การปรับแต่ง Function Key ใน AutoCAD

       Function Key บนแป้นคีย์บอร์ดที่เราๆใช้งานกันอยู่ เป็นปุ่มพิเศษที่ถูกจัดเรียงไว้ในแถวบนสุดของคีย์บอร์ดปุ่มเหล่านั้นจะมีตัวอักษร F ขึ้นต้นตามด้วยหมายเลข ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้คำสั่งพิเศษต่างๆ โดยถูกกำหนดหน้าที่ต่างๆตามที่โปรแกรมต่างๆกำหนดเอาไว้

อย่างเช่น
ปุ่ม F1 ในทุกโปรแกรมมักจะตั้งให้เป็น Help ? เพื่อช่วยเหลือบอกวิธีการใช้งานโปรแกรม
     F2 มักจะถูกตั้งให้เป็น List ของคำสั่งที่ได้ใช้ไปแล้ว
     F3 ใน Dos จะถูกตั้งให้เป็น Repeat command หรือ Copy



หรืออย่างใน Microsoft Word ได้กำหนดค่าของปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ไว้ดังนี้
F1 - เรียก Help หรือ Office Assistant
F2 - ย้ายข้อความ หรือกราฟิกต่างๆ
F3 - แทรกข้อความอัตโนมัติ (AutoText)
F4 - ทำซ้ำสำหรับแอคชั่นการทำงานล่าสุดของผู้ใช้
F5 - เลือกคำสั่ง Go To (เมนู Edit)
F6 - กระโดดไปยังกรอบหน้าต่างถัดไป
F7 - เลือกคำสั่งตรวจสอบคำสะกด (Spelling ในเมนู Tools)
F8 - ขยายไฮไลต์ของการเลือกข้อความ
F9 - อัพเดตฟิลด์ต่างๆ ที่เลือก
F10 - กระโดดไปเมนูบาร์
F11 - กระโดดไปยังฟิลด์ถัดไป
F12 - เลือกคำสั่ง Save As (เมนู File)
     
อื่นๆอีกมากมายครับ แล้วแต่ว่าเรากำลังใช้โปรแกรมอะไร และโปรแกรมได้กำหนดปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ให้ทำหน้าที่อะไร 

ในโปรแกรม AutoCAD ได้กำหนดปุ่มของฟังก์ชั่นคีย์นี้เช่นกัน

  F1          
Displays Help
  F2
Toggles Text Window
  F3
Toggles OSNAP
  F4
Toggles TABMODE
  F5
Toggles ISOPLANE
  F6
Toggles UCSDETECT
  F7
Toggles GRIDMODE
  F8
Toggles ORTHOMODE
  F9
Toggles SNAPMODE
  F10
Toggles Polar Tracking
  F11
Toggles Object Snap Tracking
  F12
Toggles Dynamic Input

การปรับแก้ไขปุ่มฟังก์ชั่นคีย์นี้ก็ไม่ได้ยากมากมาย โดยสามารถเข้าไปแก้ไขได้เพียงใช้คำสั่ง CUI (Custom User Interface)


 จาก Dialog box เข้าไปที่ Keyboard/Shortcut key

ใน Command list จะมีคำสั่งที่ใช้งานใน AutoCAD อยู่ ยกตัวอย่างดีกว่าครับ
ผมต้องการคำสั่ง Endpoint เพื่อช่วยจับจุดปลายเส้นของ Osnap มาเป็นปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ F2

ขั้นตอนต่อจากที่เปิดใช้คำสั่ง CUI แล้วที่ Command list หาคำสั่ง Endpoint ให้เจอแล้วลากมาวางไว้ใน Keyboard/Shortcut key


ที่ Properties
Access
Key(s) คลิ๊กที่ปุ่ม ...



