Replace Text แก้ไขข้อความ Text ทีละหลายๆตัว

ช่วยแก้ไขปัญหาให้รุ่นน้อง58อีกครั้ง
เมื่อมีข้อความที่เหมือนกัน และจะต้องแก้ไข การจะใช้ Edit text แก้ไขข้อความทีละตัว คงทำกันเมื่อยแน่ๆ ยิ่งมีมากเป็นร้อยตัวนี่ก็ไม่ไหวแน่ๆ
วันนี้โดนแก้ไข Spec งานผังในแปลนทั้งอาคาร จาก P1/P2 เป็น P2/P1 ง่ายๆแค่สลับที่กันเองว่าม่ะครับ

มาดูการใช้คำสั่งกัน

ใน Menubar หมวด Edit


หรือจะใช้ปุ่มคีย์นำทาง Alt+E+F โดยกดที่ละตัวโดยที่ Alt ยังกดค้างอยู่


หรือจะพิมพ์คำสั่งที่ Command Line : Find ก็ได้
















ให้ใส่ข้อความเดิมที่จะเปลี่ยน ใน Find what
และใส่ข้อความที่จะแก้ไข ใน Replace with
แล้วเลือกที่ Replace All
จบคำสั่งด้วย Done ครับ

ง่ายๆใช้เวลาแค่ 10 วิ ก็แก้ไขข้อความเป็นร้อยๆได้ในพริบตา

ใครๆก็ใช้ได้ง่ายๆ

การกู้ไฟล์ AutoCAD

การกู้ไฟล์ AutoCAD


เมื่อน้องที่ทำงานลบไฟล์ Dwg ทิ้งแล้วเรียกคืนไม่ได้ ใช้วิธีที่ 1 แล้ว  2 ก็แล้ว งานมาไม่ครบเพราะกว่าจะ save มักรอให้เขียนงานจบ จึงต้องใช้วิธีที่ 3 แล้วตรวจสอบวันเวลาที่อัพเดทที่สุด จึงได้มา


การทำงานกับโปรแกรม AutoCAD บางครั้งเกิดเหตุทำให้ไฟล์เกิดเสีย จนไม่สามารถใช้งานได้
หรือการลบไฟล์ทิ้งลงถัง และเคลียร์ถังไปแล้ว จนเรียกคืนไม่ได้ การกู้ไฟล์คือการดึงข้อมูลเก่าออกมาใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้ว่าการกู้กลับมาอาจจะมาได้ไม่หมดก็ตาม

วีธีแรกคือการใช้ Recovery เพื่ิอกู้ไฟล์กลับคืนมา




วิธีที่ 2 คือการใช้ไฟล์ Backup ชื่อเดียวกันแต่นามสกุล Bak (*.bak) ให้เปลี่ยนนามสกุลจาก Bak เป็น Dwg





วิธีที่ 3 คือการดึงไฟล์ Autosave ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ ac$ ตามที่ตั้งค่าใน Option สามารถเป็น Extention เป็น Au$ หรืออย่างอื่นได้



ที่สำคัญคือสถานที่เก็บไฟล์ Autosave นี้ หากไม่เคยตั้งค่าเลย ไฟล์นี้จะถูกเก็บไว้ใน Temp ของระบบ Windows สามารถแก้ไข path ที่เก็บได้ใน Option /File ตามรูป




แต่หาก Harddisk เสียคงต้องกู้ Harddisk ขึ้นมา ซึ่งไฟล์อาจจะไม่มาก็ได้ครับ

ขอให้โชคดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย









CAD Block Door



AutoCAD File Block ประตู 300 แบบ

Download  Door click เผื่อไว้หากใครคิดรูปแบบประตูสวยๆไว้เลือกใช้ครับ








Big Pack Block AutoCAD

Big Pack Block AutoCAD



Download Click   BIGPACK  Block AutoCAD.

