การปรับแต่ง Function Key ใน AutoCAD

       Function Key บนแป้นคีย์บอร์ดที่เราๆใช้งานกันอยู่ เป็นปุ่มพิเศษที่ถูกจัดเรียงไว้ในแถวบนสุดของคีย์บอร์ดปุ่มเหล่านั้นจะมีตัวอักษร F ขึ้นต้นตามด้วยหมายเลข ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้คำสั่งพิเศษต่างๆ โดยถูกกำหนดหน้าที่ต่างๆตามที่โปรแกรมต่างๆกำหนดเอาไว้

อย่างเช่น
ปุ่ม F1 ในทุกโปรแกรมมักจะตั้งให้เป็น Help ? เพื่อช่วยเหลือบอกวิธีการใช้งานโปรแกรม
     F2 มักจะถูกตั้งให้เป็น List ของคำสั่งที่ได้ใช้ไปแล้ว
     F3 ใน Dos จะถูกตั้งให้เป็น Repeat command หรือ Copy



หรืออย่างใน Microsoft Word ได้กำหนดค่าของปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ไว้ดังนี้
F1 - เรียก Help หรือ Office Assistant
F2 - ย้ายข้อความ หรือกราฟิกต่างๆ
F3 - แทรกข้อความอัตโนมัติ (AutoText)
F4 - ทำซ้ำสำหรับแอคชั่นการทำงานล่าสุดของผู้ใช้
F5 - เลือกคำสั่ง Go To (เมนู Edit)
F6 - กระโดดไปยังกรอบหน้าต่างถัดไป
F7 - เลือกคำสั่งตรวจสอบคำสะกด (Spelling ในเมนู Tools)
F8 - ขยายไฮไลต์ของการเลือกข้อความ
F9 - อัพเดตฟิลด์ต่างๆ ที่เลือก
F10 - กระโดดไปเมนูบาร์
F11 - กระโดดไปยังฟิลด์ถัดไป
F12 - เลือกคำสั่ง Save As (เมนู File)
     
อื่นๆอีกมากมายครับ แล้วแต่ว่าเรากำลังใช้โปรแกรมอะไร และโปรแกรมได้กำหนดปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ให้ทำหน้าที่อะไร 

ในโปรแกรม AutoCAD ได้กำหนดปุ่มของฟังก์ชั่นคีย์นี้เช่นกัน

  F1          
Displays Help
  F2
Toggles Text Window
  F3
Toggles OSNAP
  F4
Toggles TABMODE
  F5
Toggles ISOPLANE
  F6
Toggles UCSDETECT
  F7
Toggles GRIDMODE
  F8
Toggles ORTHOMODE
  F9
Toggles SNAPMODE
  F10
Toggles Polar Tracking
  F11
Toggles Object Snap Tracking
  F12
Toggles Dynamic Input

การปรับแก้ไขปุ่มฟังก์ชั่นคีย์นี้ก็ไม่ได้ยากมากมาย โดยสามารถเข้าไปแก้ไขได้เพียงใช้คำสั่ง CUI (Custom User Interface)


 จาก Dialog box เข้าไปที่ Keyboard/Shortcut key

ใน Command list จะมีคำสั่งที่ใช้งานใน AutoCAD อยู่ ยกตัวอย่างดีกว่าครับ
ผมต้องการคำสั่ง Endpoint เพื่อช่วยจับจุดปลายเส้นของ Osnap มาเป็นปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ F2

ขั้นตอนต่อจากที่เปิดใช้คำสั่ง CUI แล้วที่ Command list หาคำสั่ง Endpoint ให้เจอแล้วลากมาวางไว้ใน Keyboard/Shortcut key


ที่ Properties
Access
Key(s) คลิ๊กที่ปุ่ม ...



ใส่ค่าปุ่มฟังก์ชั่น กดที่ปุ่ม F2 แล้ว OK


เสร็จแล้วก็ Apply ครับ




ตอนนี้ปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ F2 ของเราก็กลายเป็น Endpoint ไปแล้วครับ
ส่วนบางคนที่ต้องการ ให้รับค่าของ Osnap Mode หลายๆตัว ก็เพียงเพิ่มค่าเข้าไปครับ
ในช่องของ Macro

เช่น ใส่ค่า _Endp,Int ก็จะได้จุดปลายเส้นกับจุดตัดครับ ง่ายม่ะหล่ะครับ
              '_Zoom _w ก็จะเป็นคำสั่ง Zoom Window



หากจะอ้างอิงถึง เวอร์ชั่นเก่าแล้วยกตัวอย่างง่ายๆเช่นใน R14 จะถูกเก็บค่าไว้ใน ไฟล์ .mnu
ซึ่งจะอยู่ในส่วนของ การปรับแต่งคีย์ตามด้านล่างนี้ครับ


***ACCELERATORS
// Toggle PICKADD
[CONTROL+"K"]$M=$(if,$(and,$(getvar,pickadd),1),'_pickadd 0,'_pickadd 1)
// Toggle Orthomode
[CONTROL+"L"]^O
// Next Viewport
[CONTROL+"R"]^V
// ID_Spell     ["\"F7\""]
// ID_PanRealti ["\"F11\""]
// ID_ZoomRealt ["\"F12\""]
ID_Copyclip  [CONTROL+"C"]
ID_New       [CONTROL+"N"]
ID_Open      [CONTROL+"O"]
ID_Print     [CONTROL+"P"]
ID_Save      [CONTROL+"S"]
ID_Pasteclip [CONTROL+"V"]
ID_Cutclip   [CONTROL+"X"]
ID_Redo      [CONTROL+"Y"]
ID_U         [CONTROL+"Z"]


(ขุดไฟล์เมนูโบราณมาให้ดูกัน) เดี๋ยวนี้คงไม่ได้มาปรับแก้ไขคีย์กันที่ตรงนี้กันแล้วหล่ะครับ

อันนี้ยิ่งโบราณกว่าอีก แต่ก็ผ่านการใช้งานมานานครับเป็นการใช้ AutoLISP เข้ามาช่วยตั้งค่า

(apply
 '(lambda ()
   (textscr)
   (princ "\e[0;60;'ENDP';13p")    ;f2
   (princ "\e[0;61;'INT';13p")     ;f3
   (princ "\e[0;62;'MID';13p")     ;f4
   (princ "\e[0;63;'PER';13p")     ;f5
   (princ "\e[0;64;'CEN,INS';13p") ;f6
   (princ "\e[0;67;'NOD,QUA';13p") ;f9
   (graphscr)
  )
  '()
)


น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนค่าของฟังก์ชั่นคีย์ที่เก่ามากๆครับ เพราะใช้กันตั้งแต่ R9 มาเลยครับ
ยังมีเก่าแต่เก๋ากว่าคือการใช้ Dos รัน Key ที่ตั้งไว้ โดยใช้ผ่าน Acad.bat เพราะเปลี่ยนค่า ASCII ตั้งแต่เปิดโปรแกรมกันเลย แล้วค่อยรันตัวโปรแกรม อันนี้ผมว่าเก๋าสุดๆแล้ว


AutoDESK Gameware

มาดูกันเล่นๆ กับ AutoDESK Gameware
Game Show Reel เกมส์หลากหลายที่ AutoDESK เอามาโชว์กัน

ผมเพียงลองเข้าไปดูใน AutoDESK เจอมาครับ คนชอบเกมส์คงจะชอบกัน




จะว่าไปแต่เดิมผมหัดเล่น 3D อยู่นานตั้งแต่ 3D Studio , 3DS max ถึงขนาดไปเข้าคอร์สเรียนกันเลย แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ เพราะหันไปพึ่งพาน้องๆแทน ถึงเป็นการกระจายรายได้ไปในตัว สบายกว่านิดหน่อย
แต่เกมส์ที่มาจาก AutoDESK น่าดูจริงๆครับ เคยเล่นอยู่บ้างเกมส์ครับ




