ปัญหาเรื่องของ SELECTION ใน AutoCAD2015-2016

เป็นปัญหาอย่างมากในเรื่องของ SELECTION  AutoCAD2015-2016

การทำงานที่เกี่ยวกับเส้นที่เยอะๆ ทั้ง Block ต่างๆ เพียงแค่เอาเม้าส์ Cross hair ไปวางไว้โดยยังไม่ได้คลิ๊ก โปรแกรมก็คำนวณวัตถุนั้นแล้ว สร้างปัญหากับเครื่องเป็นอย่างมาก เพราะต้องหยุดรอไปนานเลย จนบางครั้งต้องใช้ task manager ปิดโปรแกรมมันไปเลย มาดูกันครับว่าจะแก้ไขปัญหาของ Selection AutoCAD ได้ยังไงกันบ้าง

SELECTIONEFFECT  คำสั่งตัวแปรระบบ ให้ตั้งค่าเป็น 0


ให้ตั้งค่าเป็น 0 ครับ เพื่อให้แสดงเพียงเส้นประ
หากตั้งค่าเป็น 1 จะเป็นไฮไลท์แบบเรืองแสง ซึ่งจะทำให้เครื่องช้า

SELECTIONPREVIEW คำสั่งตัวแปรระบบ ให้ตั้งค่าเป็น 0



คำสั่งนี้สำคัญที่ควรจะปิด เนื่องจาก เมื่อเคอร์เซอร์หรือ Cross hair วางอยู่บนวัตถุ แม้ไม่ได้คลิ๊ก  โปรแกรมจะเลือกแล้วเก็บค่าไว้ รอให้คลิ๊ก ซึ่งมันทำให้ช้ามากๆในการทำงาน





การปรับค่าตามนี้น่าจะทำให้เครื่องคอมและการใช้งานโปรแกรมของทุกท่านจะรวดเร็วขึ้นบ้างนะครับ

และการเลือกวัตถุแบบ Auto โดยใช้ Window กำหนดจุด2จุดครอบ งานใหญ่ๆจะนานมาก ควรหลีกเลี่ยง แนะนำให้ใช้การ Select โดยใช้ WP (Window polygon) จะไวกว่าครับ

ขอให้โชคดี





Command : NEW & QNEW

ครั้งแรกที่เห็นคำสั่ง QNEW ก็ลองใช้ดูว่าจะมีอะไร เหมือนจะไม่ต่างจากคำสั่ง NEW แต่....

คำสั่ง NEW คือการเปิดไฟล์ใหม่โดย เป็นคำสั่งที่จะเปิดระบบ STARTUP and FILEDIA  ขึ่นเป็น Dialog box ให้เลือก Template ต้นแบบ

คำสั่ง QNEW (น่าจะมาจาก  Quick New Drawing) คือการเปิดไฟล์ใหม่ โดยไม่ต้องผ่านระบบของค่าตัวแปรต่างๆ จะเปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมาเลย





ภาพจากคำสั่ง NEW หรือ CTRL+N 

คำสั่ง QNEW มีเพิ่มมาใน AutoCAD 2004-2005  การใช้คำสั่งนี้จะไม่ผ่าน Dialog box แต่เราสามารถตั้งค่าของ Template ได้ว่าเราจะเลือกใช้ Template อันไหน โดยเข้าไปตั้งค่าที่ OPTION



อยากใช้อันไหนก็กำหนดได้ครับ 









Overkill การลบเส้นที่ทับซ้อนกัน





Overkill การลบเส้นที่ทับซ้อนกัน Delete Dupicate Object
การเขียนเส้นที่เยอะๆมีโอกาสที่เส้นจะทับซ้อนกันมีมาก ไม่ว่าจะเป็นเส้นตรง เส้นโค้งหรือเส้นต่อเนื่อง
และยังรวมถึงตัวอักษรที่ซ้ำกันอีกด้วย (กรณีก็อปปี้มาวางแล้วทับกันที่ตำแหน่งเดิม)
ยิ่งเส้นมีมากขนาดของไฟล์ที่ใช้งานก็จะมากตามไปด้วย