ใส่ค่าปุ่มฟังก์ชั่น กดที่ปุ่ม F2 แล้ว OK


เสร็จแล้วก็ Apply ครับ




ตอนนี้ปุ่มฟังก์ชั่นคีย์ F2 ของเราก็กลายเป็น Endpoint ไปแล้วครับ
ส่วนบางคนที่ต้องการ ให้รับค่าของ Osnap Mode หลายๆตัว ก็เพียงเพิ่มค่าเข้าไปครับ
ในช่องของ Macro

เช่น ใส่ค่า _Endp,Int ก็จะได้จุดปลายเส้นกับจุดตัดครับ ง่ายม่ะหล่ะครับ
              '_Zoom _w ก็จะเป็นคำสั่ง Zoom Window



หากจะอ้างอิงถึง เวอร์ชั่นเก่าแล้วยกตัวอย่างง่ายๆเช่นใน R14 จะถูกเก็บค่าไว้ใน ไฟล์ .mnu
ซึ่งจะอยู่ในส่วนของ การปรับแต่งคีย์ตามด้านล่างนี้ครับ


***ACCELERATORS
// Toggle PICKADD
[CONTROL+"K"]$M=$(if,$(and,$(getvar,pickadd),1),'_pickadd 0,'_pickadd 1)
// Toggle Orthomode
[CONTROL+"L"]^O
// Next Viewport
[CONTROL+"R"]^V
// ID_Spell     ["\"F7\""]
// ID_PanRealti ["\"F11\""]
// ID_ZoomRealt ["\"F12\""]
ID_Copyclip  [CONTROL+"C"]
ID_New       [CONTROL+"N"]
ID_Open      [CONTROL+"O"]
ID_Print     [CONTROL+"P"]
ID_Save      [CONTROL+"S"]
ID_Pasteclip [CONTROL+"V"]
ID_Cutclip   [CONTROL+"X"]
ID_Redo      [CONTROL+"Y"]
ID_U         [CONTROL+"Z"]


(ขุดไฟล์เมนูโบราณมาให้ดูกัน) เดี๋ยวนี้คงไม่ได้มาปรับแก้ไขคีย์กันที่ตรงนี้กันแล้วหล่ะครับ

อันนี้ยิ่งโบราณกว่าอีก แต่ก็ผ่านการใช้งานมานานครับเป็นการใช้ AutoLISP เข้ามาช่วยตั้งค่า

(apply
 '(lambda ()
   (textscr)
   (princ "\e[0;60;'ENDP';13p")    ;f2
   (princ "\e[0;61;'INT';13p")     ;f3
   (princ "\e[0;62;'MID';13p")     ;f4
   (princ "\e[0;63;'PER';13p")     ;f5
   (princ "\e[0;64;'CEN,INS';13p") ;f6
   (princ "\e[0;67;'NOD,QUA';13p") ;f9
   (graphscr)
  )
  '()
)


น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนค่าของฟังก์ชั่นคีย์ที่เก่ามากๆครับ เพราะใช้กันตั้งแต่ R9 มาเลยครับ
ยังมีเก่าแต่เก๋ากว่าคือการใช้ Dos รัน Key ที่ตั้งไว้ โดยใช้ผ่าน Acad.bat เพราะเปลี่ยนค่า ASCII ตั้งแต่เปิดโปรแกรมกันเลย แล้วค่อยรันตัวโปรแกรม อันนี้ผมว่าเก๋าสุดๆแล้ว


AutoDESK Gameware

มาดูกันเล่นๆ กับ AutoDESK Gameware
Game Show Reel เกมส์หลากหลายที่ AutoDESK เอามาโชว์กัน

ผมเพียงลองเข้าไปดูใน AutoDESK เจอมาครับ คนชอบเกมส์คงจะชอบกัน




จะว่าไปแต่เดิมผมหัดเล่น 3D อยู่นานตั้งแต่ 3D Studio , 3DS max ถึงขนาดไปเข้าคอร์สเรียนกันเลย แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ เพราะหันไปพึ่งพาน้องๆแทน ถึงเป็นการกระจายรายได้ไปในตัว สบายกว่านิดหน่อย
แต่เกมส์ที่มาจาก AutoDESK น่าดูจริงๆครับ เคยเล่นอยู่บ้างเกมส์ครับ