AutoDESK Showcase 2013 ครับ

Select Mode ใน AutoCAD

Select object :
การเลือกชิ้นวัตถุในโปรแกรม AutoCAD มีรูปแบบอยู่หลายอย่างแต่บางท่านอาจจะใช้ได้เพียงบางอันเท่านั้นเพราะบางอันมันโบราณมากๆ ในคำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขภาพ (Editing Drawing) มักจะต้องเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือชิ้นส่วน (Entity) ที่ต้องการแก้ไขเสมอครับ ไม่งั้นจะแก้ได้ไงใช่ไหมครับ ซึ่งการใช้คำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไข จะมีข้อความที่ Command line ให้ Select objects : และเคอร์เซอร์ก็จะเปลี่ยนเป็นกรอบสี่เหลี่ยม (Pickbox) เป็นเครื่องมือในการเลือกครับ

ค่าที่ครอบคลุมทุกคำสั่ง ที่เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ เมื่อ Command line มีข้อความ Select object :
-Window (W) ลักษณะการใช้งาน  Select object : w
จะเกิดกรอบสี่เหลี่ยมในจุดที่ คลิ๊ก (Pick) จุดแรกและยังมุมหนึึ่งที่คลิ๊ก ชิ้นส่วนที่อยู่ในกรอบ Window จะถูกเลือกครับ ปกติจะเป็นลักษณะของ Auto Select ไม่ต้องพิมพ์ W ก็ได้ครับ
-Last (L) ลักษณะการใช้งาน Select object : L
จะเป็นตัวเลือกที่อ้างอิงถึงชิ้นส่วนของภาพ (Entity) ที่ได้สร้างไปแล้วครั้งสุดท้ายนั้นเองครับ
-Crossing (C) ลักษณะการใช้งาน Select object : C
ลักษณะคล้ายกับ Window แต่ไม่ต้องครอบชิ้นส่วนของภาพทั้งหมด การใช้งานในลักษณะของ Auto Select โดยไม่ต้องพิมพ์ C ทำได้โดยกำหนดจุดทางขวาก่อนครับ
-Box อันนี้ไม่มีตัวย่อครับต้องพิมพ์เต็ม ลักษณะการใช้งาน Select object : Box
โดยมากแล้วไม่มีใครใช้กันครับ เพราะ AutoSelect จัดการให้แล้ว
 จะเป็นการใช้งานของ Window และ Crossing พร้อมกัน
-All อันนี้ไม่มีตัวย่อครับต้องพิมพ์เต็มเช่นกัน ลักษณะการใช้งาน Select object : All
จะเป็นการเลือกวัตถุทั้งหมดที่ได้สร้างขึ้นบนมอนิเตอร์ ไม่ว่าจะมีวัตถุชนิดไหนบ้างก็ตามไม่เว้นครับ
-Fence (F) ลักษณะการใช้งาน Select object : F
จุดแรกที่เลือก จะเกิดเส้นตรงลักษณะเส้นประให้โยงไปหาจุดอื่นๆที่ได้กำหนดเลือก คลิ๊กไปเรื่อยๆ ในส่วนของวัตถุที่ถูกเส้นนี้ลากผ่านทับจะถูกเลือกครับ (โดยมากจะใช้ตอนยืดเส้นหลายๆเส้นครับ) คนอื่นไม่ใช่แต่ผมใช้
-Wpolygon (WP) ลักษณะการใช้งาน  Select object : WP
เป็นการสร้างกรอบ Window ในลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม โดยแต่ละมุมจะเกิดจากการคลิ็๊กจุดต่างๆไปเรื่อยๆ วัตถุที่อยู่ในกรอบก็จะถูกเลือก
-CPolygon (CP) ลักษณะการใช้งาน  Select object : CP
ลักษณะคล้าย Wpolygon แต่เป็นลักษณะ Crossing
-Add (A) ลักษณะการใช้งาน  Select object : A
เป็นการเพิ่มชิ้นส่วนของวัตถุ ถ้ามีการเลือกไว้ก่อนแล้วจะเป็นการเพิ่มชิ้นส่วนของวัตถุทีละ 1 จะใช้ตรงข้ามกับ R (Remove)  อันนี้จะใช้การกดปุ่ม Shift ค้างแล้วเลือกวัตถุก็ได้ครับ
-Remove (R) ลักษณะการใช้งาน  Select object :R
เป็นการยกเลิกชิ้นส่วนของวัตถุที่เลือกไปแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับ Add ครับ การใช้ปุ่ม Shift แล้วเลือกวัตถุที่เลือกไปแล้วก็เป็นการยกเลิกเช่นกันครับ
-Multiple (M) ลักษณะการใช้งาน  Select object : M
เป็นการเลือกชิ้นส่วนหลายๆชิ้นส่วน ชิ้นส่วนที่เลือกจะปรากฎเป็นเส้นประเมื่อกด Enter
อันนี้ก็คงไม่มีใครใช้กันแล้วเพราะถูก Autoselect จัดการไปเรียบร้อยไปแล้วนั่นเอง
-Previous (P) ลักษณะการใช้งาน  Select object : P
เป็นการเลือกวัตถุที่ได้มีการเขียนไว้ครั้งสุดท้าย ซึ่งสามารถเป็นกลุ่มวัตถุหรือ Block ก็ได้ครับ บางครั้งเลือกย้ายวัตถุเป็นกลุ่มแล้วเลือกใหม่อีกครั้งก็จะใช้ P นี่แหล่ะครับ
-Undo (U) ลักษณะการใช้งาน  Select object : U
เป็นการยกเลิกวัตถุที่ได้เลือกล่าสุดเพิ่มจากชุดที่เลือกครับ
-Auto (AU)  ลักษณะการใช้งาน  Select object : AU
เป็นการตั้งค่าให้เลือกวัตถุ โดยให้เริ่มจากกรอบ Window เป็นตัวเริ่มต้น คือใช้แบบ Window และ Crossing ได้
-Single (SI) ลักษณะการใช้งาน  Select object :SI
เป็นการเลือกวัตถุเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นครับและทำขึ้นข้อความ เพื่อให้เลือกต่อไป
อันนี้คงไม่มีใครได้ใช้กันแล้วเช่นกัน
-Subobject (SU) ลักษณะการใช้งาน  Select object :SU
อันนี้ใช้กับระบบ 3D ไม่ขอกล่าวถึงครับ เพราะไม่ได้ใช้และไม่รู้ลึก
-Object (O) เป็นการเลือกวัตถุปกติครับ ซึ่งจะขึ้นข้อความ Select object อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้เลยครับ

จากเวอร์ชั่นเก่าๆมาถึง AutoCAD 2011 ได้เพิ่มเติม Select similar object ขึ้นมา เพื่อช่วยในการเลือกแก้ไขได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่เดิมมาผมเคยใช้Display card ที่มีออปชั่นช่วยในการเลือก (รุ่น VGA S3 pro  )ซึ่งเก่ามากแล้ว สามารถเลือกเฉพาะสีที่เราต้องการให้แสดงหน้าจอได้ โดยไม่สนใจว่าจะเป็น Layer อะไร ตอนนี้ไม่ได้ใช้มันแล้วอ่ะครับ
มาดู Select Similar กันครับ


การเปิดเรียกใช้ Dialog box นี้โดยใช้คำสั่ง Selectsimilar ครับ ใครใช้ 2011 ก็ลองกันดูนะครับ

