จะล็อค Viewport ยังไง (How to Lock the Viewport)

HOW TO LOCK THE VIEWPORT IN AUTOCAD.


บ่อยครั้งที่เมื่อการตั้งค่า Scale โดยการใช้ Connoscale แล้วต้องทำการล็อค Viewport ซึ่งการตั้งล็อค Viewport  สามารถทำได้หลายวิธี เผื่อไว้เลือกใช้กันครับ

ขั้นตอนในการตั้งค่าล็อค Viewport :
1. คลิ๊กเมาส์ให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ Paper Space หรือพิมพ์ PS
2.เลือกเส้นกรอบของ Viewport แล้วเลือกมาตราส่วนที่ต้องการ
3.คลิ๊กเลือก Lock viewport ที่อยู่ด้านข้างของมาตราส่วน viewport
แล้วพิมพ์ PS พื้นที่ Paper Space  หรือจะ ESC. ออกจากคำสั่งก็ได้

การล็อค Viewport นี้มีประโยชน์เพื่อให้พื้นที่ที่ทำการล็อคไม่เคลื่อนที่ เหมาะกับการตั้งค่าสเกลไว้ตั้งแต่เริ่มต้น

อีกวิธีคือการใช้ Properties Command ( CTRL+1)
เลือกที่เส้น Viewport แล้วไปปรับค่าใน Properties Palettes ในหมวด Misc
ค่าตั้ง Display Locked ให้เป็น Yes
หากจะปลดล็อคก็ตั้งให้เป็น NO ครับ

ส่วนคำสั่งทาง Command line สามารถใช้ได้ดังนี้ :

Command line Lock Viewport :
Exsample 1:
Command line : mview
Specify corner of viewport or [ON/OFF/Fit/Shadeplot/Lock/Object/Polygonal/Restore/LAyer/2/3/4] : lock
Viewport View Locking [ON/OFF]: on
Select objects: 1 found
Select objects:
Exsample 2:
Command line : -Vport
Specify corner of viewport or [ON/OFF/Fit/Shadeplot/Lock/Object/Polygonal/Restore/LAyer/2/3/4] : lock
Viewport View Locking [ON/OFF]: on
Select objects: all
1 found


*** คำสั่ง Viewport scale is equal to annotation scale เป็นการปรับตั้งค่าให้แปรเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนตาม Cannoscale มักใช้คู่กับการพิมพ์แบบ***



Use these functions to lock and unlock viewports with ease
Like many AutoCAD users, tip contributor Jessica Confer likes to work inside of locked model space viewports within layouts.
"For example, there are times when you need to unlock the viewport for repositioning. Here are a couple of functions that allow you to lock and unlock viewports with ease. Use VL to lock viewports and VUL to unlock them."
Viewport Lock – Keyboard Command VL
    ;;LOCKS VIEWPORT
    (defun c:vl (/ vp1)
     (setq vp1 (ssget))
     (command "mview" "l" "on" vp1 ""))

Viewport Unlock – Keyboard Command VUL
    ;;UNLOCKS VIEWPORT
    (defun c:vul (/ vp2)
      (setq vp2 (ssget))
      (command "mview" "l" "off" vp2 ""))
Notes from Cadalyst tip reviewer R.K. McSwain: Locking viewports makes working on drawings much easier, and these two shortcut LISP functions are going to make it even easier for us. Thanks Jennifer.



ว่ากันด้วยเรื่องสเกลของเส้นและชิ้นงาน LTSCALE,PSLTSCALE,CELTSCALE,MSLTSCALE




การตั้งค่าในโปรแกรม AutoCAD มีมากมาย วันนี้มาลองดูการตั้งค่าของสเกลของเส้นและชิ้นงานในแต่ละตัวกันครับ


LTSCALE หรือ LineType Scale คืิอ ค่าที่ควบคุมสัดส่วนของ Line Type ของวัตถุทั้งหมด
ของ Drawing ในหน้าจอมอนิเตอร์
ไม่สามารถตั้งค่าเป็น 0 ได้ เพราะมีค่าเริ่มต้นเป็น 1
แต่สามารถจะตั้งค่าให้เป็น 0.5 ก็ยังได้ ลุงธีชอบใช้สะดวกดี

