PSLTSCALE เมื่อ LTScale ใน Model กับ Paper ไม่เท่ากัน

มีคำถามมาว่า "พี่ ทำไมลายเส้นใน Model กับใน Layout มันไม่เหมือนกัน"
ตอบได้ว่าสเกลของลายเส้นที่ตั้งค่าไว้ใน Model นั้น ไม่ถูกนำมาใช้เพราะใน Layout หรือใน Paper space  มีมาตราส่วนเป็นตัวคุมอยู่ จึงทำให้ในลายเส้น Model กับ Paper space ไม่เท่ากัน

ให้ใช้คำสั่งนี้ครับ PSLTSCALE ( Paper Space LineType Scale ) จำได้ไม่ยาก หรือจะตั้งคำสั่งย่อให้เป็น PSLT ก็ได้ครับ เพราะคิดว่าคงจะต้องใช้กันบ่อยๆเป็นแน่

Command : PSLTSCALE
Enter new value for PSLTSCALE <1> : 0  (ให้ใส่ค่าเป็น 0 ครับ)

แล้วในโหมดของ Paper Space ก็จะไม่เป็นตัวกำหนดคุมลายเส้นครับ

ลืมไปว่าเคยเขียนมาแล้วที่นี่ เรื่องเก่าเล่าใหม่ 

หรือจะพิมพ์คำสั่ง LINETYPE แล้วคลิ๊กเครื่องหมายถูกออกตามรูป แล้ว Regen


ปัญหาของ Linetype ใน Model และ Paper ก็หมดไป ทั้งในเวลาที่สั่งพิมพ์ Plot ก็จะไม่ไปใช้ค่า Factor ของ Paper Space ครับ


ใช้ Dimdisassociate เมื่อเส้น Dimension กระโดด

          ในการทำงานที่จะต้องมีการ Copy ข้อมูลข้ามไฟล์ที่มีเส้น Dimension ติดมาด้วย มักจะประสบปัญหาของจุดอ้างอิงของเส้นบอกระยะผิดตำแหน่งไป หากมีเพียงไม่กี่ตัวก็ไม่น่าจะมีอะไร แค่ดึงจุดอ้างอิงให้มาเข้าในตำแหน่งได้ แต่หากมีเส้น Dimension มากหล่ะ คงจะแก้ไขทีละตัวคงจะใช้ระยะเวลาที่นานทีเดียว
           เหตุจากการเขียน Dimension ที่กำหนดให้ยึดติดอยู่กับวัตถุ ในเวลาที่ใช้งาน Copy ก็จะมี Dim บางตัวที่จะกระโดด
           วิธีการแก้ไข Dimension ที่เขียนแล้ว เมื่อ Copy แล้วกระโดด ทำได้โดยเอาเครื่องหมายถูก (Check box) ออก ที่ Make New Dimension associative
           หากมี Dim ที่ได้เขียนไปแล้วหากต้องการ Copy โดยไม่ให้ Dim ยึดติดอยู่กับวัตถุเพื่อที่จะไม่ต้องเขียน Dim ใหม่ พิมพ์คำสั่ง Dimdisassociate แล้วเลือก Dimension ทุกตัวที่ต้องการปลดการตั้งค่าให้ยึดติดกับวัตถุครับ




อีกวิธีคือ ใช้คำสั่งย่อจาก Command Line : พิมพ์ DDA

Command: DDA
DIMDISASSOCIATE
Select dimensions to disassociate ...

แล้วเลือกที่ Dimension ครับ