Quick edit text Attribute

    Quick edit text Attribute

เป็น Tip เก่าๆ ที่มีมานานแต่มักจะไม่ค่อยได้ใช้กัน วันนี้ลุงธีมาบอกกันสักหน่อย

ในการปรับแก้ไขข้อความในแผ่นป้าย Attribute เด็กๆสมัยนี้จะใช้ textedit 

แล้วเข้าแก้ไขทั้งข้อความและ Propreties ของแผ่นป้าย ซึ่งก็สะดวกดีในการปรับแก้ไขค่าต่างๆ


แต่รู้ไหมว่าใน Version เก่าๆ มีทางลัดในการเข้าปรับแก้ไขเฉราะข้อความอย่างเดียว นั่นคือการ กดที่ปุ่ม Ctrl + Double-Click ที่แผ่นป้ายที่ต้องการปรับแก้ไขเฉพาะข้อความ แบบเร่งด่วน เหมือนการใช้คำสั่ง Dtext และการกด Ctrl + Double-Click สามารถใช้กับข้อความ Text ได้ด้วยครับ 

อย่าลืมไปตั้งค่า Double Click Editing ด้วยนะครับ


เผื่อคำสั่งทางลัดเก่าๆนี้จะช่วยให้งานไวขึ้น (หรือจะสับสน งง ก็ไม่ต้องใช้นะครับ 555 )

ตั้งค่าการป้อนค่าให้ระยะแบบ Relative

 ตั้งค่าการป้อนค่าให้ระยะแบบ Relative   ข้อมูล @ RELATIVE

เมื่อน้องถามมา หนูนามีปัญหา ลุงธีก็ต้องหาวิธีแก้ไข การตั้งค่าเพื่อให้โปรแกรมรับค่าตำแหน่ง

โดยการใช้ Relative ในการระบุตำแหน่งโดยการให้ระยะเริ่มจากจุดที่กำหนด

ให้เข้าไปที่ OSNAP mode โดยพิมพ์คำสั่ง 

Command : Osnap หรือ OS แล้ว Enter จะขึ้น Dialog Box การตั้งค่าของ Drafting Setting


ให้เลือกที่ Tab : Dynamic Input 


ให้เข้าไปที่ Setting ของ Pointer Input


ใน dialog : Pointer Input Setting ให้กำหนดค่าตามรูป
เลือก Format เป็น Polar Format และ Relative Coordinates

แล้วลองใช้งานดูครับ

ขอให้โชคดี







การสร้างไฟล์ Batch (.bat) เพื่อลบ Backup AutoCAD (.bak) แบบ Automatic

 การสร้างไฟล์ Batch (.bat) เพื่อลบ Backup AutoCAD (.bak)

         การทำงานโปรแกรม AutoCAD จะว่าไปแล้ว เมื่อทำการบันทึก QSave , Save , SaveAs ทุกๆครั้งโปรแกรใจะสร้างไฟล์ Backup ขึ้นมาเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล .bak เมื่อมีมากๆขึ้น บางครั้งก็ทำให้พื้นที่ใน Harddisk ของลุงธีเริ่มน้อยลง จึงต้องหาทางหรือวิธีการลบไฟล์ Backup นี้ออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ของ Harddisk ไว้  

จริงๆแล้วใน AutoCAD ก็มีคำสั่ง " MOVEBAK " เพื่อย้ายไฟล์ BAK ที่เป็นชุดคำสั่ง AutoLISP ที่ได้ถูกบรรจุไว้ใน Express เป็นการจัดระเบียบไฟล์ .BAK ให้อยู่รวมกันอยู่แล้ว แต่หากลุงธีหรือใครๆไม่ต้องการลบทั้งหมดต้องการลบเฉพาะไฟล์ที่เก่ามากๆล่ะ

ไปเปิดเจอในเว็บฝรั่ง น่าสนใจดี นำมาแนะนำกันนิดนึง

          ใน Windows มีแบตซ์ไฟล์ที่มีประโยชน์ ไฟล์ฟนึ่งคือ " FORFILES" ซึ่งแรกมีใช้งานตั้งแต่ Windows Vista เป็นต้นมา ยุคนี้คงไม่มีใครใช้ Version ต่ำกว่านี้แน่ๆ ต้องมีใช้กันนะ คำสั่งนี้มีพารามิเตอร์ต่างๆ ดูได้จาก FORFILES/? โดยเข้าไปที่ CMD




