ทำแผ่นป้าย Attribute ให้เปลี่ยนตามชื่อของ Tab layout

การเพิ่ม Field ของแผ่นป้าย Attribute

            ได้ไปเจอไฟล์ Title จากที่อื่นมา น้องหนูนา ถามว่าทำยังไง อยากได้ Title Heading แบบนี้บ้าง ลุงธีดูว่ามีประโยชน์ดี สะดวกมักกับงานดี จึงค้นหาวิธีดูจากที่อื่นๆ จนลองทำดู ลองผิดลองถูกอยู่หลายรอบ ปรับไปปรับมาสุดท้ายก็ทำออกมาใช้งานได้ดี จึงนำมาบอกต่อกันครับ

- หลักการใช้งาน คือการสร้างแผ่นป้าย Attribute แล้วใช้ Field กำหนดให้มีฟังก์ชั่นปรับแก้ไขตามค่าระบบตัวแปรในโปรแกรม AutoCAD

วิธีการสร้าง


ใช้คำสั่งสร้างแผ่นป้าย Attribute คำสั่งย่อ ATT  แล้วเลือกปุ่ม Insert Field ตามกรอบสีแดงครับ


สังเกตุที่ Field Category เลือก All อยู่ ให้เลือก Name Field ไปที่ ค่าตัวแปรระบบ SystemVariable
ที่ช่องกลางเลือกไปที่ ctab  ส่วนที่ Format ใช้ Upper Case น่าจะดีกว่าตัวอื่น 




ในช่องของ Field expression: จะขึ้นเป็นค่า %<\AcVar ctab \f "%tc1">% 

เสร็จแล้วคลิ๊กที่ปุ่ม OK ก็จะได้แผ่นป้ายที่ปรับเปลี่ยนตามชื่อของ Tab Layout แล้วครับ



รูปตัวอย่างแผ่นป้าย จะขึ้นคำว่า Model เนื่องจากถูกสร้างขึ้นใน Model Space 
ต้องลอง Save File แล้วใช้คำสั่ง Insert กรอบ Title ที่สร้างแผ่นป้ายใหม่นี้เข้ามาใช้งาน แล้วลองเปลี่ยนชื่อ Tab Layout ดูครับ เมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วอย่าลืมใช้คำสั่ง Regen ด้วยนะครับ



TIP Command FIELD
คำสั่ง FIELD สามารถนำมาใช้ช่วยในการหาพื้นที่ได้ 
สะดวกในการปรับแก้ไขแล้วให้คำนวณหาพื้นที่ตามเส้นที่ปรับแก้ไข

 ตัวอย่าง Command : Mtext แล้วพิมพ์ข้อความ Area = แล้วคลิ๊กปุ่มขวาที่เม้าส์ 
เลือก Insert Field ... (Ctrl+F) แล้วเลือก Field Name ที่ Object 
แล้วเลือกไปที่วัตถุ ( เส้น Pline ที่ต้องการหาพื้นที่ )
เลือกรูปแบบของตัวเลขที่ตัวการแสดง Format : 
และจุดทศนิยม Precision : แล้วก็ OK ครับ



จากนี้ลองปรับจุดของเส้น โดยการ Drag ^ Drop ลากเปลี่ยนตำแหน่งดู ค่าพื้นที่ก็จะเปลี่ยนตามครับ

ขอให้โชคดีนะครับ


Blockreplace - Redefine Block การแทนที่ Block ใหม่

       Block Replace - Redefine Block

เดิมทีการ Insert  Block ใหม่เพื่อมาแทน Block เก่า ทำได้โดยใช้คำสร้าง Insert ชื่อ Block เก่าแล้วเพิ่มเครื่องหมาย=ต่อท้ายระบุด้วยชื่อของ Block ใหม่ แต่มักจะเกิดปัญหาตามรูปด้านล่าง


วันนี้จึงต้องมาค้นหาคำสั่งใหม่ๆ มาแทนคำสั่งเก่า เพื่ออารมณ์ในการทำงานได้ดีขึ้น

จึงได้คำสั่งนี้มาครับ   BLOCKREPLACE


พิมพ์ Blockreplace จะขึ้น dialog box นี้มาให้เลือก Block เดิมที่ต้องการจะเปลี่ยน พอกด OK แล้วปั๊บ