AutoDESK Showcase 2013 ครับ

Select Mode ใน AutoCAD

Select object :
การเลือกชิ้นวัตถุในโปรแกรม AutoCAD มีรูปแบบอยู่หลายอย่างแต่บางท่านอาจจะใช้ได้เพียงบางอันเท่านั้นเพราะบางอันมันโบราณมากๆ ในคำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขภาพ (Editing Drawing) มักจะต้องเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือชิ้นส่วน (Entity) ที่ต้องการแก้ไขเสมอครับ ไม่งั้นจะแก้ได้ไงใช่ไหมครับ ซึ่งการใช้คำสั่งที่เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไข จะมีข้อความที่ Command line ให้ Select objects : และเคอร์เซอร์ก็จะเปลี่ยนเป็นกรอบสี่เหลี่ยม (Pickbox) เป็นเครื่องมือในการเลือกครับ

ค่าที่ครอบคลุมทุกคำสั่ง ที่เกี่ยวกับการเลือกวัตถุ เมื่อ Command line มีข้อความ Select object :
-Window (W) ลักษณะการใช้งาน  Select object : w
จะเกิดกรอบสี่เหลี่ยมในจุดที่ คลิ๊ก (Pick) จุดแรกและยังมุมหนึึ่งที่คลิ๊ก ชิ้นส่วนที่อยู่ในกรอบ Window จะถูกเลือกครับ ปกติจะเป็นลักษณะของ Auto Select ไม่ต้องพิมพ์ W ก็ได้ครับ
-Last (L) ลักษณะการใช้งาน Select object : L
จะเป็นตัวเลือกที่อ้างอิงถึงชิ้นส่วนของภาพ (Entity) ที่ได้สร้างไปแล้วครั้งสุดท้ายนั้นเองครับ
-Crossing (C) ลักษณะการใช้งาน Select object : C
ลักษณะคล้ายกับ Window แต่ไม่ต้องครอบชิ้นส่วนของภาพทั้งหมด การใช้งานในลักษณะของ Auto Select โดยไม่ต้องพิมพ์ C ทำได้โดยกำหนดจุดทางขวาก่อนครับ
-Box อันนี้ไม่มีตัวย่อครับต้องพิมพ์เต็ม ลักษณะการใช้งาน Select object : Box
โดยมากแล้วไม่มีใครใช้กันครับ เพราะ AutoSelect จัดการให้แล้ว
 จะเป็นการใช้งานของ Window และ Crossing พร้อมกัน
-All อันนี้ไม่มีตัวย่อครับต้องพิมพ์เต็มเช่นกัน ลักษณะการใช้งาน Select object : All
จะเป็นการเลือกวัตถุทั้งหมดที่ได้สร้างขึ้นบนมอนิเตอร์ ไม่ว่าจะมีวัตถุชนิดไหนบ้างก็ตามไม่เว้นครับ
-Fence (F) ลักษณะการใช้งาน Select object : F
จุดแรกที่เลือก จะเกิดเส้นตรงลักษณะเส้นประให้โยงไปหาจุดอื่นๆที่ได้กำหนดเลือก คลิ๊กไปเรื่อยๆ ในส่วนของวัตถุที่ถูกเส้นนี้ลากผ่านทับจะถูกเลือกครับ (โดยมากจะใช้ตอนยืดเส้นหลายๆเส้นครับ) คนอื่นไม่ใช่แต่ผมใช้