คำสั่งนี้มีมาตั้งแต่ version 2010 โดยมาในรูปของชุดคำสั่งเสริม AutoCAD Express Tool 
และพัฒนามาใน version 2012 เป็นคำสั่งใน AutoCAD เป็นคำสั่งที่น่าใช้อีกหนึ่งครับ

การใช้งาน เลือกจากเมนูที่  Modify / Delete Duplicate Objects
หรือพิมพ์คำสั่ง overkill ที่ Command line : OVERKILL
แล้วเลือกวัตถุ





จากนั้นจะปรากฎ Dialog box : Delete Duplicate Object



ถ้าไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขก็ไม่ต้องคิดเยอะกด OK ไปเลย

Exsample :
Command: _overkill
Select objects: all
27 found
3 were not in current space.

Select objects:
1 duplicate(s) deleted
6 overlapping object(s) or segment(s) deleted


Removes duplicate or overlapping lines, arcs, and polylines. Also, combines partially overlapping or contiguous ones.
Deletes duplicate objects from the drawing area or the block editor.
Removes redundant geometry:
  • Duplicate copies of objects are deleted
  • Arcs drawn over portions of circles are deleted
  • Lines, partially overlapping, drawn at the same angle are combined into a single line
  • Duplicate line or arc segments overlapping polyline segments are deleted

การใช้คำสั่ง Wipeout บดบังเส้น มีประโยชน์กว่า Trim ทีละเส้น

การใช้คำสั่ง Wipeout ในโปรแกรม AutoCAD เพื่อช่วยในการบดบังเส้นที่ทับกัน

เป็นคำสั่งเก่าๆ น่าจะมีมาตั้งแต่ Version 2010 แล้ว แต่เพราะจะใช้ก็ลืมไปทุกครั้ง เก็บมาปัดฝุ่นกันหน่อย

โดยมากมักจะเลือกใช้คำสั่งนี้เมื่อต้องการให้บังเส้นที่เยอะๆ โดยที่ไม่ต้องใช้คำสั่ง TRIM ทีละเส้น ที่มีปริมาณเยอะๆ ( ในงานสถาปัตย์ เช่นงานลูกกรง ที่ต้องมีเส้นเยอะๆ )



มักจะทำเส้นเป็น Polyline และเป็นเส้นปิด Close ด้วย แล้วเลือก option P จะใช้งานง่ายกว่า

Command: WIPEOUT
Specify first point or [Frames/Polyline] : P
Select a closed polyline:  (ให้เลือกเส้น Polyline )
Erase polyline? [Yes/No] : y (หรือกด Enter )

ถ้าหากใช้ option F (Frame) จะมีคำถามต่อ ให้โชว์แต่ไม่พิมพ์หรือไม่
WIPEOUT
Specify first point or [Frames/Polyline] : F 
 Enter mode [ON/OFF/Display but not plot] :

ลุงธีว่าใช้แบบ PolyLine ง่ายกว่าครับ ชัวร์กว่า




ลองใช้งานกันครับ ลุงธีว่าทำได้ง่ายประหยัดเวลา การใช้ Wipeout เพื่อทำเป็น Block ประตู-หน้าต่าง ก็น่าจะช่วยให้งานไวขึ้นได้นะครับ

ขอให้โชคดีครับ







FATAL ERROR

FATAL ERROR



รูปแบบของ FATAL EEROR ใน โปรแกรม AutoCAD ข้อปัญหาแรงร้ายอันเกินเยียวยาของไฟล์ Error