จะขึ้น Dialog box นี้มาให้เลือก Block ที่ต้องการจะเปลี่ยนแทนที่ Blockเดิมครับ พอกดโอเครปุ๊บ Block เดิมก็เปลี่ยนปั๊บเป็นอันใหม่ตามที่เลือกไว้ครับ

อีกกรณีหนึ่งการแก้ไข Block โดยใช้ Wblock แล้วทำการ Insert เข้ามาใหม่ จะมี Dialog box นี้ขึ้นมาถาม
ให้ Redefine หรือไม่ หากต้องการเปลี่ยนก็กดที่ Redefine ครับ



จากที่ไม่ค่อยได้ใช้คำสั่งใหม่ๆ วันนี้ได้น้องมาบอกคำสั่งใหม่ๆบ้างกัน


กับคำสั่ง XR (Xref)
วันนี้ลุงธีลองใส่ชื่อดูแต่ Path มันยาวมาก Block ก็เลยไม่เปลี่ยนให้
อีกอย่างคือมันเป็น Xref ได้หนูนาบอกใช้คำสั่ง XR ซิพี่
ลองดู อืม... อืม...อืม เป็น Xref ลุง๊ลืมใช้ไปได้ไงนี่



บอกไว้เผื่อคนยุคเก่าๆได้ปรับเปลี่ยนมาใช้กันนะครับ






ตามหา AutoCAD Classic


AutoCAD Classic




 วันก่อนลูกน้องถามหา และแล้ววันนี้เพื่อนเราก็มาถามหา AutoCAD Classic อีก คงเพราะความคุ้นชินกับหน้าตาเดิมที่สามารถหาปุ่มคำสั่งได้โดยสะดวก ผู้คนจึงมักจะตามหาสิ่งที่ตนมีความคุ้นกับการใช้งาน
ตามหากันจัง แบบนี้ก็จัดให้

โดยปกติลุงธีจะนำแนะให้ตั้งค่าเพียงไม่กี่ตัว เพื่อดึงเอาหน้าตาหรือ Interface เก่าๆออกมา โดยไม่ต้องไปยุ่งกับคำสั่ง CUI (Custom User Interface) เพราะตั้งได้มากและซับซ้อนกว่า เอาแบบง่ายๆกันดีกว่า

แนะนำแนวทางการตั้งค่า
1.Startmode ให้เป็น 0
2. ปิด Tool tip 
3. ปิด Display file tap
4. ribbonclose
5.Show menu bar ให้ค่าเป็น 1
6.เพิ่มคำสั่ง toolbar โดยพิมพ์ -toolbar พิมพ์ Standard แล้วให้โชว์
7.Toolbar อื่นๆให้คลิ๊กขวา เลือกเพิ่มเอา
8.แล้วไปที่รูปข้างบน เลือกที่ Save Current As...
9.ให้ Save ในชื่อ Classic workspace
10.ลองปิดไฟล์และเปิดไฟล์ใหม่


หรือเอาที่ง่ายกว่า โดยการใช้คำสั่ง SCRIPT แล้วให้รันไฟล์ที่เขียนเป็นสคลิปใช้งาน

โหลดที่ไฟล์นี้   MakeAcadClassic
แล้วใช้คำสั่ง SCRIPT เลือกไฟล์
แล้วสคลิปจะทำทุกอย่างให้ครับ



ขอให้โชคดีนะครับ






การแก้ไขเส้นให้อยู่ในระดับเดียวกัน Flatten



Flatten


    น้องนา มาถามว่าพี่ทำไมเส้นมัน Joint ไม่ได้,ใช้ Fillet ไม่ได้ จะตัดเส้นยือเส้นไม่ได้ ใช้ Hatch ไม่ได้ วัดระยะวัดมุมแล้วเพี้ยน ระยะไม่ตรง ใช้ Osnap จับจุดไม่ได้ 

      หากเกิดปัญหาแบบนี้ ลุงธีให้สันนิษฐานได้ว่าเป็นเพราะเส้นไม่ได้อยู่ในระดับที่เท่ากัน ให้เข้าใจง่ายๆคือแกน Z มันไม่ได้อยู่ที่ระดับเท่ากัน จะเป็นระดับ 0 หรือระดับเท่าไหร่หากไม่เท่ากัน ทำยังไงมันก็ไม่ชนกันได้ จึงใช้คำสั่งต่างๆที่ว่ามาข้างต้นไม่ได้ 