Block สำหรับงานตกแต่ง


การขยายชุดคำสั่งใน Ribbon Panels


RIBBON PANELS




ในแถบ Ribbon จะรวมชุดคำสั่งเป็นกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน ในบางกลุ่ม Group ของคำสั่งมีจำนวนเยอะมาก จึงจะต้องมีการย่อคำสั่ง สังเกตุได้จากเครื่องหมายดึงลง รูปสามเหลี่ยมคว่ำที่ต่อท้ายชื่อของชุดคำสั่ง

การจะให้แสดงคำสั่งภายในที่เก็บซ่อนอยู่ก็คลิ๊กที่เครื่องหมายดึงลง สามเหลี่ยมนั้นแหล่ะครับ


และการที่จะให้คำสั่งภายในยังคงแสดงอยู่ให้เรียกใช้งานได้สะดวก ให้สังเกตุที่รูปหมุด ด้านซ้ายของชุดคำสั่ง 

แล้วก็คลิ๊กปักหมุดไว้ ชุดคำสั่งนี้ก็จะยังคงแสดงให้ใช้ จะย่อลงเมื่อปลดหมุดออกครับ

สำหรับน้อง Dookdig Fmu ที่ถามมาเพื่อที่จะใช้ในหมวดของ Properties ลองดูแนวทางนี้ไปใช้นะครับ

ใน AutoCAD 2016 หมวดของ Properties จะไม่มี หากจะใช้งาน ก็เปิด Palettes  ( CTRL+1) ออกมาใช้งานแล้วเก็บไว้ด้านข้างนะครับ



อีกหนึ่งวิธีการที่จะทำให้ Ribbon แสดงชุดคำสั่งภายในโดยถาวร คือการเข้าไปปรับแก้ไขใน CUI ( Customize User Interface

โดยพิมพ์คำสั่ง CUI ที่ Command line : จะมี Dialog Box ให้ปรับแก้ไข


เพื่อที่จะเข้าไปปรับแก้ไขการจัดวางชุดคำสั่ง ที่เป็น Panels ใน Ribbon



ดูตามรูปของลุงธีครับให้เข้าไปที่ Ribbon กดเครื่องหมายบวกด้านหน้า แล้วเข้าไปที่ Panels



แล้วเข้าไปเลือกหมวดของ Panels ที่ตั้งการแก้ไข กรณีของลุงธีจะใช้ หมวด Modify ให้ดูนะครับ



จากรูป 1. คือ Ribbon ที่ปักหมุดไว้ให้แสดงคำสั่ง
            2. สังเกต หมวดคำสั่ง Modify
        : Panel Dialog Box Launcher เหมือนเป็นตัวประกาศการใช้ Panels เพราะจะมีอยู่ในทุกหมวดคำสั่ง
        : Row1 เป็นตัวกำหนดแถวที่จะให้แสดง
        : SLIDEOUT เส้นกั้นคำสั่งที่จะแสดงกับส่วนคำสั่งที่จะย่อ

หากลุงธีคลิ๊กแล้วดึงแถบ SLIDEOUT นี้ลงข้างล่างสุด Ribbon Panels Modify ก็จะแสดงแบบภาพที่ 4
เมื่อ Apply แล้วตอบ OK



แล้วนี่คือผลที่ได้ครับ จะทำให้ Ribbon มีขนาดใหญ่ขึ้นมา 4 บรรทัด

หากจะไม่ต้องการให้ Ribbon ใหญ่ก็ควรจะต้องย้ายคำสั่งที่ต้องการ เพื่อจัดเรียงใหม่



คลิ๊กย้ายคำสั่งลบ Eraseให้อยู่หลัง Chamfer and Fillet 



แล้วก็ได้อย่างภาพข้างล่างนี้ครับ


เผื่อแนวทางไว้สำหรับใครที่อยากจะจัดเรียงชุดคำสั่งที่ใช้บ่อยๆนะครับ

ขอให้โชคดีจงบังเกิดแด่ท่าน




คำสั่ง AutoCAD ที่ควรรู้


คำสั่ง AutoCAD ที่ควรรู้ 

เพื่อประโยชน์ในการทำงาน


FILEDIA ค่าตัวแปรระบบ ควบคุมการเปิดปิด Dialog Box ในการเลือกเปิดและบันทึกไฟล์ จะใช้เมื่อไม่ขึ้น Dialog Box ให้เลือกไฟล์ 