หกหนทางการแก้ปัญหาที่จุดเริ่มต้นของ Fatal error ที่เกิดขึ้นบนหน้าจอ การแก้ปัญหาข้อผิดพลาดร้ายแรงที่ปรากฏขึ้นเมื่อคุณท่านทั้งหลายได้เปิด AutoCAD แต่ได้รับ FATAL ERROR ในขณะที่พยายามที่จะดำเนินการ ที่มีข้อความบางส่วนที่ระบุในข้อความผิดพลาดที่ระบุไว้ด้านล่าง หากได้รับหนึ่งในข้อผิดพลาดร้ายแรงของ FATAL เหล่านี้  โปรดคลิกลิงก์ที่เหมาะสมที่จะไปแก้ปัญหาครับท่าน

ลุงธีว่าตัวที่เราท่านหลายๆมักจะพบเจอบ่อยมากที่สุด ก็คือตัวแรก

Fatal error: Unhandled exception
หรือที่เต็มๆว่า
Fatal error: Unhandled exception or Unhandled e0434352h Exception at fda3a06dh 

สาเหตุจาก

การปรับปรุง .NET บนคอมพิวเตอร์ของคุณอาจจะมีการแทรกแซงด้วยการติดตั้ง CAD

วิธีการแก้
1. Download ดาน์วโหลด .net ตัวล่าสุด
2. ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดในขั้นตอนที่ 1 
3. เมื่อได้รับแจ้งให้เลือกตัวเลือกซ่อม (repair) 

4. รีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ


Solution
2. Double-click the file you downloaded in Step 1. 
3. When prompted, select the Repair option. 
4. Restart your computer.


ไม่มีใครอยากโดนหรืออยากเจอ Fatal Error บ่อยๆ  ขอให้โชคดีครับ






Ribbon หลุดออกจากส่วนบน Tab. ใช้ Dock or Undock the Ribbon




เมื่อ Ribbon หลุดออกจากส่วนบน Tab


คือถูก Dock or Undock the Ribbon


วิธีการ : Undock the Ribbon
โดยการคลิ๊กขวา ที่ Ribbon Tab แล้วเลือกไปที่ undock
  • Right-click the ribbon tabs and select undock.



ตามรูปครับ เมื่อคลิ๊กแล้ว Ribbon จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นลักษณะ ปุ่มแถบคำสั่ง Pallete โดยสามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆ หรือจะย้ายไปอยู่ด้านข้างได้ เหมือนกับ Properties pallete ลุงธีชอบไว้ที่ด้านข้าง




Pallete Title bar : RIBBONS

ตามรูปครับ จะเป็นลักษณะปุ่มเครื่องมือชุดคำสั่ง

หมายเหตุ: หากต้องการกลับริบบิ้นไปยังสถานที่ก่อนหน้านี้ดับเบิลคลิกที่แถบชื่อเรื่อง

หรือจะใช้วิธีลาก Pallete ของ RIBBONS กลับสู่ที่เดิม Drag and Drop นั่นแหล่ะครับ






ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ


RIBBON  คือการจัดกลุ่มชุดเครื่องมือที่ใช้งาน เพื่อเพิ่มความกระทัดรัดเป็นหมวดหมู่  

สามารถวางตามตำแหน่งต่างๆได้ ทั้งด้านบน ด้านข้าง หรือจะลอยอยู่บนหน้าจอ 

ตามแต่ความสบายใจครับ

ขอให้โชคดีครับ



Movebak ใช้จัดการไฟล์ Backup ของ AutoCAD


Movebak


การใช้งาน AutoCAD เมื่อทำการบันทึกหรือ Save file โปรแกรมจะสร้างไฟล์สำรอง .bak เพื่อใช้ประโยชน์ในการกู้คืนจากไฟล์สำรอง แต่หามีมากจนเกินไปก็ทำให้กินพื้นที่ใน Harddisk 
มาจัดการไฟล์  bak นี้ด้วย