เราสามารถตรวจสอบได้โดยใช้ Viewport มุมมองด้านตั้ง เช่นด้านหน้า Front side view , East side view เป็นต้น เพื่อดูว่าวัตถุ หรือเส้นไหน อยู่ในระดับที่ต่างไปบ้าง 

ใน AutoCAD มีคำสั่ง Flatten สามารถช่วยได้ แต่ใน AutoCAD LT ไม่สามารถใช้งานได้เพราะถูกตัดคำสั่งช่วยนี้ออกไป 

สามารถใช้คำสั่ง Qselect เพื่อเลือกวัตถุทั้งหมด หรือ Select All แล้วใช้คำสั่ง Flatten จบด้วย Enter

จุดหนึ่งที่ต้องสังเกตุหรือตรวจสอบการตั้งค่า คือ การแทนที่ค่า Z ที่ระดับปัจจุบัน
ให้ไปที่ Options โดยพิมพ์ที่ Command line หรือเลือกที่ menu bar เข้าไปที่แท็บ Drafting Tab
ที่ Object snap options ให้ Checkbox ที่ Replace Z value with current elevation



ในส่วนของ AutoCAD LT หากต้องการปรับแก้ไข

ให้ใช้ Qselect เลือกทั้งหมด แล้วปรับค่าทั้งหมดใน Properties โดยค่าที่ปรับคือ Start Z และ End Z 
ให้เท่ากับ 0 ทั้งหมด หากระดับที่ต่างอยู่ใน Block ก็ต้องเข้าไปแก้ไขใน Block หรือระเบิดเสียตูมๆไปซะ
ก่อน แล้วทำการ Change Properties 

หากจะใช้คำสั่งจากแป้นพิมพ์ (เป็นคนยุคเก่าแบบลุงธี) ให้ใช้คำสั่งที่ Command line ตามนี้

พิมพ์คำสั่ง CHANGE
พิมพ์ ALL เพื่อเลือกวัตถุทั้งหมดแล้วกด Enter
พิมพ์ P สำหรับเลือกปรับคุณสมบัติ
พิมพ์ E สำหรับเลือกปรับระดับความสูง

พิมพ์ 0 จากนั้นป้อนคำสั่งสุดท้ายเพื่อสิ้นสุดคำสั่ง Enter

Chprop 

สำหรับ AutoLISP

(command "_change""_all""""p""e""0""")

สำหรับเปลี่ยนค่าระดับเป็น 0

(command "_move""_all""""""0,0,1e99""_move""_all""""""0,0,-1e99") 

สำหรับเปลี่ยนวัตถุ ทุกๆความสูง ให้ค่าระดับเป็น 0



สามารถสร้างปุ่มคำสั่งเพิ่มใน CUI โดยใช้คำสั่งตามนี้


^C^C_UCS;;_select;\_move;_p;;0,0,1e99;;_move;_p;;0,0,-1e99;;
หรือ
^C^C_UCS;;_move;_all;;0,0,1e99;;_move;_all;;0,0,-1e99;;
ซึ่งการสร้างปุ่มคำสั่งใน CUI นั้น AutoCADA LT สามารถทำได้ครับ




การใช้ระบบพิกัด Relative ในการกำหนดจุด

@ relative   - ระบบพิกัด

การใช้ค่าตัวเลขบางครั้งใส่ค่าแล้วไม่ได้ตามที่ต้องการ
เช่นการเขียนรูปสี่เหลี่ยมโดยกำหนดค่าหน่วยเป็น 10x10
เมื่อเขียนแล้วไม่ได้ เนื่องจากการใส่ค่า 10,10 กลายเป็นค่าพิกัดไป
การปรับแก้ไขคือก่อนใส่ค่า 10,10 ให้พิมพ์ @ นำหน้าก่อน

โดยพิมพ์ @10,10
เป็นการกำหนดค่าให้เป็นแบบ Relative โดยจะกำหนดให้จุดสุดท้ายแทนค่าด้วยพิกัด 0,0 เสมอ

การขึ้นรูปก็จะง่ายขึ้นครับ

เป็น Trip การใช้แบบโบราณๆแต่ใช้ง่ายสะดวกดีครับ

ขออธิบายระบบพิกัดของการใช้โปรแกรมกันนิดนึงครับ โดยโปรแกรมมีการแบ่งระบบพิกัดเป็น 4 แบบ