Setting this value to 1 allows dialog boxes to open in AutoCAD, setting it to 0 means everything is done in the command line.

system variable monitor (sysvarmonitor)

-TOOLBAR  คำสั่งสำคัญในการเปิด-ปิด เครื่องมือช่วย Toolbar ใช้ในยามที่ทำ Toolbar หาย ให้ใช้คำสั่งนี้เรียกขึ้นมาโชว์ได้


MENUBAR ใช้กลับสู่ความคลาสสิคและความคุ้นเคยของลุงธี  โดยตั้งค่าเป็น 1 กับ 0 เพื่อเปิดและปิด

Toggles you to the old style menu bar.


RIBBON & RIBBONCLOSE ใช้เปิด-ปิดแถบเมนู Ribbon โดยมากจะใช้ตอนที่เผลอทำ Ribbon หาย แล้วเรียกกลับมา

CHSPACE ยอมให้เคลื่อนย้ายวัตถุจาก Layout ไป Model โดยเลือก Viewport ใช้งานในโหมดระหว่าง Paper Space ( Layout Tab) และ Model space

Allows you to move objects in a drawing from layout to model space by choosing a viewport to push the text or objects into. This works in both directions.



Ctrl + R  ใช้ปรับเปลี่ยนช่องทำงานใน Viewport ของแต่ละอัน  เมื่อมี Viewport หลายอันบนหน้า Layout ที่อาจจะซ้อนกัน โดยปกติจะใช้เม้าส์คลิ๊กเข้าไปใน Viewport ที่ต้องการจะง่ายกว่าและไม่ควรทำซ้อนกัน  

Changes viewports in paperspace.


BURST   ให้แตก Block โดยข้อมูลแผ่นป้ายไม่หาย

 allows you to explode a block/object without losing any of its attributes.


Cr:  Thank Picture from : CAD Forum
ดูรูปนี้แล้วเข้าใจได้มากครับ

Explode : จะแตก Block ให้กลับสู่แบบต้นฉบับ
ExplodeIP : แตก Block สู่แบบต้นฉบับแต่ คุณสมบัติจะตามเลเยอร์ทั้งหมด
Explode with Inherit : แตก Block สู่แบบต้นฉบับแต่ คุณสมบัติจะตามเลเยอร์ เฉพาะส่วน
BURST : แตก Block แต่ค่าในแผ่นป้ายและเลเยอร์ปัจจุบันยังคงอยู่
  1. The command EXPLODE explodes the block reference to its original definition (definition entities).
  2. The command ExplodeIP ("inherit properties", from the ExplodeIP utility - see Download) sets the properties of exploded objects to the layer properties of the layer which hosted the given block reference.
  3. The command XPLODE with its option "Inherit" will keep properties of the block reference - it will change it visually (except attribute values)
  4. The command BURST from Express Tools keeps visual fidelity and also the entered values of variable attributes from the respective block reference.

NCOPY คัดลอกวัตถุที่มีอยู่ใน xref, block หรือ DGN underlay แทนที่จะระเบิดหรือผูกสลัก xref บล็อกหรือ DGN เพื่อให้สามารถคัดลอกวัตถุที่ซ้อนอยู่ภายในได้คุณสามารถคัดลอกออบเจกต์ที่เลือกไว้ในภาพวาดปัจจุบันได้โดยตรง

Copies linework or objects from a nested object into your current drawing. Especially useful for bringing XREF linework into current drawings.

OOPS การย้อนกลับ เมื่อใช้คำสั่งผิดพลาด 1 ครั้ง และมักจะใช้ในระหว่างที่ยังคงอยู่ในคำสั่ง เช่นลบ แล้วเลือกผิด ใช้ OOPS แล้ว เลือกใหม่ครับ

OOPS does exactly what you think it does, it fixes your mistake (as long as it's a delete) no matter how far back it was. Instead of using CTRL-Z, OOPS undoes your last erase command without affecting any work you have done since then.