ตัวอย่าง:   ลบไฟล์. BAK ที่เก่ากว่าครึ่งปีจากโฟลเดอร์ปัจจุบัน:

forfiles / M * .bak / D -183 / C "cmd / c del @file"


ลบไฟล์. BAK ที่เก่ากว่าหนึ่งเดือนจากโฟลเดอร์ Drawings และโฟลเดอร์ย่อยทั้งหมดบนดิสก์ D:

forfiles / P "D: \ Drawings" / S / M * .bak / D -30 / C "cmd / c del @file"


ล้างข้อมูลสำรองที่วาดทั้งหมดจากดิสก์ C: ที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ SureSave ซึ่งเก่ากว่าหนึ่งในสี่ของปี:

forfiles / P "C: \" / S / M "SURESAVE _ *. dwg" / D -92 / C "cmd / c del @file"


มาสร้างไฟล์ Batch เพื่อลบไฟล์กันก็ดีนะครับ  ตามรูปเลยครับ






SAVE เป็นไฟล์นามสกุล  . BAT นะครับ 

ขอให้สนุกกับการใช้งานครับ


  








การสร้าง Page Setup และการนำมาใช้งาน

การสร้าง Page Setup และการนำมาใช้งาน
Psetupin

Controls the page layout, plotting device, paper size, and other settings for each new layout.

การสร้าง Page Setup ก็คือการสร้างหน้ากระดาษเพื่อให้งานอยู่ในกรอบพื้นที่ ก่อนการสั่งพิมพ์ครับ

โดยสามารถตั้งค่ารูปแบบ กำหนดลักษณะ รูปแบบของการพิมพ์ สามารถบันทึกเก็บไว้ใช้ในรูปแบบไฟล์ เพื่อเรียกใช้งานหลายๆครั้งได้ครับ




Page setup Manager


ก่อนอื่นใด ลุงธีว่าเราจะต้องมีกรอบกระดาษเพื่อกำหนดพื้นที่ที่จะทำ Page Setup กันก่อนนะครับ

ฉะนั้นจึงจะต้องรู้พื้นที่การพิมพ์ ที่เครื่องสามารถพิมพ์ได้ หรือที่เรียกว่า printable area of a drawing sheet เพราะโปรแกรม AutoCAD จะมีการชดเชยระยะของการพิมพ์ ซึ่งจะมีผลให้กรอบพื้นที่กระดาษถูกตัดออกไป อาจจะหลุดเฟรมไปได้ครับ

ขนาดกระดาษ   A4 - 297x210 mm.
                          A3 - 420x297 mm.
                          A2 - 594x420 mm.
                          A1 - 841x594 mm.
                          A0 - 1189x841 mm.

เพื่อสร้างกรอบของพื้นที่ เมื่อรู้ขนาดต่างๆแล้ว มากำหนดกรอบกันกับลุงธีครับ



อยากได้กรอบขนาดไหนตามที่สบายใจกันเลย เส้นประสีขาวคือ ขนาดของกระดาษครับ ส่วนเส้นสีฟ้าคือเส้นกรอบ ที่ได้ Offset ระยะชดเชยไว้ โดยส่วนตัวจะใช้ระยะที่ 1.00 -1.25 หน่วย เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่งานไปมาก ให้มีระยะกรอบที่สวยงาม ตามแบบลุงธี




ได้กรอบกันแล้วก็สร้างเป็น Block ไว้นะครับ

Command : Block 




กำหนดชื่อ เลือกตำแหน่งอ้างอิง เลือกวัตถุ เลือกหน่วยที่จะตั้ง แล้ว OK ครับ

ควรกำหนดจุด Base point ให้อยู่ที่  0,0 ( แกน X=0 แกน Y=0 )  มากันที่ Mode Paper Space 

แล้ว Insert ดึงบล็อคเข้ามา โดยให้จุดอ้างอิงที่ 0,0 ครับ




วางบล็อคแล้ว เห็นตามรูปครับ เส้นประคือพื้นที่พิมพ์ ที่ยังไม่ได้ตั้งค่ากำหนดพื้นที่ที่ต้องการให้ตรงกับหน้ากระดาษ ส่วนเส้นสีขาวคือ Viewport  แล้วย้ายตำแหน่งของจุด Viewport