การใช้เครื่องมือช่วย Object Snap

การใช้เครื่องมือช่วย Object Snap ในการเขียนแบบ
(คำสั่งการตั้งค่าใช้ OS ครับ จะมีกรอบ Dialog box ของ Object Snap ตามรูป)



          ผมว่าจะเขียนมานานแล้ว เพราะคิดว่าการใช้เครื่องมือช่วยในการเขียนแบบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะงานที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ แน่นอนครับการใช้ Object Snap สามารถช่วยได้เป็นอย่างมาก เหตุหลักๆเพราะเคยพบเจอะเจองานไฟล์แบบ Drawing ที่เขียนจากโปรแกรม AutoCAD ซึ่งผมจะต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อจากคนที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ เป็นงานที่มีปัญหาของเส้นที่ไม่ต่อหรือชนกัน แนวเส้นเอียง ถึงแม้ว่าจะดูจาก จอมอนิเตอร์เป็นเส้นตรงก็ตาม การวัดระยะก็จะเพี้ยนๆไป มีเศษเพียง 0.001 แต่ก็จับขยับแก้ไขได้ยากครับ ต้องลากเส้นขึ้นใหม่หรือใช้วิธียืดแล้วตัดออก การย่อขยายก็จะลำบากอยู่สักหน่อยครับ เอาเป็นว่าโปรแกรมเค้าสร้างมาให้ใช้แล้วเราก็ควรที่จะใช้นะครับ
         อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Select Mode เพื่อใช้ในการเลือกวัตถุครับ แล้วจะมาแจกแจ้งให้ในแต่ละอันนะครับ เพื่อให้เลือกใช้ให้เหมาะสมจะสะดวกรวดเร็วมากยิ่งๆขึ้นครับ

Object Snap ที่ได้จากการการกด Shift+Right Click
(ดูหรือจะเข้าไปแก้ไขได้ในไฟล์เมนู ที่ Pop3)

อันนี้จาก Toolbar

 ในส่วนของ Ribbon ก็ยังมี แต่ผมยังใช้ 2007 อยู่ ไว้ใช้ 2010 จากที่อื่นแล้วจะทำรูปมาให้ดูกันครับ

อีกช่องทางของคนยุคเก่าคือการพิมพ์คำสั่งแทรกของ Object Snap หรือ OSnap กันไปเลย (ซึ่ง Osnap จะเป็นเหมือนคำสั่งแทรกหรือคำสั่งย่อยครับ ตามโปรแกรม AutoCAd แล้วจะเรียกกันว่า คำสั่ง transparent คือไว้แทรกคำสั่งหลัก 1) ผมมักจะใช้เวลาที่จะต้องไปใช้เครื่องอื่นๆที่ไม่ใช่เครื่องของตัวเองโดยพิมพ์คำสั่งลงไปเลย
มาดูกันครับว่า Object Snap หรือ OSnap มีอะไรกันบ้าง ใช้เพื่ออะไร

อันดับแรกคงเป็นอะไรไม่ได้นอกจาก Endpoint
ENDpoint หรือจะพิมพ์ย่อ End เวลาใช้งาน ใช้สำหรับจับวัตถุที่ปลายเส้น ของส่วนโค้ง เส้น segment ของเส้น Polyline มุมของ Solid และมุมของพื้นผิว Surface จะคลิ๊กไปที่วัตถุเอียงไปฝั่งไหนมากกว่าก็ยึดถือปลายที่ฝั่งนั้น เป็นมุมหรือด้านที่ใกล้ที่สุด เขียนยาวไปหรือเปล่านี่งั้นสั้นๆดีกว่าครับ
MIDpoint พิมพ์ย่อ Mid ใช้สำหรับจับที่กลางวัตถุ
CENter พิมพ์ย่อ Cen ใช้สำหรับจับไปที่จุดศูนย์กลางของวงกลมหรือเส้นโค้ง
NODe  พิมพ์ Nod ใช้สำหรับจับจุด Point ที่ได้กำหนดไว้ เช่นเวลาใช้คำสั่ง Divice แบ่งเส้นแล้วจะมีตำแหน่งของจุด Point ขึ้นมา
QUAdrant พิมพ์ Qua ใช้สำหรับจับจุดสัมผัสของเส้นโค้ง
INTersection พิมพ์ Int ใช้สำหรับจับจุดที่เส้นมาตัดกัน
EXTension พิมพ์ Ext อันนี้ใช้ไงก็ไม่รู้ปกติไม่เคยได้ใช้เลย ใครรู้ช่วยบอกทีครับ
INSert พิมพ์ Ins ใช้สำหรับจับจุด Base point จุดเริ่มอ้างอิงของวัตถุที่เป็นกลุ่มเช่น Block จุดเริ่มของตัวอักษร Text ต่างๆ
PERpendicular พิมพ์ Per ใช้สำหรับจับจุดตั้งฉากกับวัตถุที่เลือกครับ ง่ายๆคือลากไปไหนก็จะล็อค 90 องศากับวัตถุที่เลือก
TANgent พิมพ์ Tan ใช้สำหรับจัดที่จุดสัมผัสของเส้นโค้ง 
NEArest พมพ์ Nea ใช้เลือกบริเวณที่ใกล้เคียงของวัตุที่เลือก
Apperant Intersect เอ....มันใช้ไง เด่วหาดูก่อน งง งง ข้ามไปก่อนครับ
PARallel ใช้สำหรับการลากเส้นที่ให้ขนานกัน ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับ
นอกจากนี้แล้วยังมี 
Temporary Track point พิมพ์ TT จุดอ้างอิ้งชั่วคราว จะแสดงเป็นเส้นประให้ครับ
Snap FROM อันนี้พิมพ์ From เลยครับ เป็นการอ้างอิงจาก osnap mode เพื่อใส่ค่าจำนวนจริงครับ
ส่วนตัวควบคุม Osnap Mode ทั้งหมดใช้ Osnap setting โดยพิมพ์ OS หรือ Osnap ครับ การปิด Osnap Mode ก็ใช้ NONe พิมพ์ Non เพื่อปิดการใช้งาน Object snap ทั้งหมด


 เพิ่มรูปครับ เพิ่งทำเสร็จ


เสริมนอกเรื่องนิดนึง การใช้งาน Object Snap เพื่อความสะดวกมีเทคนิคที่ผมใช้อยู่ คือ การตั้งปุ่ม Function Key โดยเราสามารถตั้ง snap ได้หลายตัวในปุ่มเดียวกัน เด่วนี้มี Toolbar มาเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกไปแล้ว แต่ผมยังคงใช้แบบเดิมๆอยู่
อีกอย่างในการเขียนภาษา AutoLISP ก็เลือกใช้ Osnap Mode ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้ชุดคำสั่งบางคำสั่งจะไม่มีการหยุดรอ หากมีการตั้งค่า Osnap ให้เปิดใช้ทั้งหมดหรือหลายๆตัวอาจจะทำให้การเขียนวัตถุจากภาษา AutoLISP เพี้ยนไปได้ครับ การเขียนชุดคำสั่งบางครั้งจึงจำเป็นต้องปิด Osnap ก่อนเมื่อเขียนจากชุดคำสั่งแล้วจึงเรียกกลับคืนมาครับ
อีกประการหนึ่งเมื่อเราใช้คำสั่ง Osnap แล้วระบบจะเก็บค่าตัวแปรไว้ที่ Lastpoint ซึ่งสามารถนำค่าไปใช้กับฟังก์ชั่นของ AutoLISP ได้ครับ เช่นเมื่อใช้ Osnap End ของเส้นหนึ่งแล้วต้องการหาค่ากึ่งกลางจากจุดศูนย์กลางของวงกลมถึงจุดปลายเส้นนั้น โดยใช้ฟังก์ชั่น (End+Cen)/2 เราก็จะได้ค่านั้นครับ
เราสามารถหาค่าจุด centroid ของรูปสามเหลี่ยม โดยใช้จุด Endpoint ทั้งสามได้โดยใช้ฟังก์ชั่น (End+End+End)/3 ก็ได้ครับ