U (Undo นี่แหล่่ะ) คือการย้อนกลับที่รวดเร็ว เร็วกว่า CTRL+Z อีกและสามารถย้อนไปจบจุดเริ่มได้เลย เคาะกันเพลิน แล้วเขียนใหม่ น่าใช้กว่าคำสั่งข้างบนอีก
A quicker "undo" than CTRL Z.

APPLOAD  โหลดฟังก์ชั่นเสริมเข้ามาใช้งาน เช่น AutoLISP

Allows you to set which application to load in conjunction with opening AutoCAD.

JOIN เป็นคำสั่งเชื่อมเส้น Plineที่ข้ามขั้นตอนของคำสั่ง Pedit แล้ว Join เส้น (แต่เดิมลุงธีจะใช้ Lisp มาช่วย แต่ตอนนี้มีใน AutoCADให้ใช้ ก็ไม่ต้องพิมพ์ Pedit แล้ว Join อีกแล้ว)


Work with Images การทำงานกับรูปภาพ แทนการปรับขนาดและหมุนภาพในแต่ละครั้งเพียงแค่แทรกภาพลงในภาพวาดที่ว่างเปล่าและกำหนดตำแหน่งขนาดและการหมุน หลังจากภาพของคุณเป็นภาพที่คุณต้องการแล้วให้บันทึกรูปวาด ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแทรกภาพนั้นเป็นภาพวาดแทนภาพและการตั้งค่าทั้งหมดจะถูกเก็บไว้เหมือนกัน มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับภาพเช่นโลโก้ บริษัท เป็นต้น  (แปลเอาทั้งดุ้นเลย ไม่รู้จะอธิบายยังไง)

Instead of scaling and rotating images each time, simply insert the image into a blank drawing and set its position, scale, and rotation. After your image is how you want it, save the drawing. This lets you insert that image as a drawing, instead of the image, and all settings are kept the same. Especially useful for images like company logos, etc.

R/REDRAW ให้ประมวลผลหน้าจอใหม่

Refreshes the drawing in the viewport.

DIMBASELINE การเขียนเส้นบอกระยะโดยใช้จุดเริ่มจากอันก่อนหน้า

Creates a dimension that starts from a baseline of earlier dimensions that is linear, angular or coordinate.

ID สอบถามหาค่าพิกัดตำแหน่งของจุดที่เลือก  งาน Survey สำคัญ และงานที่ตำการตำแหน่งจุดพิกัดเพื่อความแม่นยำเช่นตำแหน่งการวางเครื่องจักร
Displays point coordinates throughout your worksheet.

Autoscale Setting เพื่อปรับค่าสเกลของ PLOT และ Dimscale ซึ่งคือคำสั่ง ANNOAUTOSCALE แล้วตั้งค่า 


You can adjust your default scale factor by setting the Auxiliary scale factor to Plot Scale or Dimscale.

OVERKILL การเลือกลบเส้นหรือวัตถุที่เหมือนกันทับซ้อนกัน คำสั่งนี้ดีมากช่วยลดเวลาได้มาก

Deletes any duplicate or overlapping items. Perfect for the AutoCAD perfectionists out there.

QDIM การให้เส้นบอกระยะแบบรวดเร็วหลังจากเลือกวัตถุ สะดวกดี

Quick dimension creation after object selection.

RECOVER ใช้กู้ไฟล์และซ่อมไฟล์ที่เสียหายกลับคืนมา

Recovers a damaged file.

Default NO PLOT Layer การใช้เลเยอร์ Defpoints เพื่อให้ไม่ต้องพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ มักจะใช้สำหรับโน๊ตข้อความที่ไม่ต้องการให้พิมพ์

Creates a layer called DEFPOINTS. Anything on this layer will show up in model and paper space, but won't plot. Perfect for adding notes.