1.ระบบพิกัดสมบูรณ์ Absolute Coordinate เป็นระบบพิกัดที่วัดจากจุดเริ่มต้น Origin
   ที่จุดตัดจากแกน X=0,Y=0 การให้ค่าจะยึดถือจากจุดตัด 0,0 ของแกน X,Y เป็นหลัก


 ภาพจาก : เอกสารเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์  

2. ระบบพิกัดสัมพัทธ์ Relative Coordinate เป็นการป้อนค่าในแนวแกน X,Y โดยให้จุดสุดท้ายมีค่าเป็นจุด Origin หรือ 0,0 โดยมีเครื่องหมาย @ นำหน้า

ภาพจาก : เอกสารเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์  

3.ระบบพิกัดสัมพัทธ์เชิงมุม Relative Polar เป็นการป้อนค่าระยะและมุม จากจุดสุดท้ายที่มีค่าเป็นจุด Origin หรือ 0,0 รูปแบบคือ  @ระยะ<มุม

หากมุมทวนเข็มให้ใช้ค่าลบ เช่น @2<-45 nbsp="" p="">

ภาพจาก : เอกสารเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์  

4.ระบบค่าพิกัดทาง Dynamic Input โดยจะเหมือนกับ Relative Coordinate และ Relative Polar โดยไม่ต้องพิมพ์ @ สามารถพิมพ์ตัวเลขได้เลย



ลุงธีว่า อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานนะครับ









Saveall , Closeall Command

SAVEALL & CLOSEALL

เคยใช้คำสั่ง Closeall กันบ้างไหม ในเวลาที่เปิดใช้งานหลายๆไฟล์ ใช้คำสั่ง Close
หรือคลิ๊กที่ปุ่มกากบาท เพื่อปิดไฟล์ หากไฟล์งานมีมากกว่า 5 หรือจาก 10 ถึง 20
การปิดทีละไฟล์ ก็จะใช้เวลา ใช้คำสั่ง closeall เพื่อปิดไฟล์ทั้งหมดก็จะง่ายกว่า

พิมพ์คำสั่งที่ command Line ได้เลยครับ
Saveall ควรใช้ก่อน Closeall ครับ


ใช้ AutoCAD ต้องรู้จัก Isolate

Isolate/UnIsolate

มีคำถามเรื่องการใช้คำสั่งมา เรื่องการปิดเลเยอร์  ใช้ AutoCAD ต้องรู้จักใช้ Isolate

การใช้โปรแกรมเพื่อเขียนแบบอย่าง AutoCAD บางครั้งต้องมีต้องช่วยในการทำงาน เพื่อให้ได้งานที่รวดเร็วขึ้น หนึ่งอย่างที่จะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น คือการเปิด-ปิด ล็อคเลเยอร์ layer control การควบคุมเลเยอร์ให้ได้มีประสิทธิภาพ สะดวกในการปรับเปลี่ยนแก้ไขงาน คำสั่งนี้จึงมาครับ น่าจะมีมากตั้งแต่ Version 2008 นะครับคำสั่งนี้

Command : Isolate & UnIsolate

ลักษณะการทำงานของคำสั่ง Isolate นี้ก็ง่ายๆคือเลือกเลเยอร์ที่ต้องการแล้วสั่งล็อคเลเยอร์อื่นทั้งหมด ส่วนคำสั่ง UnIsolate เป็นการดึงกลับมาหรือปลดล็อคเลเยอร์ทั้งหมด ง่ายๆดี


Isolate



UnIsolate

จากรูปแสดงตำแหน่งคำสั่งที่ Ribbon แต่ใน Toolbar ก็จะมีอยู่ใน Layer2 และสามารถใช้คำสั่งจาก Command line ได้ :

Command: ISOLATE
ISOLATEOBJECTS
Select objects: แล้วเลือกเลเยอร์ที่ต้องการใช้งาน ส่วนเลเยอร์อื่นล็อค ตามด้วย Enter







โดยส่วนตัวของลุงธีเอง ผมมักใช้คำสั่งที่เขียนเองจาก AutoLisp มากกว่า เพราะเข้าใจง่ายใช้ง่ายการประมวลผลที่ไวกว่าและเข้าใจได้ง่ายกว่า และใช้มานานมากกกก ก่อน Isolate จะมีออกมาใช้ 555




