แล้วยังมี 
Temporary Track point พิมพ์ TT จุดอ้างอิ้งชั่วคราว จะแสดงเป็นเส้นประให้ครับ
Snap FROM อันนี้พิมพ์ From เลยครับ เป็นการอ้างอิงจาก osnap mode เพื่อใส่ค่าจำนวนจริงครับ
ส่วนตัวควบคุม Osnap Mode ทั้งหมดใช้ Osnap setting โดยพิมพ์ OS หรือ Osnap ครับ การปิด Osnap Mode ก็ใช้ NONe พิมพ์ Non เพื่อปิดการใช้งาน Object snap ทั้งหมด


 เพิ่มรูปครับ เพิ่งทำเสร็จ


เสริมนอกเรื่องนิดนึง การใช้งาน Object Snap เพื่อความสะดวกมีเทคนิคที่ผมใช้อยู่ คือ การตั้งปุ่ม Function Key โดยเราสามารถตั้ง snap ได้หลายตัวในปุ่มเดียวกัน เด่วนี้มี Toolbar มาเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกไปแล้ว แต่ผมยังคงใช้แบบเดิมๆอยู่
อีกอย่างในการเขียนภาษา AutoLISP ก็เลือกใช้ Osnap Mode ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้ชุดคำสั่งบางคำสั่งจะไม่มีการหยุดรอ หากมีการตั้งค่า Osnap ให้เปิดใช้ทั้งหมดหรือหลายๆตัวอาจจะทำให้การเขียนวัตถุจากภาษา AutoLISP เพี้ยนไปได้ครับ การเขียนชุดคำสั่งบางครั้งจึงจำเป็นต้องปิด Osnap ก่อนเมื่อเขียนจากชุดคำสั่งแล้วจึงเรียกกลับคืนมาครับ
อีกประการหนึ่งเมื่อเราใช้คำสั่ง Osnap แล้วระบบจะเก็บค่าตัวแปรไว้ที่ Lastpoint ซึ่งสามารถนำค่าไปใช้กับฟังก์ชั่นของ AutoLISP ได้ครับ เช่นเมื่อใช้ Osnap End ของเส้นหนึ่งแล้วต้องการหาค่ากึ่งกลางจากจุดศูนย์กลางของวงกลมถึงจุดปลายเส้นนั้น โดยใช้ฟังก์ชั่น (End+Cen)/2 เราก็จะได้ค่านั้นครับ
เราสามารถหาค่าจุด centroid ของรูปสามเหลี่ยม โดยใช้จุด Endpoint ทั้งสามได้โดยใช้ฟังก์ชั่น (End+End+End)/3 ก็ได้ครับ


1)คำสั่ง ' transparent ใช้เพื่อแทรกคำสั่งหลักที่ได้ดำเนินการอยู่ Osnap Mode นี้ก็ถือว่าเป็นคำสั่งแทรกคำสั่งย่อยรองมาจากคำสั่งหลักๆครับ แต่เดิมการใช้คำสั่งของ AutoCAD ในรุ่นเก่าจะทำการ Zoom ในขณะที่ใช้คำสั่งหลักไม่ได้ เราจึงต้องใช้ตัวช่วยคือคำสั่งแทรก ' transparent นี้หล่ะครับ
เช่นเมื่อผมจะเขียนเส้นโดยลากจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่ไกลเกินกว่าจอมอนิเตอร์แล้วจะต้อง Zoom ให้ถึงรายละเอียดก่อนที่จะเลือกจุดต่อไปที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้มาช่วยครับ วิธีการใช้คือพิมพ์เครื่องหมาย ' หน้าคำสั่ง จะทำให้ใช้คำสั่งได้โดยที่คำสั่งหลักยังอยู่ครับ



1 ความคิดเห็น:

  1. Exteud ผมคือผู้ที่มาหาคำนี้แล้วคำตอบที่ได้คือ🙄

    ตอบลบ

คลังบทความของบล็อก