การ Insert Block ใหม่แทนที่ Block เก่า

       มีหลายครั้งหลายครา เวลาที่ทำำงานโดยที่จะต้องพบเจอปัญหากับการปรับปรุงแก้ไขแบบหลายครั้ง
โดยไม่ได้ใช้ Xref (หากทำ Xref คงจะปรับแก้ไขได้ง่ายกว่า ) การทำ Block เป็นทางเลือกหนึ่งที่การแก้ไขหลายๆจุด จนมึนงง และสับสน ใหม่เก่า ไม่รู้ว่าปรับแก้ไขที่ตรงจุดไหนบ้าง ผมเองมักจะหลีกเลี่ยงโดยทำ Block ใหม่เข้าไปทับ Block เก่ามันซะเลย เส้นเยอะนักใช่ไหม โดยครอบสร้าง Block ในไฟล์ที่ต้องแก้ไข ให้ชื่อที่ไม่ยาวจะได้พิมพ์ได้ง่าย ยกตัวอย่างงานง่ายๆที่มักเจอบ่อยๆ คือการที่จะต้องเปลี่ยน Headding Title หรือกรอบกระดาษของงานนั่นแหล่ะครับ หากเป็น Xref ก็ง่ายครับ แก้ต้นทางปลายทางก็ปรับให้แล้ว แต่หากไม่มีต้นทาง วิธีก็คือใช้ตัวใหม่ทับตัวเก่า แต่การที่จะให้คำสั่ง Insert Block ใหม่ แล้วให้ตัวเก่าปรับตามใน Release ใหม่ๆจะเป็น Dialog Box ไปหมดจึงไม่ค่อยได้มีใครได้ใช้ Parameter ที่ AutoCAD ให้มาสักเท่าไหร่นัก งั้นมาลองดูวิธีนี้ดูนะครับ การเปลี่ยน Block หลายๆอัน โดยครั้งเดียว

Command Line : -insert (ใช้ - นำหน้าเพื่อเรียกคำสั่งพื้นฐานโดยไม่ดึง App.Dialog Box ขึ้นมาครับ)
-INSERT Enter block name or [?] : (ใส่ชื่อ Block เดิมที่ต้องการเปลี่ยนแล้วใช้เครื่องหมาย = ตามด้วยชื่อของ Block ใหม่ที่ต้องการแทนที่ )

ตัวอย่าง
Command line : -insert
-INSERT Enter block name or [?] : A=B
Block "A" already exists. Redefine it ? [Yes/No] : Y (ตอบ Yes แล้ว Enterครับ)

เท่านี้ก็เปลี่ยนไปแล้วครับ
มีข้อแม้อยู่ว่าหากอยู่คนละพาร์ท จะต้องพิมพ์ชื่อพาร์ทให้ครบครับ ควรสร้างเป็น Block ภายนอกไฟล์จะดีกว่าครับ ไว้จะลงรูปมาให้ดูกันครับ

Imageframe

การตั้งค่า IMAGEFRAME เพื่ิอกำหนดเส้นกรอบของรูปให้แสดงหรือซ่อน หรือซ่อนในเวลาพิมพ์
ใน CAD2000i ถึง 2006 จะมีเพียงค่า 0 และ 1 เท่านั้น

 ค่า 0 คือการซ่อนเส้นกรอบของรูปที่ดึงเข้ามาใช้งาน ใช้เมื่อปรับขนาดของรูปแล้ว
        เวลาพิมพ์งานก็จะไม่มีกรอบมาให้รกตาครับ
 ค่า 1 คือการแสดงเส้นกรอบของรูปที่ดึงเข้ามาใช้งาน ใช้เมื่อต้องการปรับขนาดของรูป
        แต่เวลาที่พิมพ์งานกรอบก็จะถฏพิมพ์ออกมาด้วยครับ
 ค่า 2 คือการแสดงเส้นกรอบของรูปที่ดึงเข้ามาใช้งาน ใช้เมื่อต้องการปรับขนาดของรูป

        รวม 0 และ 1 คือแสดงกรอบให้แก้่ไขปรับขนาดแต่ไม่พิมพ์ครับ


Command : Imageframe
IMAGEFRAME
Enter image frame setting [ 0 , 1 , 2 ]  : เลือก 0 ครับ

กรอบก็จะหายไป

ผมเองมักจะต้องใช้รูปอย่างเช่น LOGO เพื่อมาประกอบแบบอยู่บ่อยๆ
การพิมพ์คำสั่ง Imageframe มันเป็นคำสั่งที่ยาวไปครับ ผมเลยเปลี่ยนเป็น IMF
ลองเปลี่ยนดูครับ ง่ายและสะดวกรวดเร็วครับ



วิธีการแก้ไขสระเยื้องโย้ใน AutoCAD

วิธีการแก้ไขสระเยื้องโย้ใน AutoCAD จำไม่ได้ว่าเคยเขียนไว้บ้างหรือยัง เพราะปัญหานี้มีมานาน ตั้งแต่ AutoCAD เริ่มใช้บน Window เป็นต้นมา

ข้อมูลจากคนอื่นลองทำตามกันดูครับ คือ ให้ไปปรับใน Properties ของ Printer/plotter ตอนสั่ง Plot 

1) สั่ง Plot
2) เลือก Printer/plotter ที่จะใช้
3) เลือก Properties... > จะปรากฎหน้าต่าง Plotter Configuration Edition 
4) เลือก Device and Document Settings 
5) Double click ที่ Graphics 
6) เลือก True Type Text และเปลี่ยนเป็น True Type as text 
7) กดปุ่ม Save As.. > เครื่องจะ Save in folder ชื่อว่า "Plotters" นามสกุลเป็น *.pc3 > กด Save 
8) จะกลับสู่หน้าต่างเดิม > กดปุ่ม OK > จะปรากฏหน้าต่าง Changes to printer configuration file > เลือก save changes to the following file:: > กด OK
9) จะกลับสู่หน้าเดิม (Plotter Configuration Edition) 
10) เครื่อง Printer/plotter จะเปลี่ยนเป็น Printer ที่มีนามสกุล *.pc3 (ใช้อันนี้จะสามารถแก้ปัญหาสระโย้ได้)
11) ตั้งค่าการ Print/Plot ได้ตามขั้นตอนปกติ 

ผมเคยใช้วิธีการนี้แล้ว มักจะหายบ้างไม่หายบ้าง แต่ก็น่าจะลองทำกันดูก่อนครับ
หากไม่ได้กันจริงๆแล้ว ขอแนะนำให้เปลี่ยน Font Style ไปเลยครับ หากใช้เป็น *.shx ไม่มีเยื้องแน่ๆ


คลังบทความของบล็อก