TORIENT างแนวข้อความไปยังมุมที่ระบุหรือมุมที่อ่านได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังทำงานกับแอตทริบิวต์ที่ถูกบล็อก

Orients text to a specified angle or most readable angle. Also works on Block Attributes.

RULESURF ใช้สร้างพื้นผิวระหว่างเส้นโค้งที่กำหนด 2 เส้น

Quickly creates a surface between two predefined curves.

Importing Block Definitions การดึง blockเข้ามาใช้งาน แล้วกด ESC ยกเลิก โปรแกรมจะเก็บข้อมูลไว้ในไฟล์ที่ใช้งาน

After the INSERT command and selecting the file, press the ESC key at your first prompt. Definitions will be kept in your drawing to reference later.

SPELL สะกดคำ สำหรับคำบางคำที่ไม่แน่ใจ

For all those engineers out there that can't spell, use this to spell check all your text. (Uses your computer language settings)

XCLIP ใช้ตัดขอบเขตของ Block ที่จะให้แสดง

Trims a block's visible area using a boundary line. Use the command first, then set or draw the boundary.

Stop REGEN After PAN การตั้งค่าให้ไม่ต้องประมวลผลภาพใหม่ หรือการตั้งความละเอียดในการประมวลผลหลังจากใช้คำสั่ง Zoom หรือ Pan โดยใช้คำสั่ง Viewres ตั้งค่าความละเอียด 


For drawings not created by you, AutoCAD can sometimes autoregen after you pan around. To keep this from happening, use the VIEWRES command and type YES to fast zooms, then set your zoom percent to 200.

MATLIB ใช้นำเข้า-ส่งออก ไฟล์คลังวัสดุ 

Imports and exports materials to a library.

WIPEOUT การบังบดเส้น โดยไม่ต้องตัดเส้น ใช้ในกรณีที่ต้องตัดเส้นเยอะๆจะมีประโยชน์มาก 

Allows you to set boundaries on top of lines and objects that "wipes out" everything behind it. Like a reverse hatch. It's a good idea to put all your wipeouts on one layer so you can turn them on and off as you wish.

One Key Shortcuts ควรจะรู้จักปุ่มทางลัด คีย์ลัดเพื่อช่วยการทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น 

Want to know all of the one key AutoCAD shortcuts? Autodesk put together this quick guide that assembles them all into one sheet. You can check it out here on the Autodesk website, or below.

Change Your MText to Lower Case or Upper Case

Instead of retyping MText if you forgot to capitalize it, right click and select CHANGE CASE. Or use CTRL + SHIFT + U  or CTRL + SHIFT + L, for upper case and lower case respectively.

BOX ใช้สร้างกล่อง 3 มิติแบบง่ายๆ

Creates a 3D box and defines height, depth, and width.

COLOR ตั้งค่าสีก่อนเขียนวัตถุ

Chooses a layer color for future objects/lines/blocks.

DIMROTATED การกำหนดมุมเอียงก่อนการเขียนเส้นบอกระยะ สะดวกในการให้ระยะแนวเอียงได้ ดีกว่าการใช้ Dimalign เพราะแก้ไขได้ง่ายกว่า

Aligns dimensions to objects that are staggered where DIMALIGNED falls short.

DIMALIGNED การให้เส้นบอกระยะในแนวเอียง

Creates a dimension aligned with an axis or a line.

MLEDIT ใช้แก้ไขเส้นคู่ขนานหลายๆเส้นพร้อมกัน

Edits multiple parallel lines at once.

PAGESETUP ใช้ตั้งค่าหน้ากระดาษใน PaperSpaceเพื่อการพิมพ์

Allows you to set up your paper in paperspace. Useful for changing your designed plot paper size. This is one of my most used AutoCAD tricks.

TIME ใช้ดูข้อมูลของไฟล์


                                ตัวอย่างด้านล่างนี้

                                 

                                 Times for this drawing:

                                Created:                23 เมษายน 2552  10:27:49:479

                                Last updated:           5 ตุลาคม 2560  17:22:58:192
                               Total editing time:     2899 days 08:14:30:086
                               Elapsed timer (on):     2899 days 08:14:30:089
                               Next automatic save in: 0 days 00:04:50:734

Displays all of the statistics of your current DWG file like creation date, last update, and edit times.

