Blockreplace - Redefine Block การแทนที่ Block ใหม่

       Block Replace - Redefine Block

เดิมทีการ Insert  Block ใหม่เพื่อมาแทน Block เก่า ทำได้โดยใช้คำสร้าง Insert ชื่อ Block เก่าแล้วเพิ่มเครื่องหมาย=ต่อท้ายระบุด้วยชื่อของ Block ใหม่ แต่มักจะเกิดปัญหาตามรูปด้านล่าง


วันนี้จึงต้องมาค้นหาคำสั่งใหม่ๆ มาแทนคำสั่งเก่า เพื่ออารมณ์ในการทำงานได้ดีขึ้น

จึงได้คำสั่งนี้มาครับ   BLOCKREPLACE


พิมพ์ Blockreplace จะขึ้น dialog box นี้มาให้เลือก Block เดิมที่ต้องการจะเปลี่ยน พอกด OK แล้วปั๊บ


จะขึ้น Dialog box นี้มาให้เลือก Block ที่ต้องการจะเปลี่ยนแทนที่ Blockเดิมครับ พอกดโอเครปุ๊บ Block เดิมก็เปลี่ยนปั๊บเป็นอันใหม่ตามที่เลือกไว้ครับ

อีกกรณีหนึ่งการแก้ไข Block โดยใช้ Wblock แล้วทำการ Insert เข้ามาใหม่ จะมี Dialog box นี้ขึ้นมาถาม
ให้ Redefine หรือไม่ หากต้องการเปลี่ยนก็กดที่ Redefine ครับ



จากที่ไม่ค่อยได้ใช้คำสั่งใหม่ๆ วันนี้ได้น้องมาบอกคำสั่งใหม่ๆบ้างกัน


กับคำสั่ง XR (Xref)
วันนี้ลุงธีลองใส่ชื่อดูแต่ Path มันยาวมาก Block ก็เลยไม่เปลี่ยนให้
อีกอย่างคือมันเป็น Xref ได้หนูนาบอกใช้คำสั่ง XR ซิพี่
ลองดู อืม... อืม...อืม เป็น Xref ลุง๊ลืมใช้ไปได้ไงนี่



บอกไว้เผื่อคนยุคเก่าๆได้ปรับเปลี่ยนมาใช้กันนะครับ






ตามหา AutoCAD Classic


AutoCAD Classic




 วันก่อนลูกน้องถามหา และแล้ววันนี้เพื่อนเราก็มาถามหา AutoCAD Classic อีก คงเพราะความคุ้นชินกับหน้าตาเดิมที่สามารถหาปุ่มคำสั่งได้โดยสะดวก ผู้คนจึงมักจะตามหาสิ่งที่ตนมีความคุ้นกับการใช้งาน
ตามหากันจัง แบบนี้ก็จัดให้

โดยปกติลุงธีจะนำแนะให้ตั้งค่าเพียงไม่กี่ตัว เพื่อดึงเอาหน้าตาหรือ Interface เก่าๆออกมา โดยไม่ต้องไปยุ่งกับคำสั่ง CUI (Custom User Interface) เพราะตั้งได้มากและซับซ้อนกว่า เอาแบบง่ายๆกันดีกว่า

แนะนำแนวทางการตั้งค่า
1.Startmode ให้เป็น 0
2. ปิด Tool tip 
3. ปิด Display file tap
4. ribbonclose
5.Show menu bar ให้ค่าเป็น 1
6.เพิ่มคำสั่ง toolbar โดยพิมพ์ -toolbar พิมพ์ Standard แล้วให้โชว์
7.Toolbar อื่นๆให้คลิ๊กขวา เลือกเพิ่มเอา
8.แล้วไปที่รูปข้างบน เลือกที่ Save Current As...
9.ให้ Save ในชื่อ Classic workspace
10.ลองปิดไฟล์และเปิดไฟล์ใหม่


หรือเอาที่ง่ายกว่า โดยการใช้คำสั่ง SCRIPT แล้วให้รันไฟล์ที่เขียนเป็นสคลิปใช้งาน

โหลดที่ไฟล์นี้   MakeAcadClassic
แล้วใช้คำสั่ง SCRIPT เลือกไฟล์
แล้วสคลิปจะทำทุกอย่างให้ครับ