PSLTSCALE  หรือ Paper Space LineType Scale คือค่าที่ใช้ควบคุมสัดส่วนของ LineType ของวัตถุบน พื้นที่ Paper Space 

เมื่อเปลี่ยนค่าของ PSLTSCALE ให้เป็น 1 การใช้คำสั่งเช่น ZOOM ที่มีการตั้งค่า PSLTSCALE ไว้ที่ 1 วัตถุใน Paper space จะไม่ถูกสร้างใหม่โดยอัตโนมัติหรือไม่เปลี่ยนตาม ต้องใช้คำสั่ง REGEN หรือ REGENALL เพื่อปรับปรุง linetype ในแต่ละวิวพอร์ต ให้แสดงสัดส่วนที่ถูกปรับเปลี่ยน
มูลค่าเริ่มต้นของ PSLTSCALE คือ 1.

โดยมากจะใช้ในเวลาที่จะพิมพ์งานแล้วค่าใน Model กับ Paper Space ไม่เท่ากัน จึงต้องตั้งค่าให้กลับมาที่ 0 เพื่อไม่ให้ใช้ค่าใน Paper Space

MSLTSCALE หรือ Model space LineType Scale คำสั่งนี้จะเริ่มมีใน AutoCAD 2008 คือ คำสั่งควบคุม LineType ใน Model Space คล้ายกันกับ Psltscale แต่จะควบคุมใน Model เท่านั้น 
การใช้งานก็เช่นเดียวกันโดยตั้งค่าเป็น 0 เมื่อต้องการปิด ตั้งค่าเป็น 1 เมื่อต้องการเปิดใช้งาน (ใน AutoCAD 2007 หรือก่อนหน้านั้นจะมีค่าเป็น 0)

CELTSCALE หรือ Current Element LineType Scale คือค่ากำหนดขนาดสัดส่วนของ LineType ของวัตถุปัจจุบัน 
ค่า CELTSCALE จะคูณด้วยค่า LTSCALE เพื่อให้ได้ขนาดที่แสดง ซึ่งสามารถเปลี่ยน Scale LineType ในวัตถุได้ทั้งแบบรายวัตถุหรือแบบทั้งหมดได้ การตั้งค่าปรับขนาดเส้นวัตถุใหม่จะสัมพันธ์กับการตั้งค่าคำสั่ง LTSCALE ที่สร้างด้วย

CELTSCALE = 2 ใน Drawing วัตถุที่มี LTSCALE ตั้งค่าเป็น 0.5 จะปรากฎเหมือนกับเส้นที่สร้าง
CELTSCALE = 1 ใน Drawing วัตถุที่มี LTSCALE ตั้งค่าเป็น 1

/แถมอันนึง CANNOSCALE คือการตั้งค่าตัวแปรการให้สเกลกับ Paper Space เหมาะกับการตั้งค่าหน้ากระดาษ  Scale 1:1 หรือจะ Scale เท่าไหร่ แล้วล็อคหน้าจอ Viewport



Command: CANNOSCALE
Enter new value for CANNOSCALE <"1:2"> : 1:1

(***หมายเหตุในการกำหนดใส่ค่า Scale จะต้องใส่ค่าที่มีอยู่ใน List ของ SCALELISTEDIT สามารถเพิ่มเข้าไปได้โดยการ Add***)


จะเพิ่มเป็นเท่าไหร่ก็ระบุเอานะครับ





คลิ๊กปุ่มล็อค Viewport ที่อยู่ข้างๆ Viewport Scale ตามรูป

ขอให้โชคดีครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
AutoLISP1  Ex: Code

(defun c:mds (/ cs)
(setq cs (getvar "cannoscale"))
(if
(/= cs 1.5)
(setvar "cannoscale" 1.5)
)
(princ)
)


AutoLISP2  By Ian Bryant

(defun set-annoscale (name ratio / dlst test)
(if (/= (strcase name) (strcase (getvar "CANNOSCALE")))
(progn
(setq dlst (dictsearch (namedobjdict) "ACAD_SCALELIST")
test nil
)
(while dlst
(cond
((/= (caar dlst) 350) (setq dlst (cdr dlst)))
((= (strcase (cdr (assoc 300 (entget (cdar dlst))))) (strcase name))
(setq dlst nil test T)
)
(T (setq dlst (cdr dlst)))
)
)
(if (not test) (command "-SCALELISTEDIT" "Add" name ratio "Exit"))
(setvar "CANNOSCALE" name)
)
)
(princ)
)