-Wpolygon (WP) ลักษณะการใช้งาน  Select object : WP
เป็นการสร้างกรอบ Window ในลักษณะของรูปหลายเหลี่ยม โดยแต่ละมุมจะเกิดจากการคลิ็๊กจุดต่างๆไปเรื่อยๆ วัตถุที่อยู่ในกรอบก็จะถูกเลือก
-CPolygon (CP) ลักษณะการใช้งาน  Select object : CP
ลักษณะคล้าย Wpolygon แต่เป็นลักษณะ Crossing
-Add (A) ลักษณะการใช้งาน  Select object : A
เป็นการเพิ่มชิ้นส่วนของวัตถุ ถ้ามีการเลือกไว้ก่อนแล้วจะเป็นการเพิ่มชิ้นส่วนของวัตถุทีละ 1 จะใช้ตรงข้ามกับ R (Remove)  อันนี้จะใช้การกดปุ่ม Shift ค้างแล้วเลือกวัตถุก็ได้ครับ
-Remove (R) ลักษณะการใช้งาน  Select object :R
เป็นการยกเลิกชิ้นส่วนของวัตถุที่เลือกไปแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับ Add ครับ การใช้ปุ่ม Shift แล้วเลือกวัตถุที่เลือกไปแล้วก็เป็นการยกเลิกเช่นกันครับ
-Multiple (M) ลักษณะการใช้งาน  Select object : M
เป็นการเลือกชิ้นส่วนหลายๆชิ้นส่วน ชิ้นส่วนที่เลือกจะปรากฎเป็นเส้นประเมื่อกด Enter
อันนี้ก็คงไม่มีใครใช้กันแล้วเพราะถูก Autoselect จัดการไปเรียบร้อยไปแล้วนั่นเอง
-Previous (P) ลักษณะการใช้งาน  Select object : P
เป็นการเลือกวัตถุที่ได้มีการเขียนไว้ครั้งสุดท้าย ซึ่งสามารถเป็นกลุ่มวัตถุหรือ Block ก็ได้ครับ บางครั้งเลือกย้ายวัตถุเป็นกลุ่มแล้วเลือกใหม่อีกครั้งก็จะใช้ P นี่แหล่ะครับ
-Undo (U) ลักษณะการใช้งาน  Select object : U
เป็นการยกเลิกวัตถุที่ได้เลือกล่าสุดเพิ่มจากชุดที่เลือกครับ
-Auto (AU)  ลักษณะการใช้งาน  Select object : AU
เป็นการตั้งค่าให้เลือกวัตถุ โดยให้เริ่มจากกรอบ Window เป็นตัวเริ่มต้น คือใช้แบบ Window และ Crossing ได้
-Single (SI) ลักษณะการใช้งาน  Select object :SI
เป็นการเลือกวัตถุเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นครับและทำขึ้นข้อความ เพื่อให้เลือกต่อไป
อันนี้คงไม่มีใครได้ใช้กันแล้วเช่นกัน
-Subobject (SU) ลักษณะการใช้งาน  Select object :SU
อันนี้ใช้กับระบบ 3D ไม่ขอกล่าวถึงครับ เพราะไม่ได้ใช้และไม่รู้ลึก
-Object (O) เป็นการเลือกวัตถุปกติครับ ซึ่งจะขึ้นข้อความ Select object อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องใช้เลยครับ