ย้ายมุมซ้ายล่าง


ย้ายมุมขวาบน



เข้าที่ล่ะ OK

ตอนนี้มาตั้งค่า PageSetup กันกับลุงธี



คลิ๊กขวาที่ Tab Layout แล้วเลือกที่ Page Setup Manager... 
หรือจะพิมพ์ที่ Command Line : pagesetup ( ส่วนตัวผมจะสร้างคำสั่งย่อเป็น PG เพื่อความรวดเร็ว)





คลิ๊กที่ Modify เพื่อเข้าไปปรับแก้ไข




1. ตั้งเครื่องพิมพ์
2.ตั้งขนาดกระดาษ
3.กำหนดพื้นที่พิมพ์ โดยเลือก Window
4.โดยกำหนดจุดล่างซ้ายและบนขวา ของเส้นกรอบนอกสีขาว
5. ปรับให้เข้ากลางแกน X และ Y โดยไม่ต้องกำหนดค่า Offset 
6. ตั้งค่ามาตราส่วน
7.เลือก Plot Style
8. ตอบตกลง OK





เมื่อตั้ง Page Setup แล้ว  เปลี่ยนชื่อของ Page  SAVE File ให้เป็น Template (นามสกุล DWG หรือ DWT) เพื่อเรียกมาใช้


EXPORTPAGESETUP (System Variable)  ตั้งค่าเป็น 1

คำสั่ง Psetupin เป็นคำสั่งเพื่อเลือกใช้ Template เข้ามาใช้งาน





Importing Page Setups the Plot Dialogue การนำเข้า page setup ตั้งค่าหน้ากระดาษ

การนำเข้า page setup ตั้งค่าหน้ากระดาษ

Importing Page Setups the Plot Dialogue , Publish 

    บ่อยครั้งกับการทำงานที่ตั้งจัดหน้ากระดาษ โดยใช้ Page setup ในแต่ละ Page ของ Tab Layout
หากมีจำนวนหน้าไม่มาก ก็ไม่เป็นปัญหาในการใช้ระยะเวลาในการตั้งค่าต่างๆของ Page เช่นการกำหนดกรอบพื้นที่ ที่จะให้พิมพ์ การกำหนดมาตราส่วน รูปแบบความหนาของเบอร์ปากกา หรือความหนาของสีในแต่ละสีที่กำหนด และอื่นๆ
     หากงานที่ลุงธีหรือท่านๆทั้งหลายได้ทำการเขียนขึ้นมาจะต้องกำหนดหน้ากระดาษเป็นหลายๆหน้าหรือหลาย Sheet การกำหนดค่าต่างๆที่กล่าวมา คงจะใช้เวลาอยู่บ้างไม่น้อยเลยทีเดียว บางงานมีมากจนทำจนคล่องแต่ก็ใช้เวลาพอสมควรอยู่ดี


โดยปกติเมื่อเข้าที่ Tab Layout ลุงธีจะพบเจอ Viewport บนหน้าจอมอนิเตอร์ที่โปรแกรมกำหนดสร้างขึ้นอัตโนมัติ ลุงธีได้นำ Block ของกรอบกระดาษมาจัดวางไว้ก่อนแล้วนะครับ จากนั้นจึงคลิ๊กขวาที่ Tab layout เข้าไปที่ Page setup Manager



แล้วเข้าไปที่ Modify เพื่อตั้งค่าต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งต้องตั้งค่าหลายๆอย่างของหน้ากระดาษที่ต้องการ


ลุงธีสังเกตุว่ายังมีปุ่มคำว่า Import... อยู่ อันนี้นี่แหล่ะน่าจะเป็นประโยชน์ แต่พอเข้าไปแล้วไม่มีให้เราได้เลือกไฟล์มาใช้งาน จึงต้องสร้างต้นแบบของ Page ขึ้นมาก่อน โดยใช้ New...