การจัดหน้ากระดาษ PAGE SETUP

PAGE SETUP สำหรับมือใหม่เมื่อเริ่มฝึกหัดเขียน การตั้งและจัดหน้ากระดาษ เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้ได้พิมพ์งานออกมาตามขนาดของกระดาษที่ได้เลือกไว้ ให้มีสัดส่วน


เริ่มจากการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมา














ใช้ File/New กำหนดเลือก Template โดยมากจะเลือกใช้ acad.dwt เพื่อการตั้งค่าง่ายๆ แล้วก็ Open

ใช้คำสั่ง DDUNITS เพื่อปรับค่าหน่วยให้เป็นเมตร





















ตอนนี้มาถึงตอนเริ่มครับ ให้เข้าไปที่ Tab Layout
















คลิ๊กขวาที่ Tab Layout เลือก Page Setup Manager แล้วคลิ๊กเข้าไปที่ Modify

(ขั้นตอนนี้ลุงธีจะแนะนำให้เลือกที่ Modify เพื่อเข้าไปแก้ไขมากกว่าจะสร้างใหม่โดย New เพื่อลดชื่อของ Layout แต่ใครจะใช้ New ก็ได้เหมือนกัน)



















































ตั้งค่าใน Page Setup
1.เลือกเครื่องพิมพ์ที่ใช้งาน
2.เลือกหน่วยที่ใช้ในการพิมพ์
3.เลือกขนาดกระดาษที่ต้องการพิมพ์
4.กำหนดพื้นที่พิมพ์ (ในส่วนนี้ยังไม่ต้องกำหนดก่อนก็ได้ ต้องเขียนกรอบกระดาษก่อน)

ขนาดของกระดาษเพื่อการเขียนกรอบที่ใช้กำหนดพื้นที่พิมพ์

ขนาดกระดาษ  A4 - 297x210 mm.
                        A3 - 420x297 mm.
                        A2 - 594x420 mm.
                        A1 - 841x594 mm.
                        A0 - 1189x841 mm.

อันนี้เป็นหน่วยมิลลิเมตรนะครับ หากจะเป็นหน่วยเมตรก็ใช้ 1000 หารเข้าไปครับ
เขียนกรอบของกระดาษกันเลยครับ เริ่มต้นจากขนาดกระดาษ A3 ล่ะกันนะครับ

ใช้ คำสั่ง Pline กำหนดจุดแรกที่ 0,0 จุดที่สอง 420,0 จุดที่สาม 420,297 จุดที่สี่ 0.297 แล้วปิดเส้น Close

หรือจะใช้คำสั่ง RECTANG กำหนดจุดแรกที่ 0,0 จุดที่สองที่ @420,297
Command: RECTANG
Specify first corner point or [Chamfer/Elevation/Fillet/Thickness/Width]: 0,0
Specify other corner point or [Area/Dimensions/Rotation]: @420,297

ได้กรอบกระดาษขนาด A3 หน่วยเป็นมิลิเมตรแล้วครับ

ไปที่ Page Setup Manager ตั้งพื้นที่พิมพ์ เลือกเป็น Window กำหนดจุดที่ 1 และ 2

















ปรับให้จัดกึ่งกลางโดยคลิ๊กที่ Center the Plot


ตั้งค่า plot scale ให้เป็น 1:1 หน่วยเป็น mm. แล้ว OK ครับ



















ให้สังเกตุเส้นประ คือพื้นที่พิมพ์ของเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ได้ หรือ Prinable Area
ให้ Offset เส้นกรอบให้อยู่ใน Prinable Area เพื่อให้งานไม่หลุดกรอบกระดาษ

















เท่านี้เราก็ได้กรอบกระดาษที่ต้องการ เพื่อจะพิมพ์งานในขนาดต่างๆได้ครับ






คลังบทความของบล็อก