จากเวอร์ชั่นเก่าๆมาถึง AutoCAD 2011 ได้เพิ่มเติม Select similar object ขึ้นมา เพื่อช่วยในการเลือกแก้ไขได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น แต่เดิมมาผมเคยใช้Display card ที่มีออปชั่นช่วยในการเลือก (รุ่น VGA S3 pro  )ซึ่งเก่ามากแล้ว สามารถเลือกเฉพาะสีที่เราต้องการให้แสดงหน้าจอได้ โดยไม่สนใจว่าจะเป็น Layer อะไร ตอนนี้ไม่ได้ใช้มันแล้วอ่ะครับ
มาดู Select Similar กันครับ


การเปิดเรียกใช้ Dialog box นี้โดยใช้คำสั่ง Selectsimilar ครับ ใครใช้ 2011 ก็ลองกันดูนะครับ

การใช้เครื่องมือช่วย Object Snap

การใช้เครื่องมือช่วย Object Snap ในการเขียนแบบ
(คำสั่งการตั้งค่าใช้ OS ครับ จะมีกรอบ Dialog box ของ Object Snap ตามรูป)



          ผมว่าจะเขียนมานานแล้ว เพราะคิดว่าการใช้เครื่องมือช่วยในการเขียนแบบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะงานที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ แน่นอนครับการใช้ Object Snap สามารถช่วยได้เป็นอย่างมาก เหตุหลักๆเพราะเคยพบเจอะเจองานไฟล์แบบ Drawing ที่เขียนจากโปรแกรม AutoCAD ซึ่งผมจะต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อจากคนที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ เป็นงานที่มีปัญหาของเส้นที่ไม่ต่อหรือชนกัน แนวเส้นเอียง ถึงแม้ว่าจะดูจาก จอมอนิเตอร์เป็นเส้นตรงก็ตาม การวัดระยะก็จะเพี้ยนๆไป มีเศษเพียง 0.001 แต่ก็จับขยับแก้ไขได้ยากครับ ต้องลากเส้นขึ้นใหม่หรือใช้วิธียืดแล้วตัดออก การย่อขยายก็จะลำบากอยู่สักหน่อยครับ เอาเป็นว่าโปรแกรมเค้าสร้างมาให้ใช้แล้วเราก็ควรที่จะใช้นะครับ
         อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ Select Mode เพื่อใช้ในการเลือกวัตถุครับ แล้วจะมาแจกแจ้งให้ในแต่ละอันนะครับ เพื่อให้เลือกใช้ให้เหมาะสมจะสะดวกรวดเร็วมากยิ่งๆขึ้นครับ

Object Snap ที่ได้จากการการกด Shift+Right Click
(ดูหรือจะเข้าไปแก้ไขได้ในไฟล์เมนู ที่ Pop3)

อันนี้จาก Toolbar

 ในส่วนของ Ribbon ก็ยังมี แต่ผมยังใช้ 2007 อยู่ ไว้ใช้ 2010 จากที่อื่นแล้วจะทำรูปมาให้ดูกันครับ

อีกช่องทางของคนยุคเก่าคือการพิมพ์คำสั่งแทรกของ Object Snap หรือ OSnap กันไปเลย (ซึ่ง Osnap จะเป็นเหมือนคำสั่งแทรกหรือคำสั่งย่อยครับ ตามโปรแกรม AutoCAd แล้วจะเรียกกันว่า คำสั่ง transparent คือไว้แทรกคำสั่งหลัก 1) ผมมักจะใช้เวลาที่จะต้องไปใช้เครื่องอื่นๆที่ไม่ใช่เครื่องของตัวเองโดยพิมพ์คำสั่งลงไปเลย
มาดูกันครับว่า Object Snap หรือ OSnap มีอะไรกันบ้าง ใช้เพื่ออะไร

