การแก้ไขคำสั่งย่อใน AutoCAD

การแก้ไขคำสั่งย่อใน AutoCAD


ในการใช้คำสั่งในโปรแกรม AutoCAD เพื่อการเขียนงานสามารถทำได้หลายวิธี
1.โดยการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กที่ เมนูบาร์ (Menubar หรือ Pulldown menu)
2.โดยการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กที่ Toolbar
3.โดยการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กที่ Ribbon menu ( เมนูนี้จะมีเพิ่มเติมขึ้นมาใน AutoCAD 2009 ขึ้นไป )
4.โดยการพิมพ์คำสั่งไปที่ Command line :

โดยส่วนตัวของผมลุงธี ส่วนมากการใช้คำสั่งในโปรแกรม AutoCAD 
ผมมักจะใช้ทางการพิมพ์คำสั่งมากกว่า
(หัวโบราณหรือไม่ก็โรคจิตที่ชอบเคาะแป้นพิมพ์ 555)
การปรับปรุงแก้ไขคำสั่งของAutoCAD จึงเป็นหนทางที่ผมเลือกเปลี่ยนแปลงเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเขียน
ที่สำคัญคือผมไม่ค่อยจำคำสั่งที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษได้มากเท่าไหร่นัก เพราะภาษาไม่ค่อยแข็งแรง
ยกตัวอย่างง่ายคือ เวลาที่ผมจะใช้ คำสั่งที่ยาวๆ เช่นการตั้งค่ากรอบของรูปที่ดึงเข้ามาใช้งาน
คำสั่ง Imageframe ในเวลาที่ต้องใช้อยู่บ่อยๆ ผมจะต้องพิมพ์ยาวๆแบบนี้ทุกครั้งในเครื่องที่ไม่ได้แก้ไขคำสั่งย่อ
ซึ่งคำสั่งนี้ผมจะย่อลงมาเหลือเพียง imf เท่านั้น

ลองดูคำสั่งนี้ซิครับ EXTERNALREFERENCESCLOSE มันยาวจริงๆนะครับ

โชคดีที่คำสั่งนี้เป็นคำสั่งปิด palette ของไฟล์ข้อมูลจากภายนอกโปรแกรม
ที่เราไม่ต้องพิมพ์อะไรให้ยืดยาว EXTERNALREFERENCESCLOSE แบบนี้
เพียงแค่คลิ๊กไปที่รูปกากบาท ปิดเท่านั้นเอง
ผมเพียงยกคำสั่งมาให้ดูว่ามันยาวจริงๆเท่านั้น

ดูอันนี้อีกอันครับ DRAWINGRECOVERYHIDE ยาวจังเลยครับ
อันนี้ก็ยาวครับ BAUTHORPALETTECLOSE
และอีกอันที่น่าจะใช้กันบางในกรณีที่ต้องการปิด Command line
คือ COMMANDLINEHIDE แต่ละอันยกมาเพราะมันยาวจริงๆ
แต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้กันบ่อยๆหรอกครับคำสั่งพวกนั้น

เมื่อได้เห็นคำสั่งยาวๆกันไปแล้ว ทีนี้หลายๆคนคงอยากจะปรับปรุงแก้ไขคำสั่งของ AutoCAD ให้สั้นลงกันบ้าง
ในโปรแกรม AutoCAD จะเก็บค่าที่ติดต่อกับโปรแกรมภายนอก กับคำสั่งย่อไว้ในไฟล์ Acad.pgp
นามสกุลไฟล์ pgp ก็ย่อมาจาก Program parameters ครับตรงๆตัวเลย

การแก้คำสั่งให้สั้นลง ทำได้ไม่ยากและการเข้าไปแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธีการ แต่ผมจะยกมาเพียงวิธีที่ง่ายๆ ในการเข้าไปแก้ไขครับ
1.คลิ๊กไปที่  Tools/ Customize / Edit Program Parameters (acad.pgp) แล้วจะหารูปมาให้ดูครับ

Add caption


ลงรูปมาให้ดูแล้วครับ ( ขอปรับภาพให้ดูใหญ่ขึ้นมาหน่อยครับ เพราะภาพเล็กแล้วมองไม่รู้เรื่อง ทำให้ใหญ่มานิดนึงแล้วนะครับ)

2.พิมพ์ที่ Command line ลงไปเลย ตามนี้ครับ (เป็นการเรียกใช้โปรแกรม Notepad ให้ค้นหาไฟล์

Command: พิมพ์ (command "notepad" (findfile "acad.pgp")) แล้วกด Enter ทำให้โปรแกรม Notepad เปิดไฟล์ acad.pgp ขึ้นมาเลยครับ

ตัวอย่างคำสั่ง

3A,        *3DARRAY
3DMIRROR,  *MIRROR3D
3DNavigate,*3DWALK
3DO,       *3DORBIT

ผมต้องการแก้ไขคำสั่ง MIRROR3D ให้สั้นลง ก็เพียงแก้เป็น 3DM
แบบนี้ครับ   3DM,  *MIRROR3D
หากต้องการเพิ่มคำสั่งใหม่ ก็เพียงพิมพ์เพิ่มหรือแทรกเข้าไปครับ
ควรจะเรียงตามตัวอักษรนะครับจะได้หาได้ง่ายๆเวลาแก้ไข
เช่นผมต้องการเพิ่มคำสั่งย่อของ Pagesetup ให้เป็น PG ก็จะพิมพ์แทรกลงไปแบบนี้ครับ