AutoCAD File Tab หายไม่แสดง

AutoCAD: To display or not to display the File Tabs


ใช้งานนานจนกดอะไรก็จำไม่ได้ อยู่ๆ File Tab ก็อันตธานหายไป ทำไงดี เลือกเปลี่ยนไฟล์ได้ลำบาก ไม่คุ้นเคย หาวิธี หาคำสั่งให้แสดงออกมาดังเดิมดีกว่า 

โดยปกติ File Tab จะขึ้นอยู่ที่ส่วนบนของพื้นที่หน้าจอ 

จากคำสั่งใน Command line หนึ่งในสองคำสั่ง FILETABCLOSE หรือ FILETAB ที่สามารถเปิดและปิด FileTab นี้ 

จำได้ว่าเคยเขียนไว้ที่นี่นะ  https://dwgcad.blogspot.com/2012/08/blog-post_28.html  คราวนี้มาเพิ่มเติมรายละเอียดนิดนึง

และจากคำสั่งที่ Command Line แล้วใน Ribbon จะมีปุ่ม Tab File พร้อมใช้งานซึ่งเปิดหรือปิดตัวเลือก ปุ่มนี้อยู่ในแท็บ Ribbon - View จากนั้นภายในแผง User Interface ไอคอนที่สองคือปุ่มสำหรับ File Tab




เมื่อปุ่มเป็นสีน้ำเงินแท็บไฟล์จะปรากฏขึ้นเมื่อแท็บไฟล์เป็นสีเทาแท็บไฟล์จะไม่ปรากฏขึ้น




File tabs provide an easy way for you to access all the open drawings in the application. The file tab usually displays the full name of the file. Click the plus sign (+) on the right end of the file tabs bar will open a new drawing based on the specified template file used byt he QNEW command.
Note: If there is no specified template, clicking the plus sign (+) will open a new drawing based on the last used template.
Drag a drawing from Windows Explorer into any part of the file tab bar to open it.
Use Ctrl+TAB to navigate through the file tabs.

You can right-click on the file tabs or the file tab bar to access the shortcut menus that offer you options to open, close or save drawings.
















TIP Command Line



Command Line


บรรทัดคำสั่ง Command line ในโปรแกรม AutoCAD สามารถช่วยในการทำงานอะไรได้บ้าง
การกำหนดขนาดของ Command Line โดยการใช้เม้าส์คลิ๊กที่มุมหรือกรอบแล้วลากปรับขนาด ให้ใหญ่เล็กตามที่ต้องการ
โดยปกติแล้วสองบรรทัดจะปรากฏเหนือบรรทัดคำสั่งซึ่งแสดงคำสั่งที่ป้อนเมื่อเร็ว ๆ นี้คุณสามารถขยายหรือยุบขนาดเพื่อแสดงจำนวนบรรทัดมากขึ้นหรือน้อยลงในประวัติคำสั่ง

หรือย้ายตำแหน่งเข้า-ออก จากตำแหน่งด้านล่างหรือด้านบนของหน้าโปรแกรมได้ โดยการคลิ๊กที่แท็บ(บริเวณกรอบสีแดง)แล้วลาก




(Command Line ที่ด้านบน)

เกริ่นกันไปเยอะล่ะ ทีนี้มาดู เคล็ดลับบรรทัดคำสั่ง AutoCAD ที่เป็นประโยชน์หกประการกัน

การซ่อนและนำบรรทัดคำสั่งกลับมา:
บางครั้งผู้ใช้ปิดบรรทัดคำสั่งโดยไม่ตั้งใจและมันก็น่ารำคาญที่จะไม่พบตัวเลือกในการนำมันกลับมา คุณสามารถใช้คีย์ผสม CTRL + 9 เพื่อสลับการมองเห็นของบรรทัดคำสั่ง

การดูที่ประวัติคำสั่ง:
เมื่อกดปุ่ม F2 จะมีป๊อปอัปปรากฏขึ้นเหนือบรรทัดคำสั่งพร้อมด้วยรายการคำสั่งและอินพุตที่ใช้ล่าสุดทั้งหมด ในการแทรกคำสั่งจากรายการนี้ให้ไฮไลต์แล้วคลิกขวาที่เมนูตามบริบทจะปรากฏขึ้นเลือกวางไปที่บรรทัดคำสั่งจากเมนูนี้และยังสามารถใช้ปุ่มลูกศรขึ้นและลงเพื่อสลับคำสั่งที่ใช้ก่อนหน้านี้เมื่อคำสั่งที่ต้องการปรากฏบนบรรทัดคำสั่งกด Enter เพื่อเลือก