1)คำสั่ง ' transparent ใช้เพื่อแทรกคำสั่งหลักที่ได้ดำเนินการอยู่ Osnap Mode นี้ก็ถือว่าเป็นคำสั่งแทรกคำสั่งย่อยรองมาจากคำสั่งหลักๆครับ แต่เดิมการใช้คำสั่งของ AutoCAD ในรุ่นเก่าจะทำการ Zoom ในขณะที่ใช้คำสั่งหลักไม่ได้ เราจึงต้องใช้ตัวช่วยคือคำสั่งแทรก ' transparent นี้หล่ะครับ
เช่นเมื่อผมจะเขียนเส้นโดยลากจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่ไกลเกินกว่าจอมอนิเตอร์แล้วจะต้อง Zoom ให้ถึงรายละเอียดก่อนที่จะเลือกจุดต่อไปที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้มาช่วยครับ วิธีการใช้คือพิมพ์เครื่องหมาย ' หน้าคำสั่ง จะทำให้ใช้คำสั่งได้โดยที่คำสั่งหลักยังอยู่ครับ



สิ่งที่คนเริ่มเขียน AutoLisp ต้องการมากๆ


ผมว่าคนที่เริ่มเขียนภาษา AutoLisp ต้องการกันมากๆ อย่างหนึ่งก็คือตัวอย่างของงานเขียนคำสั่ง แต่ในบางคำสั่งที่มีท่านปรมจารย์ทั้งหลายได้เขียนกันมา อาจจะเพื่อการพานิชย์หรือต้องการให้เป็นความลับเป็นไม้ตายของท่านปรมจารย์ทั้งหลายที่มักจะเก็บเคล็ดวิชาขั้นสูงยอดไว้กับตัว หากลูกศิษย์ที่ไม่ดีไม่มีความกตัญญูได้เคล็ดวิชาไปแล้ว อาจจะทำการล้างครูก็เป็นได้ แต่ก่อนมาผมเริ่มเขียนภาษา AutoLisp แบบงูๆปลาๆ หยิบเอาของคนโน้นตนนี้มาผสมผสาน ดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสมกับที่ตัวเองถนัด ดีก็เก็บไว้ไม่ดีก็ตัดทิ้ง จนมาเจอไฟล์ที่ถูกล็อคไว้ โดยการ Protection Autolisp ไว้ จึงต้องพยายามดั้นด้นท่องไปในเว็บเพื่อเสาะหาเคล็ดวิชาเพื่อปลดล็อคอันนี้ให้ได้ ในบทความเก่าๆผมได้เคยเขียนไว้บ้างแล้ว แต่คงจะหลงๆลืมไป เพราะไฟล์ที่เคยมีเก็บอยู่ในกรุของ Harddisk โบราณที่นอนนิ่งมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี เลยทีเดียว จนวันนึงผมได้กู้งานที่อยู่ใน Harddisk ตัวนั้นจึงได้เจอของล้ำค้ำนี้ขึ้นมาปลุกชีพกันอีกครั้ง เป็นไฟล์ที่ใช้ปลดล็อคไฟล์ AutoLisp ที่ถูก Protect ไว้ครับ เป็นรุ่นที่เก่ามากๆอาจใช้ได้กับไฟล์เก่าๆเช่นกัน ส่วนไฟล์ที่สร้างหรือเขียนจาก Visual AutoLisp คงจะทำไม่ได้ครับ แต่ยังไงตัวนี้คงมีประโยชน์แก่ผู้ใช้ภาษา Lisp โบราณกันบ้างครับ ลองโหลดไปใช้งานกันดูครับ กดเลย ได้ผลประการใด บอกกล่าวกันได้นะครับ ดีก็ดีด้วยไม่ดีก็ขออภัยนะครับ

convert-Unprotect
49.12 KB
ได้มานานจนลืม

 ปีหน้าผมจะย้ายบทความเกี่ยวกับ AutoLisp แยกไปเป็นเอกเทศครับ
กำลังรวบรวมข้อมูลที่คิดว่าจำเป็นก่อนครับ


Scale งานแบบใน AutoCAD

SCALE in AutoCAD



ความเข้าใจเรื่องมาตราส่วน AutoCAD หรือ Scale ในงาน AutoCAD
(ไม่เกี่ยวกับการใช้คำสั่ง Scale นะครับ แต่เป็นการกำหนดมาตราส่วนในแบบ)
หลายต่อหลายคนที่เริ่มงานแบบกับ AutoCAD มักจะงง กับการตั้งค่ามาตราส่วน SCALE
ลุงธีว่าคงจะต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้กันสักหน่อย เพราะหลายคนจะมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสับสนงุนงง
ไม่รู้ว่าจะตั้งค่ายังไงให้เมื่อพิมพ์งานออกมาแล้วสามารถใช้เครื่องวัดที่วัดด้วยมือได้ถูกต้องตามมาตราส่วน


มาตราส่วนคืออะไร
บอกแบบง่ายๆก็คือการย่อหรือขยาย สิ่งที่ต้องการเขียนเพื่อให้ได้สัดส่วนที่ถูกต้องเมื่อเปรียบเทียบกับของจริง น่าจะสั้นและได้ใจความสุดแล้วนะครับ




มีเทคนิคมากมายหลากหลายวิธีการในการสร้างงานให้ได้ตามมาตราส่วนที่กำหนด
ทั้งหมดอยู่ที่การเลือกใช้ เพราะในหลากหลายวิธีจะมีการปรับแก้ไขที่ไม่เหมือนกัน
การทำงานบน Model Space คงจะไม่ค่อยมีปัญหามากเท่าไหร่ เพราะส่วนมากจะใช้เพียงมาตราส่วนเดียวและหากจะใช้หลายมาตราส่วนก็อาจจะทำเป็น Block แล้วขยายให้เป็นมาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้น ส่วนการทำงานบน PaperSpace ในหน้า Layout ต่างๆก็จะต้องใช้ Viewport เข้ามาช่วยในการปรับแต่งมาตราส่วนหากต้องการหลายมาตราส่วนก็ต้องใช้หลาย Viewport ครับ

เริ่มกันที่ Model Space กันก่อนครับ วิธีนี้จะออกไปทางวิชามารไปนิดนึงครับ ผมเองไม่ค่อยได้ใช้
โดยมากการทำงานย่อสิ่งใหญ่ๆให้เล็กลงจะใช้มาตราส่วนที่ใหญ่ คือมีตัวเลขมากครับ
เช่นการเขียนแบบแปลนบ้านจะใช้มาตราส่วนที่ 1:100
การกำหนดหน่วยที่ใช้ในการเขียนจึงจะต้องใหญ่ตามไปด้วยครับ
โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดหน่วยในการเขียนที่ 1 หน่วย(ที่ใช้ในโปรแกรม) จะเท่ากับ 1 เมตร
(อ้างอิงจากงานเขียนแบบเพื่อขออนุญาต การใช้หน่วยที่ละเอียดมากๆจำทำให้ขนาดของไฟล์ข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้นครับ)

