การเลือกชิ้นวัตถุในโปรแกรม AutoCAD มีรูปแบบอยู่หลายอย่างแต่บางท่านอาจจะใช้ได้เพียงบางอันเท่านั้นเพราะบางอันมันโบราณมากๆ ในคำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขภาพ (Editing Drawing) มักจะต้องเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือชิ้นส่วน (Entity) ที่ต้องการแก้ไขเสมอครับ ไม่งั้นจะแก้ได้ไงใช่ไหมครับ ซึ่งการใช้คำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไข จะมีข้อความที่ Command line ให้ Select objects : และเคอร์เซอร์ก็จะเปลี่ยนเป็นกรอบสี่เหลี่ยม (Pickbox) เป็นเครื่องมือในการเลือกครับ
ค่าที่ครอบคลุมทุกคำสั่ง ที่เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ เมื่อ Command line มีข้อความ Select object :
-Window (W) ลักษณะการใช้งาน Select object : w
จะเกิดกรอบสี่เหลี่ยมในจุดที่ คลิ๊ก (Pick) จุดแรกและยังมุมหนึึ่งที่คลิ๊ก ชิ้นส่วนที่อยู่ในกรอบ Window จะถูกเลือกครับ ปกติจะเป็นลักษณะของ Auto Select ไม่ต้องพิมพ์ W ก็ได้ครับ
-Last (L) ลักษณะการใช้งาน Select object : L
จะเป็นตัวเลือกที่อ้างอิงถึงชิ้นส่วนของภาพ (Entity) ที่ได้สร้างไปแล้วครั้งสุดท้ายนั้นเองครับ
-Crossing (C) ลักษณะการใช้งาน Select object : C
ลักษณะคล้ายกับ Window แต่ไม่ต้องครอบชิ้นส่วนของภาพทั้งหมด การใช้งานในลักษณะของ Auto Select โดยไม่ต้องพิมพ์ C ทำได้โดยกำหนดจุดทางขวาก่อนครับ
-Box อันนี้ไม่มีตัวย่อครับต้องพิมพ์เต็ม ลักษณะการใช้งาน Select object : Box
โดยมากแล้วไม่มีใครใช้กันครับ เพราะ AutoSelect จัดการให้แล้ว
จะเป็นการใช้งานของ Window และ Crossing พร้อมกัน
-All อันนี้ไม่มีตัวย่อครับต้องพิมพ์เต็มเช่นกัน ลักษณะการใช้งาน Select object : All
จะเป็นการเลือกวัตถุทั้งหมดที่ได้สร้างขึ้นบนมอนิเตอร์ ไม่ว่าจะมีวัตถุชนิดไหนบ้างก็ตามไม่เว้นครับ
-Fence (F) ลักษณะการใช้งาน Select object : F
จุดแรกที่เลือก จะเกิดเส้นตรงลักษณะเส้นประให้โยงไปหาจุดอื่นๆที่ได้กำหนดเลือก คลิ๊กไปเรื่อยๆ ในส่วนของวัตถุที่ถูกเส้นนี้ลากผ่านทับจะถูกเลือกครับ (โดยมากจะใช้ตอนยืดเส้นหลายๆเส้นครับ) คนอื่นไม่ใช่แต่ผมใช้
-Wpolygon (WP) ลักษณะการใช้งาน Select object : WP
เป็นการสร้างกรอบ Window ในลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม โดยแต่ละมุมจะเกิดจากการคลิ็๊กจุดต่างๆไปเรื่อยๆ วัตถุที่อยู่ในกรอบก็จะถูกเลือก
-CPolygon (CP) ลักษณะการใช้งาน Select object : CP
ลักษณะคล้าย Wpolygon แต่เป็นลักษณะ Crossing
-Add (A) ลักษณะการใช้งาน Select object : A
เป็นการเพิ่มชิ้นส่วนของวัตถุ ถ้ามีการเลือกไว้ก่อนแล้วจะเป็นการเพิ่มชิ้นส่วนของวัตถุทีละ 1 จะใช้ตรงข้ามกับ R (Remove) อันนี้จะใช้การกดปุ่ม Shift ค้างแล้วเลือกวัตถุก็ได้ครับ
-Remove (R) ลักษณะการใช้งาน Select object :R
เป็นการยกเลิกชิ้นส่วนของวัตถุที่เลือกไปแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับ Add ครับ การใช้ปุ่ม Shift แล้วเลือกวัตถุที่เลือกไปแล้วก็เป็นการยกเลิกเช่นกันครับ
-Multiple (M) ลักษณะการใช้งาน Select object : M
เป็นการเลือกชิ้นส่วนหลายๆชิ้นส่วน ชิ้นส่วนที่เลือกจะปรากฎเป็นเส้นประเมื่อกด Enter
อันนี้ก็คงไม่มีใครใช้กันแล้วเพราะถูก Autoselect จัดการไปเรียบร้อยไปแล้วนั่นเอง
-Previous (P) ลักษณะการใช้งาน Select object : P
เป็นการเลือกวัตถุที่ได้มีการเขียนไว้ครั้งสุดท้าย ซึ่งสามารถเป็นกลุ่มวัตถุหรือ Block ก็ได้ครับ บางครั้งเลือกย้ายวัตถุเป็นกลุ่มแล้วเลือกใหม่อีกครั้งก็จะใช้ P นี่แหล่ะครับ
-Undo (U) ลักษณะการใช้งาน Select object : U
เป็นการยกเลิกวัตถุที่ได้เลือกล่าสุดเพิ่มจากชุดที่เลือกครับ
-Auto (AU) ลักษณะการใช้งาน Select object : AU
เป็นการตั้งค่าให้เลือกวัตถุ โดยให้เริ่มจากกรอบ Window เป็นตัวเริ่มต้น คือใช้แบบ Window และ Crossing ได้
-Single (SI) ลักษณะการใช้งาน Select object :SI
เป็นการเลือกวัตถุเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นครับและทำขึ้นข้อความ เพื่อให้เลือกต่อไป
อันนี้คงไม่มีใครได้ใช้กันแล้วเช่นกัน
-Subobject (SU) ลักษณะการใช้งาน Select object :SU
อันนี้ใช้กับระบบ 3D ไม่ขอกล่าวถึงครับ เพราะไม่ได้ใช้และไม่รู้ลึก
-Object (O) เป็นการเลือกวัตถุปกติครับ ซึ่งจะขึ้นข้อความ Select object อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้เลยครับ
จากเวอร์ชั่นเก่าๆมาถึง AutoCAD 2011 ได้เพิ่มเติม Select similar object ขึ้นมา เพื่อช่วยในการเลือกแก้ไขได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่เดิมมาผมเคยใช้Display card ที่มีออปชั่นช่วยในการเลือก (รุ่น VGA S3 pro )ซึ่งเก่ามากแล้ว สามารถเลือกเฉพาะสีที่เราต้องการให้แสดงหน้าจอได้ โดยไม่สนใจว่าจะเป็น Layer อะไร ตอนนี้ไม่ได้ใช้มันแล้วอ่ะครับ
มาดู Select Similar กันครับ
การเปิดเรียกใช้ Dialog box นี้โดยใช้คำสั่ง Selectsimilar ครับ ใครใช้ 2011 ก็ลองกันดูนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น