    ลุงธีจะใช้ชื่อ Page ต้นแบบที่สร้างขึ้นใหม่เป็น Setup1 ตามที่โปรแกรมตั้งใหม่ แต่ใครมีความต้องการที่จะเปลี่ยนให้ชื่อเหมาะสมกับการใช้งานก็ได้นะครับ 


แล้วตั้งค่าในกล่อง Page Setup ในชื่อที่เราตั้งไว้ ของลุงธี ชื่อ page จะเป็น Setup1 ครับ 
เมื่อกำหนดเสร็จเราก็  Save ไฟล์เป็น Template ในนามสกุล Dwg หรือ .Dwt เก็บไว้เรียกใช้งานครับ โดยไปที่ Import ... แล้วเลือกไฟล์ Template มาใช้งาน 

เรายังสามารถเลือกให้ Import โดยใช้คำสั่ง Plot ก็ยังได้ครับ



ลุงธีชอบใช้การตั้ง Page ต้นแบบนี้แล้วใช้กับคำสั่ง  Publish  เพราะเวลาที่ต้องทำไฟล์ PDF กับ Sheet ที่เยอะๆ วิธีการนี้จะสะดวกรวดเร็วมากครับ เนื่องจากลุงธีมี Page - Setup ตัวต้นแบบไว้ในไฟล์อยู่แล้ว



การที่จะ Import Page Setup นี้ยังสามารถใช้การพิมพ์คำสั่งที่ Command Line : ได้
โดยให้พิมพ์ คำสั่ง  -PSETUPIN ก็สามารถเรียก Dialog Box ของการ Import Page ขึ้นมาใช้งานได้เช่นกันครับ 


หมายเหตุ  : setver FILEDIA = 1

ขอให้สนุกกับการทำงานนะครับ โชคดี

import-autocad-page-setups


แก้ไขข้อความใน Attribute หลายๆตัว

Command "FIND"  Change word Attribute 

แก้ไขข้อความใน Attribute หลายๆตัว

แต่เดิมใช้งานมานาน โบราณนานมา  การปรับแก้ไข แผ่นป้ายที่สร้างไว้ มักจะใช้การปรับที่ละข้อความ

ลุงธีเองก็ไม่เคยรู้ว่าการใช้ คำสั่ง FIND สามารถ Replace ข้อความของแผ่นป้ายได้ทีละหลายๆตัว ในคราวเดียวกัน ลุงธีนี่จึงต้องมีการทดลองใช้งานดู อึม....โอเคร มันใช้งานได้จริง ดีกว่ามาใช้คำสั่งแก้ไชข้อความแผ่นป้ายทีละข้อความ แต่ก็มีเงื่อนไขว่าข้อความหลายๆตัวนั้น จะต้องมีข้อความที่เหมือนกัน

ซึ่งก็เป็นการใช้แก้ไขข้อความแบบพื้นฐานนี่แหล่ะ แต่ใช้กับแผ่นป้าย Attribute ได้ด้วย เยี่ยมครับ


ลองใช้ดูครับ 




เรียบร้อยตามนี้ครับ




สูตรที่ใช้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการ Scale พื้นที่


ใช้เป็นข้อมูล 

บันทึกเพิ่มเติม เป็นข้อมูลในการเขียนคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณหาพื้นที่

การเปรียบเทียบพื้นที่

การตั้งค่าตัวแปร A = เลขจำนวนจริง ค่าพื้นที่ที่ต้องการ
                           B = เลขจำนวนจริง ของค่าพื้นที่ปัจจุบันที่วัดได้

สูตร : (sqrt (a)/sqrt(b)) = ค่าปรับ scale


; Function AutoLISP For Calculate AREA :

กำหนดค่าตัวแปร / B เลขจำนวนจริง ของค่าพื้นที่ปัจจุบันที่วัดได้
                            / A เลขจำนวนจริง ค่าพื้นที่ที่ต้องการปรับให้เป็น
                            / S1 ค่าสัดส่วนของพื้นที่
                            / E1 อัตราส่วนในการขยายพื้นที่

กำหนดการรับข้อมูล โดยการเลือกที่วัตถุที่เขียนโครงร่างขึ้นไว้แล้ว โดยกำหนดฟังก์ชั่นแรกเป็นคำสั่งภายใน

(defun sel_ob()
   (while (not en)  (setq en (car (entsel "\nSelect Entities: ")))
   (if (not en) (prompt "\nNo entity selected --- Please Try Again : "))
   )
 )

การกรองค่าพื้นที่ ของวัตถุที่เลือก

(sel_ob)  (Command "area" "entity" en)
 (setq ar  (getvar "area"))

ตรวจสอบค่าของพื้นที่ ไร่ งาน วา
ตรวจสอบกลับเป็นพื้นที่ ตร.ม.