ส่วนการทำงานขยายสิ่งที่เล็กๆให้ใหญ่ขึ้นจะใช้มาตราส่วนที่เล็ก คือมีตัวเลขน้อยๆครับ
เช่นการเขียนแบบเครื่องกล เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ หรือการเขียนแบบของงานเฟอร์นิเจอร์
ที่ต้องการความละเอียดมากๆ มักจะใช้มาตราส่วนที่ 1:25 หรืออาจจะน้อยกว่านั้น
การกำหนดหน่วยที่ใช้ในการเขียนจึงต้องมีความละเอียดไปด้วย
โดยที่พบเจอทั่วไปแล้ว(ปกติไม่ค่อยได้ทำงานละเอียดๆครับ อิอิ)
เท่าที่เห็นจะกำหนดหน่วยในการเขียนที่ 1 หน่วยเท่ากับ 1 มิลลิเมตรครับ
โดยส่วนตัวผมจะใช้ 1 หน่วยเท่ากับ 1 เมตร แล้วไปตั้งค่าใน Dimension แทน
เพราะไม่ค่อยได้ใช้งานบ่อย จึงยอมพิมพ์ตัวเลขให้มากหน่อยในเวลาป้อนค่าจำนวน
อีกอย่างหนึ่งขนาดของไฟล์ก็ไม่ใหญ่จนเกินไปครับ ชอบๆๆ

ไม่ว่าจะใช้หน่วยเมตรหรือหน่วยมิลลิเมตรในการเริ่มต้นเขียนงานก็ตาม
ก็จะใช้หลักการเดียวกันในการทำมาตราส่วนหลายๆอัน โดยจะต้องกำหนดมาตราส่วน
เริ่มแรกก่อนเป็นตัวตั้ง แล้วทำส่วนที่่ต้องขยายเป็น Block แล้วใช้คำสั่ง Scale ขึ้นมาตามสัดส่วนครับ

ตัวอย่าง หากผมกำหนดแบบแปลนให้มีมาตราส่วน 1:100 และต้องการมีแบบขยายข้างๆที่ 1:20
การทำคือ ทำส่วนที่ต้องการขยายเป็น Block แล้วใช้คำสั่ง Scale / Refenrence กำหนดค่าที่ต้องการ คือ 20 แล้วขยายไปเป็น 100 ครับ

Command line : Scale
Select object : เลือกไปที่ Block แล้ว Enter
Specify base point : กำหนดจุดอ้างอิง
Specify Scale factor or [Copy/Referance] : R เลือกที่ Referance พิมพ์ R ครับ
Specify Referance length <1 .000=".000">: 20 กำหนดค่าที่ต้องการ
Specify New length or [Points] <1 .000=".000">: 100 ใส่ค่าขยายครับ 
เท่านี้เอง

หลักก็คือใช้ Scale/Referance กำหนดค่าที่ต้องการย่อขยาย แล้วใส่ค่าของแบบที่ตั้งต้น
ในส่วนที่ทำเป็น Block ก็เพื่อที่จะให้ระยะในมาตราส่วนไม่เปลี่ยนตามครับ





ที่นี่ก็มากันที่ PaperSpace ส่วนตัวแล้วชอบวิธีนี้มากกว่าครับ เดี๋ยวมาต่อครับ ....
ผ่านไป 10 นาทีได้ ดื่มน้ำแล้วมาต่อกันครับ

การทำงานบน Paperspace หรือการทำงานบน Layout 
โดยมากเราจะต้องกำหนดกรอบของกระดาษ
ขึ้นมาก่อน เพื่อให้รู้ขนาดของแบบเริ่ม (มาตราส่วนตั้งต้น) 
ส่วนใหญ่จะกำหนดที่ 1:100 หรือ 1:1000
ของขนาดกระดาษในแต่ละ Size ครับ

ขนาดกระดาษ A4 - 297x210 mm.
                        A3 - 420x297 mm.
                        A2 - 594x420 mm.
                        A1 - 841x594 mm.
                        A0 - 1189x841 mm.

รู้ขนาดของกระดาษแล้วเริ่มกันเลยครับ
ใน Layout เขียนขนาดกระดาษ หรือจะ Insert Block ที่ได้ทำไว้แล้วจากภายนอกมาเข้าใช้งานก็ได้ครับ ควรจะเป็น Block โดยมากจะทำเป็น Title block แล้ว Insert เป็น Xref เพราะสะดวกในการแก้ไข





กำหนดมาตราส่วนเริ่มแรกให้เป็น 1 : 100
(ผมใช้ 1:100 โดยใช้ 1 หน่วยเท่ากับ 1 เมตรเป็นตัวอย่างนะครับ)
ที่หน้า Layout เมื่อเราเข้ามาจะพบ Viewport ที่โปรแกรมให้มา 1 Viewport ครับ
เขียนขนาดของกรอบกระดาษที่หน้า Layout นี้เลย โดยใช้ Pline เริ่มที่จุด 0,0 ไปที่ 0.42,0 ไปที่ 0.42,0.21 ไปที่ 0,0.21 แล้ว Close จะได้กรอบของกระดาษขนาด A3 ในหน่วย 1:100 ครับ
หรือจะ Insert Block ของกระดาษที่ทำไว้เข้ามาก็ได้ครับ


สร้าง Viewport ของมาตราส่วนหลัก โดยใช้คำสั่ง ที่ Pulldown menu ใช้ View/Viewports/1 Viewport กำหนด viewport ให้อยู่ในกรอบของกระดาษที่ทำไว้ จะเห็นชิ้นงานที่ทำไว้ในกรอบแต่ยังไม่มีมาตราส่วน ให้เข้าไปในโหมด Model ของหน้า Layout โดยพิมพ์ MS หรือจะดับเบิ้ลคลิ๊กในกรอบ Viewport ที่สร้างขึ้นมาก็ได้ครับ การกำหนดมาตราส่วนจะใช้คำสั่ง Zoom เพื่อย่อหรือขยายภาพที่เห็นใน Viewport ผมกำหนดให้เป็น 1:100

เมื่ออยู่ใน Model Space ในหน้า Layout ใช้คำสั่ง Zoom
Command: _.MSPACE  (สามารถคลิ๊กพื้นที่ในกรอบ Viewport ที่ต้องการได้ ลุงธีบอกเสริมมา)
Command: Zoom
ZOOM
Specify corner of window, enter a scale factor (nX or nXP), or
[All/Center/Dynamic/Extents/Previous/Scale/Window/Object] : 1xp
Command:

เท่านี้ก็ได้มาตราส่วนในแบบเป็น 1:100 เพราะเราทำกรอบไว้ที่ 1:100 การใช้ค่า 1xp คือ 1 หน่วยคูณด้วยค่าของ PaperSpace

การทำหลายมาตราส่วนก็เพียงเพิ่ม Viewport ใน Layout เดียวกัน แล้วเข้าใน Mspace ใช้คำสั่ง Zoom
ใส่ค่าของมาตราส่วนที่ต้องการย่อหรือขยาย โดยหลักที่ง่ายๆคือใช้ค่ามาตราส่วนที่เริ่มต้นหารด้วยมาตราส่วนที่ต้องการ

ตัวอย่างการใช้ zoom มาตราส่วน เมื่อแบบหลักเป็น 1:100 แบบขยายต้องการที่ 1:20 ดังนี้ครับ
เมื่ออยู่ใน Model Space ในหน้า Layout ใช้คำสั่ง Zoom

Command: _.MSPACE
Command: Zoom
ZOOM
Specify corner of window, enter a scale factor (nX or nXP), or
[All/Center/Dynamic/Extents/Previous/Scale/Window/Object] : 100/20xp
Command:

แล้วก็ได้แบบขยายที่ 1:20 เพิ่มมาแล้ว

อธิบายหลักง่ายๆคือ หน่วยที่ใช้หารด้วยมาตราส่วนที่ต้องการคูณด้วย Paper

( NU/WUxP)