Command Movebak



คำสั่ง Movebak เป็นชุดคำสั่ง AutoLisp ที่ถูกบรรจุไว้ในเมนู Express ใช้เพื่อจัดการไฟล์ .bak เป็นการจัดระเบียบของไฟล์ .bak ให้อยู่รวมกัน
1. สร้างโฟลเดอร์ใหม่ D:\Dwgbak
2. พิมพ์คำสั่ง Movebak ใส่พาร์ท คือ D:\Dwgbak
เมื่อ Save ไฟล์ .bak จะไปเก็บอยู่ที่ D:\Dwgbak

เป็นอีกทางเลือกที่ใช้ในการจัดการไฟล์ที่ดีครับ

เกร็ดเล็กๆน้อยๆลุงธีนำมาฝากกันครับ

เลเยอร์ในริบบอนแสดงไม่เต็ม

เลเยอร์ในริบบอนกับเลเยอร์ใน Dialog box ไม่เท่ากัน

Layer pull down menu on the Ribbon versus layer

 filters on layer manager.

อันนี้มีน้องชาติ69ที่ออฟฟิต ถามมาว่าทำไม แถบเลเยอร์ที่อยู่ในริบบอนถึงไม่แสดงเลเยอร์ทั้งหมด ปกติลุงธีจะไม่ค่อยได้ใช้ริบบอนมาเป็นเครื่องมือช่วยสักเท่าใดนัก เพราะต้องการพื้นที่ทำงานมากกว่า




คงไม่ต้องว่าอะไรมาก บอกวิธีแก้ไขกันง่ายๆกันไปเลยครับ ตามรูปภาพ (คงง่ายไปนะ) เอ้า... อธิบายกันซะหน่อยก็พอนะ

เปิดโปรแกรม เปิดไฟล์ แล้วเปิด Dialog box ของ Layer Properties manager แล้วเข้าไปตั้งค่า ที่ปุ่ม Setting อยู่ทางด้านขวามือมุมบนของ Dialog box ครับ



แล้วจะปรากฏ Dialog box Layer Setting นี้ขึ้นมา ครับ




ที่นี่ลุงธีขอให้สังเกตุที่ Dialog Setting ที่ Apply layer filter to layer toolbar อันนี้แหล่ะ ให้คลิ๊กเพื่อให้ Uncheck ครับ




แค่นี้ครับ

ขอให้โชคดีนะครับ

ThEe


มาปิด WCS icon กันไหม? turn off the wcs icon



 วันนี้ลุงธีมาบอกการปิด WCS Icon ที่มันอยู่บนหน้าจอ ทางมุมบนขวามือของจอภาพนั่นแหล่ะครับ


Close or turn off WCS ICON on  upper right hand side of your screen.


ตอนนี้ลุงธีใช้ AutoCAD 2016
เป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดบ้างในบางวันที่รีบเร่งแต่การรีบเร่งทำให้ต้องไปสัมผัสกับ WCS Icon บนหน้าจอนี้


เพราะงานที่เราทำอยู่จะถูกหมุนทิศ ไปเป็นมุมมองของ 3 มิติไปน่ะซิ

การปิด Wcs Icon นี้ ทำได้ไม่ยากครับ โดยให้ใช้ คำสั่ง Navvcube และสั่งให้ปิด

สามารถพิมพ์ลงบน Command line ได้เลย

Command: NAVVCUBE
Enter an option [ON/OFF/Settings] : off
Command:

และแล้ว WCS ICON บนหน้าจอเราก็จะไม่แสดงออกมาครับ

ขอให้โชคดีทุกๆท่านครับ





การหมุนภาพใน paperspace ทำอย่างไร


การหมุนภาพใน paperspace ทำอย่างไร

How to rotate a view in paperspace (tab layout)? 
บางครั้งการหมุนทิศทางของวัตถุหรือแบบที่เราได้เขียน เพื่อให้ตรงกับแนวของกระดาษ มีความจำเป็น
เพื่อการอ่านแบบจะได้เข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะงานผังโครงการ งานสำรวจที่ยึดถือทิศเหนือเป็นหลัก ตัวอาคารอาจจะต้องหมุนทิศตามแนวของที่ดิน เพื่อให้มองแบบและอ่านตำแหน่งการจัดวางได้ง่าย และเพื่อการวางแผนงานที่ดี จึงเป็นที่มาของการหมุน Viewport หมุนแบบที่เขียนให้ได้แนวระนาบกับกระดาษ

