การใช้ระบบพิกัด Relative ในการกำหนดจุด

@ relative   - ระบบพิกัด

การใช้ค่าตัวเลขบางครั้งใส่ค่าแล้วไม่ได้ตามที่ต้องการ
เช่นการเขียนรูปสี่เหลี่ยมโดยกำหนดค่าหน่วยเป็น 10x10
เมื่อเขียนแล้วไม่ได้ เนื่องจากการใส่ค่า 10,10 กลายเป็นค่าพิกัดไป
การปรับแก้ไขคือก่อนใส่ค่า 10,10 ให้พิมพ์ @ นำหน้าก่อน

โดยพิมพ์ @10,10
เป็นการกำหนดค่าให้เป็นแบบ Relative โดยจะกำหนดให้จุดสุดท้ายแทนค่าด้วยพิกัด 0,0 เสมอ

การขึ้นรูปก็จะง่ายขึ้นครับ

เป็น Trip การใช้แบบโบราณๆแต่ใช้ง่ายสะดวกดีครับ

ขออธิบายระบบพิกัดของการใช้โปรแกรมกันนิดนึงครับ โดยโปรแกรมมีการแบ่งระบบพิกัดเป็น 4 แบบ

1.ระบบพิกัดสมบูรณ์ Absolute Coordinate เป็นระบบพิกัดที่วัดจากจุดเริ่มต้น Origin
   ที่จุดตัดจากแกน X=0,Y=0 การให้ค่าจะยึดถือจากจุดตัด 0,0 ของแกน X,Y เป็นหลัก


 ภาพจาก : เอกสารเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์  

2. ระบบพิกัดสัมพัทธ์ Relative Coordinate เป็นการป้อนค่าในแนวแกน X,Y โดยให้จุดสุดท้ายมีค่าเป็นจุด Origin หรือ 0,0 โดยมีเครื่องหมาย @ นำหน้า

ภาพจาก : เอกสารเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์  

3.ระบบพิกัดสัมพัทธ์เชิงมุม Relative Polar เป็นการป้อนค่าระยะและมุม จากจุดสุดท้ายที่มีค่าเป็นจุด Origin หรือ 0,0 รูปแบบคือ  @ระยะ<มุม

หากมุมทวนเข็มให้ใช้ค่าลบ เช่น @2<-45 nbsp="" p="">

ภาพจาก : เอกสารเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์  

4.ระบบค่าพิกัดทาง Dynamic Input โดยจะเหมือนกับ Relative Coordinate และ Relative Polar โดยไม่ต้องพิมพ์ @ สามารถพิมพ์ตัวเลขได้เลย



ลุงธีว่า อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานนะครับ









คลังบทความของบล็อก