แล้วจะทำรูปมาประกอบภายหลังครับ วันนี้ปวดเมื่อยมาก



เทคนิคง่ายๆที่จะทำให้ไม่สับสนหลงสเกล คือมาตราส่วนเริ่มต้นหารด้วยมาตราส่วนที่ต้องการครับ ไม่ต้องไปคูณกับการกดเครื่องคิดเลขให้ปวดหัว

ขอให้โชคดีทุกๆท่าน







เข้าใจมาตราส่วน ก็เข้าใจ SCALE 



ของหาย อยากได้คืน

เป็นเรื่องปกติของคนที่ใช้งานโปรแกรม AutoCAD ที่มีการตั้งคุณลักษณะของการใช้งานเฉพาะตัว มักจะไม่เหมือนกันในทุกๆที่ สิ่งหนึ่งที่คนใช้งานใหม่ๆ หรือมาใช้งานในเวอร์ชั่นที่ไม่คุ้นเคยก็คือ การทำมันหายไปจากหน้าจอ เมื่อของมันหาย เป็นใครๆก็อยากได้คืนด้วยกันทั้งน้าน....ผมจะมาบอกวิธีการเรียกมันกลับคืนมาครับ (เคยเขียนไว้นานแล้วแต่คงน้อยไป มารวบรวมสิ่งที่มักจะหายไปดีกว่าครับ)



เอ.... ใครทำอะไรหายกันบ้างครับ







 1. อันดับแรก ที่มักจะเจอปัญหากันมาก คือ แถบคำสั่ง RIBBON หายครับ
โดยส่วนมากที่แถบ Ribbon นี้จะหายไปจากหน้าจอมอนิเตอร์ของโปรแกรม AutoCAD ได้ คือการใช้เม้าส์ไปคลิ๊กย่อแล้วก็ปิด หรืออาจจะใช้คำสั่ง Ribbonclose ปิดไปเลยก็มีครับ
การที่จะดึงแถบคำสั่ง Ribbon นี้ออกมาใช้งาน ก็เพียงพิมพ์คำสั่งที่ Command line ได้เลย
Command line : RIBBON เท่านั้นเองครับ
แล้วแถบคำสั่ง Ribbon นี้ก็จะปรากฎขึ้นมาให้ใช้งานครับ



2. Command line ที่เป็นกล่องรับคำสั่งที่ปกติจะอยู่ด้านล่างของพื้นที่ทำงาน เกิดหายยยยยย
โดยมากจะโดนปิดโดยเครื่องหมาย กากบาท แล้วเรียกกลับไม่ได้ หรืออาจจะบังเอิญไปกดปุ่ม Ctrl+9
แล้วมันก็ปิดกล่อง Command line ไป ไม่ว่าจะปิดโดยสาเหตุใดๆ เราคงไม่สน อยากรู้เพียงจะดึงมันขึ้นมาได้อย่างไร วิธีก็ไม่ยากครับ เราก็กดปุ่ม Ctrl+9 อีกครั้งเท่านั้นเอง มันก็ขึ้นมาเอง ง่ายเน้อ..



3. แถบเมนู ที่เป็น Pull down menu ที่อยู่ทางด้านบนหรือที่เรียกว่า Menu Bar หายยยย
โดยมากจะหายไปโดยการคลิ๊กที่เมนู แล้วเลือกที่ Show menu bar มันก็จะปิดแล้วหายไปครับ
การที่จะให้ menu bar แสดงกลับคืนมาทำได้โดยพิมพ์คำสั่ง Menubar แล้วใช้ค่าเป็น 1 ครับ

Command line : Menubar

Enter new value for MENUBAR <0>: 1 ( พิมพ์ค่าเป็น 1 ครับ )

แล้วก็กลับมาดังเดิม หากต้องการที่จะปิด ก็ใช้คำสั่ง Menubar แล้วใส่ค่าเป็น 0 ครับ



4.Toolbar เครื่องมือสารพัดประโยชน์ สะดวกใช้งานง่ายเกิดหายไปหมด จะเรียกโดยคลิ๊กขวาก็ไม่ได้เฮ้อ...ทำไงดี การหายไปของ Toolbar เกิดจากไปคลิ๊กที่เครื่องหมายกากบาทจนหมดทุกตัว จนหาทางเรียก Toolbar ขึ้นมาอีกไม่ได้
ในกรณีที่หายไปทั้งหมด เราอาจจะใช้ CUI เข้ามาช่วยได้ โดยพิมพ์ Menu แล้ว OK ไป
แต่มีวิธีที่ผมคิดว่าน่าจะง่ายกว่าการเข้าไปปรับ CUI ครับ โดยการพิมพ์คำสั่ง Toolbar นี่แหล่ะ

ที่ Command line : พิมพ์ -toolbar (ที่จะต้องพิมพ์เครื่องหมาย - ในคำสั่ง AutoCAD ก็เพื่อที่จะใช้คำสั่งโดยไม่ต้องไปเรียกใช้ Dialogbox ตามมา จะมีเพียงข้อความคำสั่ง ให้เราพิมพ์ค่า parameter ตามเข้าไปครับ )

Command: -toolbar
Enter toolbar name or [ALL]:          หากจะเลือกทั้งหมดก็พิมพ์ ALL ครับ
Enter an option [Show/Hide/Left/Right/Top/Bottom/Float] : จะให้แสดงก็พิมพ์ S ครับ

ตัวอย่าง หากผมต้องการให้ Toolbar ที่ชื่อ Standard แสดงออกมาใช้งาน เพราะผมอาจจะกดปิดมันไว้
ตามนี้ครับ

Command: -toolbar
Enter toolbar name or [ALL]: standard
Enter an option [Show/Hide/Left/Right/Top/Bottom/Float] : s

แล้ว Toolbar ชื่อ Standard ก็แสดงออกมาครับ



นี่คือชื่อของ TOOLBAR หลักๆ ที่มีใน AutoCAD โดยยังไม่ได้เพิ่มเติมครับ


3d_navigation

layers

orbit

styles

cad_standards

layers_ii

parametric

text

camera_adjustment

layouts

properties

ucs

dimension

lights

refedit

ucs_ii

dimensional_constraints

mapping

reference

view

draw

measurement_tools

render

viewports

draw_order

modeling

smooth_mesh

visual_styles

find_text

modify

smooth_mesh_properties

walk_and_fly

geometric_constraint

modify_ii

solid_editing

web

inquiry

multileader

standard

workspaces

insert

object_snap

standard_annotation

zoom


5. เพิ่มเติมเรื่อง File Tab หาย คือแถบบอกชื่อไฟล์ของแต่ละไฟล์งานที่เปิดเข้าใช้งาน คือเปิดไฟล์แล้วไม่มีแถบแสดงชื่อไฟล์ออกมา


File Tab คือส่วนที่วงแดงอยู่นี้ครับ
เมื่อหายไปแล้วจากสาเหตุใดไม่ทราบได้ การที่จะเรียกคืนกลับมาได้ โดยใช้คำสั่ง
Filetab เพื่อให้แสดงครับ ส่วนคำสั่งที่ทำให้ปิดหรือไม่แสดงคือ Filetabclose ครับ

Command : Filetab

และ

Command : Filetabclose

หรือจะใช้ Option และเข้าไปคลิ๊กที่กล่อง Check box " Display file Tabs " ที่หน้าแถบ Display ก็ได้ครับ


ตามภาพครับ

เยอะดีจัง ยังใช้ไม่หมดเลยน่ะนี่
แล้วยังจะมีอะไรที่หายไปอีกหล่ะนี่

นับวันคนยิ่งรู้จักโปรแกรม AutoCAD มากขึ้น แต่ปัญหาของ AutoCAD ก็มากขึ้นทุกวันเช่นกัน
ร่วมกันให้วิธีแก้ไขกันนะครับ