PARTIALOPEN, *-PARTIALOPEN
PE,        *PEDIT
PG,        *PAGESETUP
PL,        *PLINE
PO,        *POINT

เมื่อได้ทำการปรับปรุงแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว Save เป็น acad.pgp


การที่จะเปิดใช้งานโดยที่ไม่ต้องออกจากโปรแกรม ต้องใช้คำสั่ง Reinit  แล้วเลือกไปที่ PGP ครับ
เท่านี้ก็ใช้คำสั่งย่อได้แล้วครับ ลองปรับกันให้เหมาะสมครับ

แล้วก็ได้เจอวิธีที่คิดว่าน่าจะใช้งานได้ง่ายกว่าครับ คือการใช้คำสั่ง ALIASEDIT เพื่อเปิด Application เพื่อปรับแก้ไขคำสั่งย่อทั้งหลาย พิมพ์คำสั่งที่ Commandline ได้เลย
Command : ALIASEDIT
Initializing...
แล้วโปรแกรมจะขึ้น DialogBox acad.pgp - AutoCAD Alias Editor นี้ให้ปรับแก้ไขได้ง่ายขึ้น


 จะปรับเปลี่ยนคำสั่งไหนก็เพียงเลือก Add , Romove หรือ Edit เท่านั้น แล้วก็ OK ครับ ง่ายจริงๆ


คำสั่ง AutoLISP เพื่อใช้เขียนเสา

ผมเคยเขียนคำสั่งเพื่อใช้ช่วยในการเขียนแปลนเสาแบบง่ายๆ
โดยเริ่มแรกผมเริ่มจากการเขียนเสาสี่เหลี่ยมโดยการให้ป้อนค่า แล้วก็เพิ่มเติมไปทีละนิด โดยลองผิดถูกไปเรื่อยๆ  เป็นคำสั่งแบบง่ายๆที่ไม่ได้มีอะไรมาก แล้วก็เพิ่มเสาแบบต่างๆเข้าไป

จนสุดท้ายได้ไปเจอที่มีคนอื่นได้เขียนเป็น Dialog box ไว้เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น



ดูแล้วมันน่าสนใจมากๆ ก็เลยไปลองหาหนังสือมาอ่านดู หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตบาง ลองทำแล้วก็ปรับแต่งไปบางส่วนจนทำให้มันใช้ได้ ลองโหลดไปใช้ดูนะครับ ไม่ดียังไงก็เข้าไปปรับปรุงดูให้ดียิ่งขึ้นก็ได้ เพราะผมไม่ได้ Protect Lisp ไฟล์นี้ อยากให้ลองศึกษาการเขียน DCL เหมือนที่ผมเคยมึนๆงงๆกับมันมาแล้ว แต่ก็พอใช้ได้ครับ กดโหลด ที่นี้ครับ

ลองทำดูกับแบบอพาร์เมนต์

ได้มีโอกาสได้ออกแบบอาคารเล็กๆ อาคารหนึ่งอยู่ในขั้นตอนนำเสนองานครับ เป็นเพียงแบบร่างอาคารเล็กๆเท่านั้น ไม่ได้ทำงานคิดมานานก็เลยไม่ค่อยชิน เหมือนจะไม่ค่อยไหลเท่าไหร่เลย อันนี้รูปจาก Sketchup ครับ ลองทำดู

ISOMETRIC Drawing setting

จากที่ได้เกริ่นไว้ วันนี้จะมาบอกการตั้งค่าในการขึ้นรูป 3 มิติ ที่เป็นลักษณะ ภาพ ISOMETRIC ครับ
สิ่งแรกที่จะต้องตั้งค่าคือ Snap (ระยะกระโดดของ Cursor) เพื่อทำให้เส้นสายใยหรือ Crosshair ปรับเปลี่ยนแกนจากแนวระนาบมาตรฐานที่เป็น 2 มิติ อยู่ในระนาบแกนเยื้องที่กำหนด วิธีการดังนี้ครับ

พิมพ์คำสั่งที่ Command line : Snap
จะขึ้นข้อความถาม Specify snap spacing or [ON/OFF/Aspect/Style/Type] <10.0000>:
ให้เลือกที่ Style (รูปแบบของ snap) โดยพิมพ์ S
จะมีข้อความถามให้เลือกรูปแบบของกริด Enter snap grid style [Standard/Isometric]
ให้เลือกที่ Style (รูปแบบของ grid) โดยพิมพ์ I เพื่อกำหนด styleให้เป็น Isometric
แล้วกำหนดระยะห่างตามแนวแกน Specify vertical spacing <10.0000>:
ให้กำหนดตามความเหมาะสมของชิ้นงานที่จะเขียนครับ
เพียงเท่านี้เองเราก็จะได้แนวแกนที่เป็นมุม Isometric ดังภาพข้างล่างนี้ครับ


แล้วก็เริ่มเขียนภาพไอโซเมตริกกันได้ครับ

คลังบทความของบล็อก