3DSOUT ใช้ส่งไฟล์ออกไปยัง 3DMAX (เดี๋ยวนี้คงไม่ค่อยจะได้ใช้แล้วมั๊งครับ หาคนใช้ได้ยาก)

Exports a file compatible with 3D Studio [.3ds].

PFACE สร้างพื้นผิวแบบตาข่าย โดยใช้จุดเป็นตัวเชื่อม
Creates a 3D mesh vertex by vertex.

PREVIEW เพื่อดูงานก่อนการสั่งพิมพ์

Similar to print preview in other programs, allows you to see how your paperspace drawing will plot went sent to a plotter.

SAVEALL & CLOSEALL อันนี้ลุงธีใช้บ่อยครับเวลารีบเร่งครับ บันทึกไฟล์ทั้งหมด และปิดไฟล์ทั้งหมดที่เปิดใช้งานอยู่

The best 2 commands an engineer can hit at the end of his or her workday.

BATTMAN เห็นคำสั่งนึกว่าสั่งมนุษย์ Batman ออกมาแต่หาได้มีมนุษย์ค้างค้าวไม่ สัญลักษณ์ค้างค้าวไม่มี  แต่เป็น Block เพื่อจัดการ Attribute น่าจะสะดวกดีนะ

Does not signal Batman. Changes the order and properties of block definitions.

FACETRES ใช้ปรับความเรียบมนของเส้นโค้งให้สมูทขึ้น โดยการตั้งค่าให้ละเอียดขึ้น 


                              Command: FACETRES

                              Enter new value for FACETRES <0 .5000="">:


Adjust the smoothness of curves on a solid.

QLATTACH ใช้เชื่อมโยงเส้นชี้บอกกับตัวอักษรที่สร้างจาก Mtext 

Attaches leader line to MTEXT.

XDWGFADECTL ใช้ตั้งค่า Fade ความเลือนลางหรือความจางของ Xref เพื่อให้เราแยกออกว่าอันไหนคือ Xref

Quickly changes XREF settings back to normal by setting the value at 0. Will fix "faded" XREFs in your drawing.
IMAGECLIP  ใช้กำหนดขอบเขตของรูป image ที่ต้องการแสดง
Let's you "crop" an image in your DWG.

CLASSICXREF  ไม่มีอะไรมากแค่คำสั่งที่ดึงรูปแบบหน้าตาเก่าๆของ Xref manager เข้ามาใช้
If you miss the old style of XREFs, this is for you.







SETBYLAYER ใช้ค่าตั้งวัตถุที่เลือกให้เป็น By layer ทั้งหมด

Sets properties of selected or all objects to BY LAYER.

CHSPACE  ใช้ย้ายวัตถุจาก Paper space ไปอยู่ที่ Model Space

QSELECT ใช้ Filter เข้ามาช่วยในการเลือก

Let's you filter your selection to certain objects by object type or other criteria.

BO / BOUNDARY 

If you want to split an object in half, simply draw a line through it and use the BOUNDARY command in each half to create correctly sized polylines and erase the original objects.


ยังมีอีกมากมายหลายคำสั่งที่น่าสนใจครับ






จะล็อค Viewport ยังไง (How to Lock the Viewport)

HOW TO LOCK THE VIEWPORT IN AUTOCAD.