  







โรงงาน

โรงงาน





นิยามความหมายของงานทำแบบ

คำในวงการ

สเก็ตช์เทพ - คือลายเส้นที่มองไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร แค่มันคืิอแนวคิด Concept ของงานออกแบบ
งานดีไซน์ - คืองานออกแบบที่แกะจากงานสเก็ตเทพ เพื่อให้เป็นรูปเป็นร่าง สวยงาม เพื่อนำเสนองานออกสู่สายตา
งาน Shop Drawing - คืองานที่ทำเพื่องานก่อสร้าง ติดตั้ง ขยายส่วนต่างๆของงานออกแบบที่ทำขึ้นมาเพียง องค์ประกอบหลัก แต่ไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะนำไปเพื่อการก่อสร้าง
งาน As-Built Drawing - คืองานที่ได้ดำเนินการก่อสร้างจริงๆไปแล้ว อาจจะแตกต่างจาก หัวข้อแรกๆนั้นแบบหน้ามือเป็นหลังมือไปเลยก็ได้

ใครมีความหมายอะไรเด็ดๆบ้าง

ประเภทของแบบต่างๆ

Conceptual
Preliminary Design
Construction permit
Construction dwg
Shop dwg
Asbuilt dwg

Unreconciled New layer

Unreconciled New layer 
    
     ว่าจะเขียนเรื่อง Layer อยู่หลายครั้งแต่ก็ลืมไปทุกที วันนี้วันหยุดนึกขึ้นได้เด่วจะลืมอีก
หลายคนที่ใช้ AutoCad เวอร์ชั่นใหม่ๆ คือ AutoCAD 2010 ขึ้นมา มักจะต้องพบเจอะ Dialog box ข้อความของ Unreconciled New layer จนสร้างความรำคาญใจนิดๆ เพราะไม่อยากเจออะไรแปลกๆเด้งขึ้นมาให้ตกใจบ่อยๆ(เหมือนผม)

ข้อความ Unreconciled New layer เกิดจากการเปิดไฟล์ที่มีข้อมูลของ Layer ใหม่กับเก่ามาชนกัน จะพบบ่อยโดยไฟล์ที่เปิดจะมี Xref มาด้วย ข้อมูลชื่อ Layer จึงมีทั้งของเก่าและของใหม่ เวลาที่จะใช้คำสั่ง PLOT จึงจะต้องทำการกรองข้อมูลของ Layer กันก่อน เพื่อให้ยอมรับค่าของ Layer นั่นๆ

Unreconciled New layer คือ ข้อมูลของ Layer ที่เพิ่มเติมเข้ามาแล้วถูกบันทึกในไฟล์ และยังยังไม่ได้ถูกผู้ใช้ยอมรับว่ามันได้เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ซึ่งจริงๆแล้วน่าจะทำขึ้นมาเพื่อตรวจสอบข้อมูล Layer ให้ถูกต้องเสียก่อนเท่านั้น เพราะสาเหตุที่จะเกิด Fatal Error ก็มาจาก Layer ที่ข้อมูลชื่อมีปัญหาด้วยด้วยเหมือนกัน

การ Unreconciled ข้อมูลที่แนบมาการ Xref ในครั้งสุดท้าย เมื่อ Xref มีการปรับปรุงแก้ไข Unreconciled layer จะทำการตรวจสอบ Xref ที่มีการบันทึกครั้งสุดท้ายเสมอ จึงขึ้นข้อความนี้ขึ้นมาครับในกรณีที่มีข้อความแจ้งเตือนแล้วเราตอบรับ โดยคลิ๊กขวาที่ชื่อ Layer นั้นให้ถูกกรอง layer ใหม่ layer นั่นจะถูกลบออกโดยปริยายครับ ควรระวังดีนะครับ

การที่จะไม่ให้มีข้อความเตือนปรากฎขึ้นมา เราจะต้องไปปรับค่าตัวแปรระบบครับ ซึ่งAutoCAD จะให้ชื่อตัวแปรระบบที่ควบคุมการแจ้งเตือนนี้ว่า  LAYEREVAL โดยถูกตั้งค่าเป็น 1 หรือ 2

จาก Command line : พิมพ์คำสั่ง SETVAR แล้ว Enter
แล้วใส่ชื่อตัวแปรระบบ โดยพิมพ์ LAYEREVAL แล้ว Enter
แล้ว ตั้งค่าให้เป็น 0 ครับ

ตัวอย่างครับ :

Command: setvar
Enter variable name or [?]: layereval 

Enter new value for LAYEREVAL <1>: 0
Command:

การตั้งค่า เป็น 0 เพื่อ ปิดการแจ้งเตือน
การตั้งค่า เป็น 1 เพื่อ ตรวจสอบเมื่อมี Layer ใหม่ของ Xref ใหม่ที่ดึงเข้ามาใช้งานในไฟล์
การตั้งค่า เป็น 2 เพื่อ ตรวจสอบเมื่อมี Layer ใหม่ได้ถูกเพิ่มใน Xref ที่ดึงเข้ามาใช้งานในไฟล์
                            และ Layer ใหม่ที่ถูกเพิ่มในไฟล์ที่ใช้งานครับ




อีกวิธี แบบมีภาพให้ปรับแก้ไขกันง่ายๆ

ไปที่ Layer แล้วคลิ๊กที่ Setting ตามรูป

แล้วก็คลิ๊กที่ Checkbox ที่ New Layer Notification ออกไปครับ




ลองแก้กันดูนะครับ













AutoCAD 2013


และแล้ว AutoCAD 2013 ก็ออกมา



 Autocad 2013 for PC
มาแล้ว Autocad 2013 แบบ 3D พร้อมกันทั่วโลก เริ่มจำหน่าย 20 เมษายน 2555
สำหรับ Windows 7,Windows Vista ,Windows XP ราคา 150,000 บาทครับ


ผมใช้ AutoCAD 2007 มานานจนคล่อง พอเริ่มใช้ AutoCAD 2010 ยังไม่นานหาคำลั่งไม่ค่อยจะเจอ เพราะหน้าตาที่เปลี่ยนไป มี Ribbon มาช่วยขวางพื้นที่ทำงานให้เล็กลง แต่ก็แลกกับความสะดวกสบายมากขึ้นที่ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งมาก หรือไม่ต้องไปสร้างคำสั่งย่อใหม่ๆ ใช้ AutoCAD2010 ได้ไม่ถึงไหน AutoDESK ก็ออก 2011 และ 2012 มาให้ใช้กันเพิ่งจะได้เห็นหน้าตาแป๊ปๆ ตอนนี้ ออก AutoCAD2013 ออกมาให้ทดลองใช้กันอีก ตามไม่ทันจริงๆเลยเรา


ใครอยากลองของใหม่ ก็ลองเข้าไปโหลดมาลองใช้กันดูนะครับ
ที่เว็บนี้เลย http://usa.autodesk.com/autocad/trial/ เป็นรุ่นทดลองใช้ 30 วัน
ส่วนผมขอลอง AutoCAD WS ก่อน เพราะเพิ่งจะโหลดเข้า Android ยังงงๆอยู่เลย




ใน AutoCAD2013 นี้จะมีอะไรที่เพิ่มเติมใหม่ๆบ้าง
สามารถเข้าไปดูได้ในนี้ครับ AutoCAD 2013- What's new