การกำหนดค่า Optical Mouse กับ AutoCAD






วันนี้ทำงานไปมองเมาส์ที่ใช้งานไป จากแต่เดิมเป็นเม้าส์ชนิดลูกกลิ้งยาง มีปุ่ม 2 ปุ่มบ้าง 3 ปุ่มบ้าง
ผ่านเวลามาเนิ่นนาน เม้าส์พัฒนาไปมาก จนเป็น Optical mouse ที่มีปุ่มคลิ๊กและลูกล้อที่กลางตัวเม้าส์


ลูกล้ออัฉริยะนี้มีประโยชน์อะไร ใช้ยังไง
ประโยชน์คือการซูม ขยายภาพวัตถุเข้า-ออก โดยไม่ต้องพิมพ์คำสั่ง ใช้โดยการเลื่อนลูกล้อไปข้างหน้าและข้างหลัง แต่คุณทีอยากเปลี่ยนทิศทางมัน ก็ทำได้โดยใช้ Zoomwheel



 ตัว แปรที่เกี่ยวข้องกับระบบก็คือ ZOOMWHEEL ซึ่งสามารถเปลี่ยนทิศทางของการซูมล้อเมาส์เพื่อให้ตรงกับสินค้าอื่นเช่น Autodesk Inventor เปลี่ยนทิศทางของกลางล้อเมาส์ซูมใน AutoCAD

 AutoCAD โดยค่าเริ่มต้นเมื่อก้าวไปข้างหน้าล้อในขณะที่วัตถุ Autodesk Inventor ซูมออกเมื่อมีการย้ายล้อเมาส์ไปข้างหน้า

การตั้งค่า ZOOMWHEEL 0
ย้ายไปข้างหน้าล้อซูมเข้า; ล้อย้ายไปข้างหลังซูมออก. (Default)

การตั้งค่า ZOOMWHEEL 1
ก้าวไปข้างหน้าล้อซูมออก ล้อย้ายไปข้างหลังตู้ม. (ให้เหมือนกับ Inventor)


Command : zoomwheel
Enter new value for ZOOMWHEEL <0>: 1

ThEe Ok.
 

 เมื่อทำงานไปจนรวดเร็วปานจรวด การย่อขยายภาพเริ่มไม่เป็นดังใจนึก ช้าบ้างเร็วบ้าง ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุที่ทำงาน ขนาดของภาพ และที่สำคัญก็คืออารมณ์ในการทำงาน (คุณที ThEe อย่างผมเป็นอยู่บ่อยๆครับ) ที่จะต้องซูมเข้าซูมออก ซึ่งการซูมเข้าออกนี้จะถูกกำหนดด้วยตัวแปรในระบบชื่อ Zoomfactor โดยค่ามาตราฐานจาก AutoCAD จะตั้งความเร็วไว้ที่ 60 

การกำหนดความเร็วในการขยายจอภาพใน AutoCAD กับ ZoomFactor

Change the AutoCAD Zoom Speed with ZOOMFACTOR

 ทำได้ง่ายโดยพิมพ์ Zoomfactor แล้วกำหนดค่าที่ต้องการลงไป 

command : zoomfactor
Enter new value for ZOOMFACTOR <60> : 40

เพียงเท่านี้ก็กำหนดความรวดเร็วให้ช้าหรือว่องไวได้

คำเตือนอย่าไปใช้แกล้งเพื่อนๆ เพียงเพื่อความสนุกสนานหร​​ือความทุกข์ทรมาน นะครับ  

ThEe Smile.

 

 รูปเม้าส์ที่นายธีใช้ทำงานอยู่

คลังบทความของบล็อก