อันดับแรกคงเป็นอะไรไม่ได้นอกจาก Endpoint
ENDpoint หรือจะพิมพ์ย่อ End เวลาใช้งาน ใช้สำหรับจับวัตถุที่ปลายเส้น ของส่วนโค้ง เส้น segment ของเส้น Polyline มุมของ Solid และมุมของพื้นผิว Surface จะคลิ๊กไปที่วัตถุเอียงไปฝั่งไหนมากกว่าก็ยึดถือปลายที่ฝั่งนั้น เป็นมุมหรือด้านที่ใกล้ที่สุด เขียนยาวไปหรือเปล่านี่งั้นสั้นๆดีกว่าครับ
MIDpoint พิมพ์ย่อ Mid ใช้สำหรับจับที่กลางวัตถุ
CENter พิมพ์ย่อ Cen ใช้สำหรับจับไปที่จุดศูนย์กลางของวงกลมหรือเส้นโค้ง
NODe  พิมพ์ Nod ใช้สำหรับจับจุด Point ที่ได้กำหนดไว้ เช่นเวลาใช้คำสั่ง Divice แบ่งเส้นแล้วจะมีตำแหน่งของจุด Point ขึ้นมา
QUAdrant พิมพ์ Qua ใช้สำหรับจับจุดสัมผัสของเส้นโค้ง
INTersection พิมพ์ Int ใช้สำหรับจับจุดที่เส้นมาตัดกัน
EXTension พิมพ์ Ext อันนี้ใช้ไงก็ไม่รู้ปกติไม่เคยได้ใช้เลย ใครรู้ช่วยบอกทีครับ
INSert พิมพ์ Ins ใช้สำหรับจับจุด Base point จุดเริ่มอ้างอิงของวัตถุที่เป็นกลุ่มเช่น Block จุดเริ่มของตัวอักษร Text ต่างๆ
PERpendicular พิมพ์ Per ใช้สำหรับจับจุดตั้งฉากกับวัตถุที่เลือกครับ ง่ายๆคือลากไปไหนก็จะล็อค 90 องศากับวัตถุที่เลือก
TANgent พิมพ์ Tan ใช้สำหรับจัดที่จุดสัมผัสของเส้นโค้ง 
NEArest พมพ์ Nea ใช้เลือกบริเวณที่ใกล้เคียงของวัตุที่เลือก
Apperant Intersect เอ....มันใช้ไง เด่วหาดูก่อน งง งง ข้ามไปก่อนครับ
PARallel ใช้สำหรับการลากเส้นที่ให้ขนานกัน ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับ
นอกจากนี้แล้วยังมี 
Temporary Track point พิมพ์ TT จุดอ้างอิ้งชั่วคราว จะแสดงเป็นเส้นประให้ครับ
Snap FROM อันนี้พิมพ์ From เลยครับ เป็นการอ้างอิงจาก osnap mode เพื่อใส่ค่าจำนวนจริงครับ
ส่วนตัวควบคุม Osnap Mode ทั้งหมดใช้ Osnap setting โดยพิมพ์ OS หรือ Osnap ครับ การปิด Osnap Mode ก็ใช้ NONe พิมพ์ Non เพื่อปิดการใช้งาน Object snap ทั้งหมด


 เพิ่มรูปครับ เพิ่งทำเสร็จ


เสริมนอกเรื่องนิดนึง การใช้งาน Object Snap เพื่อความสะดวกมีเทคนิคที่ผมใช้อยู่ คือ การตั้งปุ่ม Function Key โดยเราสามารถตั้ง snap ได้หลายตัวในปุ่มเดียวกัน เด่วนี้มี Toolbar มาเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกไปแล้ว แต่ผมยังคงใช้แบบเดิมๆอยู่
อีกอย่างในการเขียนภาษา AutoLISP ก็เลือกใช้ Osnap Mode ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้ชุดคำสั่งบางคำสั่งจะไม่มีการหยุดรอ หากมีการตั้งค่า Osnap ให้เปิดใช้ทั้งหมดหรือหลายๆตัวอาจจะทำให้การเขียนวัตถุจากภาษา AutoLISP เพี้ยนไปได้ครับ การเขียนชุดคำสั่งบางครั้งจึงจำเป็นต้องปิด Osnap ก่อนเมื่อเขียนจากชุดคำสั่งแล้วจึงเรียกกลับคืนมาครับ
อีกประการหนึ่งเมื่อเราใช้คำสั่ง Osnap แล้วระบบจะเก็บค่าตัวแปรไว้ที่ Lastpoint ซึ่งสามารถนำค่าไปใช้กับฟังก์ชั่นของ AutoLISP ได้ครับ เช่นเมื่อใช้ Osnap End ของเส้นหนึ่งแล้วต้องการหาค่ากึ่งกลางจากจุดศูนย์กลางของวงกลมถึงจุดปลายเส้นนั้น โดยใช้ฟังก์ชั่น (End+Cen)/2 เราก็จะได้ค่านั้นครับ
เราสามารถหาค่าจุด centroid ของรูปสามเหลี่ยม โดยใช้จุด Endpoint ทั้งสามได้โดยใช้ฟังก์ชั่น (End+End+End)/3 ก็ได้ครับ