ใช้ XDWGFADECTL เมื่อมองเห็น Xref ลางๆ


วันนี้ได้ปัญหามาให้แก้ไขอีกนึงคือ การที่เราเปิดไฟล์ที่มี Xref Drawing ติดมาด้วย ในไฟล์โหลด Xref เข้ามาใช้งานแล้ว แต่ปัญหาคือ มองไม่เห็นหรือเห็นเส้นวัตถุที่สร้างจาก Xref มันเห็นเพียงลางๆ ตอนแรกๆผมก็งง ๆ หาวิธีแก้ไขอยู่นาน แต่ตอนนี้แก้ไขได้แล้วครับ การที่ไฟล์ Xref ที่เราดึงเข้ามาใช้งานแล้วดูลางๆมองไม่ค่อยจะเห็น จะเป็นกับ AutoCAD 2010 ขึ้นไปนะครับ เค้าทำมาเพื่อให้เราปรับค่าความโปร่งแสงของXrefที่เราไม่ต้องการแสดงมากลบ ทับเส้นที่เราใช้งาน โดยให้รู้ว่านี่คือ Xref Drawing ครับ

ที่ นี่ก็วิธีการแก้ไข คือการใช้คำสั่ง XDWGFADECTL ยาวดีจัง (คำสั่งควบคุมความโปร่งแสง คงจะมาจาก eXternal Refercance Drawing Fade Control เดาเอาครับ) โดยคำสั่งนี้จะรองรับค่า ระหว่าง -90 จนถึง 90 ครับ

Command line : XDWGFADECTL
Enter new value for XDWGFADECTL <90> : ผมใส่ค่าไว้ 45 ครับ ตั้งไว้ครึ่งเดียว

หากตั้งค่าไว้ที่          0  : Xref Drawing  จะไม่ทำการ Fade หรือควบคุมความจางของวัตถุ ครับ
หากตั้งค่าไว้มากกว่า  0  : Xref Drawing  จะทำการ Fade หรือควบคุมความจาง ตามเปอร์เซนต์ครับ
เช่น ใส่ค่า 25 ก็จะจางลง  25 เปอร์
   
เซนต์ครับ ใส่ 90 ก็จางที่สุดจนมองเห็นเพียงลางๆครับ










หากตั้งค่าไว้น้อยกว่า  0  : Xref Drawing  จะไม่ทำการ Fade หรือควบคุมความจาง แต่จะเก็บข้อมูลไว้สำหรับเปลี่ยนค่าที่ได้ตั้งไว้

อันนี้แก้ปัญหาให้พี่ 53 คร้าบบบ ลองเล่นดูนะครับ 

ผมเองเป็นคนชอบพิมพ์ เลยไม่รู้ว่ามี dialog box ให้ใช้งานแบบง่ายๆด้วย (ติดนิสัยคนโบราณซะเคยตัว)
วันนี้เจอมาเลยมาเพิ่มเติมให้ครับ
ให้เข้าไปที่ Option เลือกที่ Tab Display แล้วก็ปรับค่า Fade Control ตามรูปครับ 



 อันนี้น่าจะช่วยให้ปรับค่าได้ง่ายขึ้นนะครับ



Linetype Scale ระหว่าง Model กับ Paper Space

บ่อยครั้งนักที่ทำงานกับลายเส้นที่ไม่ใช่ลายเส้นต่อเนื่อง หรือ Continuous แล้วจะมีปัญหาในการปรับโหมดเป็น Paper Space ที่ลายเส้นมันจะไม่ตรงกันกับใน Model Spaceซึ่งอาจจะทำให้บางคนเกิดอารมณ์หงุดหงิดบ้างในการปรับเปลี่ยนโหมดมาเป็น Layout เพื่อที่จะพิมพ์งานออกมา





ผมเองเป็นบ่อยกับการที่จะต้องปรับค่า Linetype scale เพื่อให้ลายเส้นออกมาแล้วสวย แต่พอปรับโหมดเป็นหน้า Layout แล้ว Scale ของ ลายเส้นมันเพี้ยนไปหมด แต่ตอนนี้หมดปัญหาไปครับ โดยใช้คำสั่งนี้


psltscale แล้วปรับค่าให้เป็น 0 ครับ

Command: psltscale
Enter new value for PSLTSCALE <1>:  เราใส่ค่าเป็น 0 ไปครับแล้ว Enter 

ค่า Linetype scale ใน Paper Space ก็จะไม่ปรับ โดยจะใช้ค่า Scale เดียวกันกับ Model ครับ ลองดูครับ

Autocad Error : Unknow Error Code 152

วันนี้เจอไดอะล็อกบล็อคขึ้นข้อความ  Autocad Error : Unknow Error Code 152
จึงอยากรู้ว่ามันคืออะไร แล้วทำไมถึงขึ้นข้อความนี้มา



ข้อความนี้จะปรากฎขึ้นในตอนที่อยู่หน้า Layout เมื่อเราทำการ Preview รูปก่อนพิมพ์
เมื่อใช้ Plotter : DWG to PDF.pc3

แล้วไอ้เจ้า FATAL ERROR มันก็จะตามมา โอ้...แม่เจ้า น่ากลัวจริงๆครับ

ปัญหามันอยู่ที่การกำหนดค่า Scale plot เมื่อผมตั้งค่าเป็น Scale to Fix จะปรากฎข้อความนี้ขึ้นมา
ตอนที่ Preview และสั่งพิมพ์
เหตุจากการที่เราเลือกขนาดกระดาษโดยไปบังคับขนาดที่จะพิมพ์ให้มีขนาด Over size เกินกว่า PDF ในAutoCADจะรองรับได้ การบีบมาตราส่วนลงให้พอดีกับกระดาษที่ AutoCAD มี Driver ของ Windows system รองรับไม่เพียงพอ

วิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแบบบ้านๆและง่ายๆ คือ กดไปที่ Fix to paper ใหม่อีกครั้งเท่านั้นครับ
แล้วมันก็จะไม่ขึ้นมาให้กวนใจ ลองดูนะครับ เป็นการให้ AutoCAD รับค่าแล้วคำนวณใหม่
อีกวิธีการหนึ่ง คือ Turn off "hide system printers" ใน Options ลองดูนะครับ

ผมคิดว่า AutoCAD Error : Unknown Error Code 152 กับ

Error: Printer name is invalid น่าจะเป็น Error อันเดียวกัน

อีกประการหนึ่งที่ผมเห็นได้เด่นชัดและลองดูแล้ว ปัญหาที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุตรงๆเลย คือไฟล์ที่กำลังใช้งานได้มีการ ใช้ Save Change to Layout คืิอการบันทึกการพิมพ์ครั้งสุดท้ายไว้ ไฟล์ที่ใช้งานอยู่นี้ก็จะเรียกหาเครื่องพิมพ์ที่เคยได้ใช้งานอยู่ หากมีการเปลี่ยนเครื่อง หรือ Copy file จากที่อื่นมาใช้งาน ก็จะมีปัญหาในการหาเครื่องพิมพ์รุ่นอื่นที่ไม่มีให้ใช้ การแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดและตรงประเด็นที่สุดก็คือการปรับเปลี่ยน OUTPUT DEVICE ครับ ให้ไปที่ OPTION ที่หน้าแท็บ Plot and Publish ที่ Ratio :Use as default Output Device ให้ปรับเปลี่ยนเครื่องพิมพ์เป็นรุ่นที่มีครับ หรือจะเปลี่ยนเป็น Default Windows system printer.pc3 แล้วก็กดที่ Apply ครับ วิธีนี้ผมว่าน่าจะแก้ไขได้ดีกว่าเป็นแน่คร้าบบบบ



แล้ววันนี้ก็เจอแนวทางอีกทาง ในเวลาที่เปลี่ยนโหมดจาก Model mode เป็น Layout จะขึ้น ERROR แก้ไขได้โดยการลบ Layout นั้นทิ้งแล้วสร้าง Layout ขึ้นใหม่ครับ ต้องลองทำดูกันนะครับ


คลังบทความของบล็อก