การเปิด / ปิดคำสั่งกรอกข้อมูลอัตโนมัติ:
เริ่มจาก AutoCAD 2012 มีการเพิ่มคุณสมบัติการเติมข้อความอัตโนมัติลงใน AutoCAD เมื่อคุณพิมพ์คำสั่งคุณจะเห็นรายการคำสั่งที่แนะนำเริ่มต้นด้วยตัวอักษรในขณะที่คุณพิมพ์และรายการนี้จะยิ่งเฉพาะเจาะจงมากขึ้นเมื่อคุณป้อนตัวอักษรเพิ่มเติมในบรรทัดคำสั่ง
คุณลักษณะนี้ยอดเยี่ยมสำหรับการค้นหาคำสั่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าคุณพบว่าน่ารำคาญคุณสามารถปิดได้

สำหรับการปิดการปิดอัตโนมัติชนิด INPUTSEARCHOPTIONS บนบรรทัดคำสั่งและยกเลิกการเลือกปุ่มตัวเลือกในแผงเติมข้อความอัตโนมัติดังที่แสดงในภาพด้านล่าง

การค้นหาและใช้วัตถุที่มีชื่อ:
คุณสามารถใช้บรรทัดคำสั่งเพื่อค้นหาวัตถุที่มีชื่อเช่นบล็อกเลเยอร์สไตล์มิติ ฯลฯ ได้โดยตรงโดยไม่ต้องค้นหาในสถานที่นั้น ๆ

สมมติว่าเรามีรูปวาดที่มีเลเยอร์ชื่อว่า FENCE และบล็อกชื่อ FENCE ดังนั้นหากคุณพิมพ์ FENCE ในบรรทัดคำสั่งคุณจะเห็นว่า AutoCAD จะแนะนำสองตัวเลือกสำหรับบล็อกและเลเยอร์ FENCE



การเลือกวัตถุที่มีชื่อจากบรรทัดคำสั่งจะทำให้มันเป็นวัตถุปัจจุบันสำหรับการวาดภาพ ตัวอย่างเช่นในการเลือกเลเยอร์ FENCE จากตัวเลือกเหล่านี้มันจะกลายเป็นเลเยอร์ปัจจุบัน

หากคุณต้องการปิดคุณสมบัติการค้นหานี้ให้ยกเลิกการเลือกปุ่มตัวเลือก "ค้นหาเนื้อหาที่บรรทัดคำสั่ง" จากหน้าต่างตัวเลือกการค้นหาตามที่ระบุไว้ในคำแนะนำด้านบน

การแก้ไขข้อผิดพลาดการสะกดคำอัตโนมัติในคำสั่ง:
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สะกดคำผิดบ่อยๆคำสั่งคุณสมบัตินี้เหมาะสำหรับคุณ

ไปที่แผงการปรับแต่งของแท็บจัดการและเลือกรายการแก้ไขอัตโนมัติจากเมนูแบบเลื่อนลงแก้ไขชื่อแทนของแผงการปรับแต่ง ไฟล์ PGP จะเปิดขึ้นพร้อมแผ่นจดบันทึกและคุณสามารถป้อนการสะกดผิดของคุณเองได้

ตัวอย่างเช่นสมมติว่าคุณสะกดคำผิดบ่อยครั้งในการพิมพ์ LAYER เป็น LEAR จากนั้นคุณสามารถป้อนการสะกดคำผิดในไฟล์ PGP เพื่อให้แม้ว่าคุณป้อนการสะกดผิดจะเป็นการสะกดที่ถูกต้อง

ควรป้อนการสะกดที่ไม่ถูกต้องก่อนตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคจากนั้นการสะกดที่ถูกต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมายดอกจันนี่คือตัวอย่าง LEAR, * LAYER

ที่นี่การสะกดคำครั้งแรกไม่ถูกต้องและครั้งที่สองถูกต้อง เมื่อคุณป้อนคำสะกดผิดให้บันทึกไฟล์ PGP แล้วออกจากโปรแกรม คุณอาจต้องรีสตาร์ทเซสชันของ AutoCAD หลังจากใช้การตั้งค่าเหล่านี้


เคล็ดลับข้อใดที่คุณพบว่ามีประโยชน์มากที่สุด แจ้งให้เราทราบในความคิดเห็นด้านล่างก็จะดีมากครับ




คลังบทความของบล็อก