บ่อยครั้งที่เมื่อการตั้งค่า Scale โดยการใช้ Connoscale แล้วต้องทำการล็อค Viewport ซึ่งการตั้งล็อค Viewport  สามารถทำได้หลายวิธี เผื่อไว้เลือกใช้กันครับ

ขั้นตอนในการตั้งค่าล็อค Viewport :
1. คลิ๊กเมาส์ให้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ Paper Space หรือพิมพ์ PS
2.เลือกเส้นกรอบของ Viewport แล้วเลือกมาตราส่วนที่ต้องการ
3.คลิ๊กเลือก Lock viewport ที่อยู่ด้านข้างของมาตราส่วน viewport
แล้วพิมพ์ PS พื้นที่ Paper Space  หรือจะ ESC. ออกจากคำสั่งก็ได้

การล็อค Viewport นี้มีประโยชน์เพื่อให้พื้นที่ที่ทำการล็อคไม่เคลื่อนที่ เหมาะกับการตั้งค่าสเกลไว้ตั้งแต่เริ่มต้น

อีกวิธีคือการใช้ Properties Command ( CTRL+1)
เลือกที่เส้น Viewport แล้วไปปรับค่าใน Properties Palettes ในหมวด Misc
ค่าตั้ง Display Locked ให้เป็น Yes
หากจะปลดล็อคก็ตั้งให้เป็น NO ครับ

ส่วนคำสั่งทาง Command line สามารถใช้ได้ดังนี้ :

Command line Lock Viewport :
Exsample 1:
Command line : mview
Specify corner of viewport or [ON/OFF/Fit/Shadeplot/Lock/Object/Polygonal/Restore/LAyer/2/3/4] : lock
Viewport View Locking [ON/OFF]: on
Select objects: 1 found
Select objects:
Exsample 2:
Command line : -Vport
Specify corner of viewport or [ON/OFF/Fit/Shadeplot/Lock/Object/Polygonal/Restore/LAyer/2/3/4] : lock
Viewport View Locking [ON/OFF]: on
Select objects: all
1 found


*** คำสั่ง Viewport scale is equal to annotation scale เป็นการปรับตั้งค่าให้แปรเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนตาม Cannoscale มักใช้คู่กับการพิมพ์แบบ***



Use these functions to lock and unlock viewports with ease
Like many AutoCAD users, tip contributor Jessica Confer likes to work inside of locked model space viewports within layouts.
"For example, there are times when you need to unlock the viewport for repositioning. Here are a couple of functions that allow you to lock and unlock viewports with ease. Use VL to lock viewports and VUL to unlock them."
Viewport Lock – Keyboard Command VL
    ;;LOCKS VIEWPORT
    (defun c:vl (/ vp1)
     (setq vp1 (ssget))
     (command "mview" "l" "on" vp1 ""))

Viewport Unlock – Keyboard Command VUL
    ;;UNLOCKS VIEWPORT
    (defun c:vul (/ vp2)
      (setq vp2 (ssget))
      (command "mview" "l" "off" vp2 ""))
Notes from Cadalyst tip reviewer R.K. McSwain: Locking viewports makes working on drawings much easier, and these two shortcut LISP functions are going to make it even easier for us. Thanks Jennifer.



ว่ากันด้วยเรื่องสเกลของเส้นและชิ้นงาน LTSCALE,PSLTSCALE,CELTSCALE,MSLTSCALE




การตั้งค่าในโปรแกรม AutoCAD มีมากมาย วันนี้มาลองดูการตั้งค่าของสเกลของเส้นและชิ้นงานในแต่ละตัวกันครับ


LTSCALE หรือ LineType Scale คืิอ ค่าที่ควบคุมสัดส่วนของ Line Type ของวัตถุทั้งหมด
ของ Drawing ในหน้าจอมอนิเตอร์
ไม่สามารถตั้งค่าเป็น 0 ได้ เพราะมีค่าเริ่มต้นเป็น 1
แต่สามารถจะตั้งค่าให้เป็น 0.5 ก็ยังได้ ลุงธีชอบใช้สะดวกดี

PSLTSCALE  หรือ Paper Space LineType Scale คือค่าที่ใช้ควบคุมสัดส่วนของ LineType ของวัตถุบน พื้นที่ Paper Space 

เมื่อเปลี่ยนค่าของ PSLTSCALE ให้เป็น 1 การใช้คำสั่งเช่น ZOOM ที่มีการตั้งค่า PSLTSCALE ไว้ที่ 1 วัตถุใน Paper space จะไม่ถูกสร้างใหม่โดยอัตโนมัติหรือไม่เปลี่ยนตาม ต้องใช้คำสั่ง REGEN หรือ REGENALL เพื่อปรับปรุง linetype ในแต่ละวิวพอร์ต ให้แสดงสัดส่วนที่ถูกปรับเปลี่ยน
มูลค่าเริ่มต้นของ PSLTSCALE คือ 1.