ขอให้โชคดีนะครับ






การแก้ไขเส้นให้อยู่ในระดับเดียวกัน Flatten



Flatten


    น้องนา มาถามว่าพี่ทำไมเส้นมัน Joint ไม่ได้,ใช้ Fillet ไม่ได้ จะตัดเส้นยือเส้นไม่ได้ ใช้ Hatch ไม่ได้ วัดระยะวัดมุมแล้วเพี้ยน ระยะไม่ตรง ใช้ Osnap จับจุดไม่ได้ 

      หากเกิดปัญหาแบบนี้ ลุงธีให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นเพราะเส้นไม่ได้อยู่ในระดับที่เท่ากัน ให้เข้าใจง่ายๆคือแกน Z มันไม่ได้อยู่ที่ระดับเท่ากัน จะเป็นระดับ 0 หรือระดับเท่าไหร่หากไม่เท่ากัน ทำยังไงมันก็ไม่ชนกันได้ จึงใช้คำสั่งต่างๆที่ว่ามาข้างต้นไม่ได้ 

เราสามารถตรวจสอบได้โดยใช้ Viewport มุมมองด้านตั้ง เช่นด้านหน้า Front side view , East side view เป็นต้น เพื่อดูว่าวัตถุ หรือเส้นไหน อยู่ในระดับที่ต่างไปบ้าง 

ใน AutoCAD มีคำสั่ง Flatten สามารถช่วยได้ แต่ใน AutoCAD LT ไม่สามารถใช้งานได้เพราะถูกตัดคำสั่งช่วยนี้ออกไป 

สามารถใช้คำสั่ง Qselect เพื่อเลือกวัตถุทั้งหมด หรือ Select All แล้วใช้คำสั่ง Flatten จบด้วย Enter

จุดหนึ่งที่ต้องสังเกตุหรือตรวจสอบการตั้งค่า คือ การแทนที่ค่า Z ที่ระดับปัจจุบัน
ให้ไปที่ Options โดยพิมพ์ที่ Command line หรือเลือกที่ menu bar เข้าไปที่แท็บ Drafting Tab
ที่ Object snap options ให้ Checkbox ที่ Replace Z value with current elevation



ในส่วนของ AutoCAD LT หากต้องการปรับแก้ไข

ให้ใช้ Qselect เลือกทั้งหมด แล้วปรับค่าทั้งหมดใน Properties โดยค่าที่ปรับคือ Start Z และ End Z 
ให้เท่ากับ 0 ทั้งหมด หากระดับที่ต่างอยู่ใน Block ก็ต้องเข้าไปแก้ไขใน Block หรือระเบิดเสียตูมๆไปซะ
ก่อน แล้วทำการ Change Properties 

หากจะใช้คำสั่งจากแป้นพิมพ์ (เป็นคนยุคเก่าแบบลุงธี) ให้ใช้คำสั่งที่ Command line ตามนี้

พิมพ์คำสั่ง CHANGE
พิมพ์ ALL เพื่อเลือกวัตถุทั้งหมดแล้วกด Enter
พิมพ์ P สำหรับเลือกปรับคุณสมบัติ
พิมพ์ E สำหรับเลือกปรับระดับความสูง

พิมพ์ 0 จากนั้นป้อนคำสั่งสุดท้ายเพื่อสิ้นสุดคำสั่ง Enter

Chprop 

สำหรับ AutoLISP

(command "_change""_all""""p""e""0""")

สำหรับเปลี่ยนค่าระดับเป็น 0

(command "_move""_all""""""0,0,1e99""_move""_all""""""0,0,-1e99") 

สำหรับเปลี่ยนวัตถุ ทุกๆความสูง ให้ค่าระดับเป็น 0



สามารถสร้างปุ่มคำสั่งเพิ่มใน CUI โดยใช้คำสั่งตามนี้


^C^C_UCS;;_select;\_move;_p;;0,0,1e99;;_move;_p;;0,0,-1e99;;
หรือ
^C^C_UCS;;_move;_all;;0,0,1e99;;_move;_all;;0,0,-1e99;;
ซึ่งการสร้างปุ่มคำสั่งใน CUI นั้น AutoCADA LT สามารถทำได้ครับ




คลังบทความของบล็อก