1)คำสั่ง ' transparent ใช้เพื่อแทรกคำสั่งหลักที่ได้ดำเนินการอยู่ Osnap Mode นี้ก็ถือว่าเป็นคำสั่งแทรกคำสั่งย่อยรองมาจากคำสั่งหลักๆครับ แต่เดิมการใช้คำสั่งของ AutoCAD ในรุ่นเก่าจะทำการ Zoom ในขณะที่ใช้คำสั่งหลักไม่ได้ เราจึงต้องใช้ตัวช่วยคือคำสั่งแทรก ' transparent นี้หล่ะครับ
เช่นเมื่อผมจะเขียนเส้นโดยลากจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่ไกลเกินกว่าจอมอนิเตอร์แล้วจะต้อง Zoom ให้ถึงรายละเอียดก่อนที่จะเลือกจุดต่อไปที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้มาช่วยครับ วิธีการใช้คือพิมพ์เครื่องหมาย ' หน้าคำสั่ง จะทำให้ใช้คำสั่งได้โดยที่คำสั่งหลักยังอยู่ครับ



สิ่งที่คนเริ่มเขียน AutoLisp ต้องการมากๆ


ผมว่าคนที่เริ่มเขียนภาษา AutoLisp ต้องการกันมากๆ อย่างหนึ่งก็คือตัวอย่างของงานเขียนคำสั่ง แต่ในบางคำสั่งที่มีท่านปรมจารย์ทั้งหลายได้เขียนกันมา อาจจะเพื่อการพานิชย์หรือต้องการให้เป็นความลับเป็นไม้ตายของท่านปรมจารย์ทั้งหลายที่มักจะเก็บเคล็ดวิชาขั้นสูงยอดไว้กับตัว หากลูกศิษย์ที่ไม่ดีไม่มีความกตัญญูได้เคล็ดวิชาไปแล้ว อาจจะทำการล้างครูก็เป็นได้ แต่ก่อนมาผมเริ่มเขียนภาษา AutoLisp แบบงูๆปลาๆ หยิบเอาของคนโน้นตนนี้มาผสมผสาน ดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสมกับที่ตัวเองถนัด ดีก็เก็บไว้ไม่ดีก็ตัดทิ้ง จนมาเจอไฟล์ที่ถูกล็อคไว้ โดยการ Protection Autolisp ไว้ จึงต้องพยายามดั้นด้นท่องไปในเว็บเพื่อเสาะหาเคล็ดวิชาเพื่อปลดล็อคอันนี้ให้ได้ ในบทความเก่าๆผมได้เคยเขียนไว้บ้างแล้ว แต่คงจะหลงๆลืมไป เพราะไฟล์ที่เคยมีเก็บอยู่ในกรุของ Harddisk โบราณที่นอนนิ่งมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี เลยทีเดียว จนวันนึงผมได้กู้งานที่อยู่ใน Harddisk ตัวนั้นจึงได้เจอของล้ำค้ำนี้ขึ้นมาปลุกชีพกันอีกครั้ง เป็นไฟล์ที่ใช้ปลดล็อคไฟล์ AutoLisp ที่ถูก Protect ไว้ครับ เป็นรุ่นที่เก่ามากๆอาจใช้ได้กับไฟล์เก่าๆเช่นกัน ส่วนไฟล์ที่สร้างหรือเขียนจาก Visual AutoLisp คงจะทำไม่ได้ครับ แต่ยังไงตัวนี้คงมีประโยชน์แก่ผู้ใช้ภาษา Lisp โบราณกันบ้างครับ ลองโหลดไปใช้งานกันดูครับ กดเลย ได้ผลประการใด บอกกล่าวกันได้นะครับ ดีก็ดีด้วยไม่ดีก็ขออภัยนะครับ

convert-Unprotect
49.12 KB
ได้มานานจนลืม

 ปีหน้าผมจะย้ายบทความเกี่ยวกับ AutoLisp แยกไปเป็นเอกเทศครับ
กำลังรวบรวมข้อมูลที่คิดว่าจำเป็นก่อนครับ