โดยมากจะใช้ในเวลาที่จะพิมพ์งานแล้วค่าใน Model กับ Paper Space ไม่เท่ากัน จึงต้องตั้งค่าให้กลับมาที่ 0 เพื่อไม่ให้ใช้ค่าใน Paper Space

MSLTSCALE หรือ Model space LineType Scale คำสั่งนี้จะเริ่มมีใน AutoCAD 2008 คือ คำสั่งควบคุม LineType ใน Model Space คล้ายกันกับ Psltscale แต่จะควบคุมใน Model เท่านั้น 
การใช้งานก็เช่นเดียวกันโดยตั้งค่าเป็น 0 เมื่อต้องการปิด ตั้งค่าเป็น 1 เมื่อต้องการเปิดใช้งาน (ใน AutoCAD 2007 หรือก่อนหน้านั้นจะมีค่าเป็น 0)

CELTSCALE หรือ Current Element LineType Scale คือค่ากำหนดขนาดสัดส่วนของ LineType ของวัตถุปัจจุบัน 
ค่า CELTSCALE จะคูณด้วยค่า LTSCALE เพื่อให้ได้ขนาดที่แสดง ซึ่งสามารถเปลี่ยน Scale LineType ในวัตถุได้ทั้งแบบรายวัตถุหรือแบบทั้งหมดได้ การตั้งค่าปรับขนาดเส้นวัตถุใหม่จะสัมพันธ์กับการตั้งค่าคำสั่ง LTSCALE ที่สร้างด้วย

CELTSCALE = 2 ใน Drawing วัตถุที่มี LTSCALE ตั้งค่าเป็น 0.5 จะปรากฎเหมือนกับเส้นที่สร้าง
CELTSCALE = 1 ใน Drawing วัตถุที่มี LTSCALE ตั้งค่าเป็น 1

/แถมอันนึง CANNOSCALE คือการตั้งค่าตัวแปรการให้สเกลกับ Paper Space เหมาะกับการตั้งค่าหน้ากระดาษ  Scale 1:1 หรือจะ Scale เท่าไหร่ แล้วล็อคหน้าจอ Viewport



Command: CANNOSCALE
Enter new value for CANNOSCALE <"1:2"> : 1:1

(***หมายเหตุในการกำหนดใส่ค่า Scale จะต้องใส่ค่าที่มีอยู่ใน List ของ SCALELISTEDIT สามารถเพิ่มเข้าไปได้โดยการ Add***)


จะเพิ่มเป็นเท่าไหร่ก็ระบุเอานะครับ





คลิ๊กปุ่มล็อค Viewport ที่อยู่ข้างๆ Viewport Scale ตามรูป

ขอให้โชคดีครับ
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
AutoLISP1  Ex: Code

(defun c:mds (/ cs)
(setq cs (getvar "cannoscale"))
(if
(/= cs 1.5)
(setvar "cannoscale" 1.5)
)
(princ)
)


AutoLISP2  By Ian Bryant

(defun set-annoscale (name ratio / dlst test)
(if (/= (strcase name) (strcase (getvar "CANNOSCALE")))
(progn
(setq dlst (dictsearch (namedobjdict) "ACAD_SCALELIST")
test nil
)
(while dlst
(cond
((/= (caar dlst) 350) (setq dlst (cdr dlst)))
((= (strcase (cdr (assoc 300 (entget (cdar dlst))))) (strcase name))
(setq dlst nil test T)
)
(T (setq dlst (cdr dlst)))
)
)
(if (not test) (command "-SCALELISTEDIT" "Add" name ratio "Exit"))
(setvar "CANNOSCALE" name)
)
)
(princ)
)