การพิมพ์สัญลักษณ์  Square root ใน AutoCAD ให้ใช้ตัวอักษรตามนี้

\U+221A  เช่น \U+221A (a+b)




SAVETOCLOUD

 

SAVETOCLOUD

Saves an existing drawing file to your local Autodesk A360 sync folder under a new file name.

    หากต้องการเข้าถึงงาน Drawing ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดกลาง จากระยะไกลชั่วคราวแทนที่จะส่งอีเมลถึงตัวคุณเองหรือคัดลอกไปยังอุปกรณ์ USB คุณสามารถบันทึกลงในบัญชี Autodesk Web & Mobile ด้วยคุณสมบัติ Web & Mobile สำหรับบัญชีฟรีพื้นที่จัดเก็บทั้งหมดมีจำกัด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูเกี่ยวกับการเข้าถึง Drawing จากระยะไกล และสามารถเข้าถึงได้ทั่วโลกทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


    คิดว่าต่อไปลุงธีคงขาดอินเตอร์เน็ตไม่ได้ เพราะข้อมูลอยู่บนก้อนเมฆไปแล้ว





อยากเปลี่ยน Properties ของ Attribute หลายๆอันต้องใช้ Battman

 

วิธีเปลี่ยนขนาดและคุณสมบัติข้อความแอตทริบิวต์หลายรายการ

เมื่อมีน้องหนูนาสอบถามมา ว่าอยากจะเปลี่ยนสีตัวอักษรของแผ่นป้าย ATTRIBUTE แล้วให้ตัวอื่นๆเปลี่ยนตามจะต้องทำยังไง ที่ไม่ต้องทำทีละตัว เพราะมันมีเยอะต้องใช้เวลาแก้ไขนาน ลุงธีจึงต้องเข้ามาช่วยหาทางแก้ไขให้ไวขึ้น

โดยปกติจะใช้คำสั่ง EATTEDIT แต่สามารถปรับแก้ไขได้ทีละตัวเท่านั้น

อยากเปลี่ยน Properties ของ Attribute ต้องใช้ นี่เลย BATTMAN ( Block attribute Manager ให้จำง่ายๆว่ามนุษย์ค้างคาว ) คำสั่งนี้มีมาตั้งแต่ AutoCAD 2016

วิธีการ : ใช้คำสั่ง Block attribute Manager [BATTMAN]

1.พิมพ์คำสั่งที่ Command Line :  BATTMAN กดปุ่ม [Enter]

(หรือเมนู Ribbon บนแท็บ Home tab > block Panel > attributes, block attribute Manager )

หน้าจอ block attribute Manager จะปรากฏขึ้น

2. จากเมนูแบบเลื่อนลงที่ด้านบนสุดของบล็อกหน้าจอ (B) [▼] เลือกบล็อกที่มีแอตทริบิวต์ที่คุณต้องการแก้ไขแล้วคลิก

3. คลิกแอตทริบิวต์ที่คุณต้องการแก้ไขจากรายการเลือกไฟล์.

4. คลิกปุ่ม [แก้ไข] ทางด้านขวา

5. ทำการแก้ไขแอตทริบิวต์ ที่ต้องการ

6. คลิกปุ่ม [Apply] และ [OK] เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ

สามารถแก้ไข Attribute เปลี่ยนสี เปลี่ยนขนาด รูปแบบตัวอักษร จำนวนหลายๆอันได้


จะเลือกที่ Select block แล้วคลิ๊กที่ Block ที่เป็น Attribute ก็ได้นะครับ



แล้วจะขึ้นรายละเอียดมา


ให้คลิ๊กที่ Edit


แล้วเลือก Tab ที่ต้องการแก้ไขปรับเปลี่ยน เมื่อเรียบร้อยก็ OK

ตามรูปเลยครับ ลุงธีลองมาล่ะ ใช้งานได้เลย โชคดีครับ